วิทยานิพนธ์
เรื่อง
การศึกษาเปรียบเทียบกรรมฐานในคัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะกับคัมภีร์วิสุทธิมรรค และวิธีปฏิบัติกรรมฐานของสำนักวิปัสสนาอ้อมน้อยกับวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

(((((((คลิกที่ตัวบท 1 ครั้ง เพื่อเปิดดูเนื้อหาภายในบทนั้น คลิกอีก 1 ครั้งเพื่อซ่อนเนื้อหาของบท)))))))
(เนื้อหาบางหัวข้อ มีหัวข้อย่อยอีก ให้คลิก 1 ครั้ง เพื่อเปิดดูหัวข้อย่อยดังกล่าว คลิกซ้ำเพื่อปิดหัวข้อย่อย)

 

กิติกรรมประกาศ

สารบัญทั้งหมด

บทที่ ๑ บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 

บทที่ ๒ กรรมฐานและวิธีปฏิบัติในคัมภีร์พระไตรปิฎก

กรรมฐานคืออะไร
มหาสติปัฏฐานสูตร : แนวคิดและการอธิบาย
สาระสำคัญของสติปัฏฐาน
การปฏิบัติเพื่อความรู้แจ้ง

บทที่ ๓ คำสอนเรื่องกรรมฐานและวิธีปฏิบัติในคัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะ

ความเป็นมาของคัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะ
ปรมัตถ์ : แนวคิดและการอธิบาย
แนวคิดเกี่ยวกับรูป
แนวคิดเกี่ยวกับจิต
แนวคิดเกี่ยวกับเจตสิก

บทที่ ๔ คำสอนเรื่องกรรมฐานและวิธีปฏิบัติในคัมภีร์วิสุทธิมรรค

4.1 ความเป็นมาของคัมภีร์วิสุทธิมรรค 

ศิล สมาธิ ปัญญา : แนวคิดและความสัมพันธ์
ปัญญานิเทศ

วิสุทธิ ๗

เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างคัมภีร์พระไตรปิฎกกับคัมภีร์วิสุทธิมรรค

บทที่ ๕ แนวคิดเรื่องกรรมฐานและวิธีปฏิบัติของสำนักวิปัสสนาอ้อมน้อย

การอธิบายแนวคิดกรรมฐาน
หลักปฏิบัติ 15 ข้อ : วิธีปฏิบัติกรรมฐานของสำนักวิปัสสนาอ้อมน้อย
การพิจารณาหมวดอิริยาบถและหมวดสัมปชัญญะ

การสอบอารมณ์

ข้อมูลจากการสัมภาษณ์

 

บทที่ ๖ แนวคิดเรื่องกรรมฐานและวิธีปฏิบัติของสำนักวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

การอธิบายแนวคิดกรรมฐานของสำนักวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
การอธิบายวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน/ เรื่องพอง-ยุบ / การเดินจงกรม / การกำหนดต้นจิต

การส่งอารมณ์

ข้อมูลจากการสัมภาษณ์

บทที่ ๗ บทสรุป และวิเคราะห์

ผลการศึกษาด้านคัมภีร์ พบว่า แต่ละคัมภีร์มีจุดเน้นในการอธิบายไม่เหมือนกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นส่วนเสริมซึ่งกันและกันในการนำเสนอวิถีดำเนินชีวิตเพื่อการบรรลุธรรม กล่าวคือ

มหาสติปัฏฐานสูตรจะเน้นขั้นตอนการเจริญสติไว้อย่างสมบูรณ์ เป็นการฝึกฝนความระลึกรู้สึกตัวด้วยสติตามฐานทั้ง ๔ เท่านั้น ไม่กล่าวถึงสภาวธรรมอย่างในพระอภิธัมมัตถสังคหะ และไม่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของ ศีล สมาธิ ปัญญา เหมือนอย่างที่กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค

สำหรับพระอภิธัมมัตถสังคหะจะแสดงหัวข้อสำคัญ สรุป สภาวธรรมในพระอภิธรรมปิฎก มิใช่เพียงแค่การเจริญสติเท่านั้น แต่จะกล่าวถึงโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นเบื้องหลังของความคิดและพฤติกรรมทั้งหลายจึงเป็นการเน้นความสำคัญของสภาวธรรมในเชิงปริยัติมากกว่าการปฏิบัติ

ส่วนวิสุทธิมรรคจะเน้นภาคการปฏิบัติ โดยกล่าวถึงลำดับขั้นตอนของการเจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา ความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกัน จนถึงการปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานเพื่อการบรรลุมรรคผลในที่สุด ทั้งนี้จะต้องมีพื้นฐานด้านสภาวธรรมจากพระอภิธัมมัตถสังคหะมาก่อนแล้วจึงจะปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

อาจกล่าวรวมได้ว่า ความเข้าใจถึงอรรถรสในพระอภิธัมมัตถสังคหะเป็นจุดเริ่มของการเจริญสติในมหาสติปัฏฐานและการเจริญปัญญาในวิสุทธิมรรคนั่นเอง



ส่วนผลการศึกษาด้านสำนักปฏิบัติธรรม พบว่า ทั้ง ๒ สำนักประยุกต์วิธีการและหลักการเจริญสติจากมหาสติปัฏฐานสูตร ตั้งเป็นหลักการใหม่ที่ต่างกัน กล่าวคือ

สำนักวิปัสสนาอ้อมน้อยประยุกต์ด้านวิธีการในมหาสติปัฏฐานสูตรมาเรียบเรียงใหม่เป็นหลักปฏิบัติ ๑๕ ข้อ เนื้อหายังคงส่วนเดิมไว้ มีการกล่าวถึงสภาวธรรมที่ปรากฏในพระอภิธัมมัตถสังคหะ และวิสุทธิมรรคประกอบการอธิบายด้วย

ส่วนสำนักวิปัสสนาวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ประยุกต์ด้านหลักการพิจารณาลมหายใจและอิริยาบถออกมาเป็นหลักการใหม่แบบ "พองหนอ-ยุบหนอ" โดยสังเกตการเคลื่อนไหวของหน้าท้องขณะหายใจเข้า-ออก มีคำภาวนาเฉพาะ ซึ่งทำให้เกิดสมาธิได้ระดับหนึ่ง ส่วนใหญ่จะใช้ความรู้จากวิสุทธิมรรคในการอธิบายลำดับญาณขั้นต่าง ๆ ไม่เน้นถึงหลักสภาวธรรมในพระอภิธัมมัตถสังคหะ



Home        l       Abstract