ปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
ฉักกะ
๖
ในวิถีสังคหะนี้
มีธรรมเกี่ยวเนื่องกัน ๖ หมวด
แต่ละหมวดก็จำแนกได้เป็น ๖ อย่าง
จึงเรียก ฉักกะ
รวม ๖ หมวด ก็เป็น ๖ ฉักกะ คือ
๑.
วัตถุฉักกะ
(วัตถุ
๖)
คือ
ที่ที่จิตและเจตสิกอาศัยเกิด ๖
แห่ง
๒.
ทวารฉักกะ
(ทวาร
๖)
คือ
ทางที่จิตและเจตสิกรับอารมณ์ ๖
ทาง
๓.
อารัมมณฉักกะ
(อารมณ์
๖)
คือ
สิ่งที่จิตและเจตสิกรู้ ๖ สิ่ง
๔.
วิญญาณฉักกะ
(วิญญาณ
๖)
คือ
จิตที่รับรู้ หรือ ตัวรู้ ๖
ประเภท
๕.
วิถีฉักกะ
(วิถี
๖)
คือ
ความเป็นไปของจิต ๖ กระแส (๖
วิถี)
๖.
วิสยัปปวัตติฉักกะ
(วิสยัปปวัตติ
๖)
คือ
จิตที่เป็นไปในอารมณ์ทั้ง ๖ มี ๖
อย่าง
หมวดที่
๑ วัตถุฉักกะ
คือ วัตถุ ๖ ได้แก่ จักขุวัตถุ
โสตวัตถุ ฆานวัตถุ ชิวหาวัตถุ
กายวัตถุ และ หทยวัตถุ
หมวดที่
๒ ทวารฉักกะ
คือ ทวาร ๖ได้แก่ จักขุทวาร
โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร
กายทวาร และ มโนทวาร
หมวดที่
๓ อารัมมณฉักกะ
คือ อารมณ์ ๖ ได้แก่ รูปารมณ์
สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์
โผฏฐัพพารมณ์ และ ธัมมารมณ์
ธรรม
๓ หมวดนี้
ได้กล่าวแล้วในปริเฉทที่ ๓ คือ วัตถุฉักกะ
ได้แสดง แล้วในวัตถุสังคหะ ทวารฉักกะ
ได้แสดงแล้วในทวารสังคหะ และ อารัมมณ
ฉักกะ
ได้แสดงแล้วในอารัมมณสังคหะ
หมวดที่
๔ วิญญาณฉักกะ
คือวิญญาณ ๖ ได้แก่ จักขุวิญญาณ
โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ
กายวิญญาณ และ มโนวิญญาณ
ธรรมหมวดที่
๔ นี้ ก็ได้แสดงไว้ในปริจเฉทที่ ๑ จิตสังคหวิภาค
นั้นแล้ว
หมวดที่
๕ วิถีฉักกะ
คือ วิถี ๖ ความเป็นไปของจิต ๖
กระแส หรือ ๖ สาย หรือ ๖ ทาง หรือ ๖
วิถี
มีความหมายถึงความเป็นไปของจิตนั้นเกี่ยวกับ
ทวารใดในทวารทั้ง ๖ นั้น คือ
กระแสจิตที่เกิดทาง จักขุทวาร ก็เรียกว่า
จักขุทวารวิถี
กระแสจิตที่เกิดทาง โสตทวาร ก็เรียกว่า
โสตทวารวิถี
กระแสจิตที่เกิดทาง ฆานทวาร ก็เรียกว่า
ฆานทวารวิถี
กระแสจิตที่เกิดทาง ชิวหาทวาร ก็เรียกว่า
ชิวหาทวารวิถี
กระแสจิตที่เกิดทาง กายทวาร ก็เรียกว่า
กายทวารวิถี
กระแสจิตที่เกิดทาง มโนทวาร ก็เรียกว่า
มโนทวารวิถี
หมวดที่
๖ วิสยัปปวัตติฉักกะ
คือ วิสยัปปวัตติ ๖,
วิสย
แปลว่า อารมณ์,
ปวัตติ
แปลว่า ความเป็นไป,
วิสยัปปวัตติ
ก็แปลว่า ความเป็นไป(ของจิต)
ในอารมณ์หนึ่ง
ๆ ,
วิสยัปปวัตติ
๖ จำแนกได้เป็น ๒ คือ
วิสยัปปวัตติทาง ปัญจ
ทวาร
และ มโนทวาร
ก.
วิสยัปปวัตติ
ทางปัญจทวาร มี ๔ ได้แก่
๑.
อติมหันตารมณ์
๒.
มหันตารมณ์
๓.
ปริตตารมณ์
๔.
อติปริตตารมณ์
ข.
วิสยัปปวัตติ
ทางมโนทวาร มี ๒ ได้แก่
๑.
วิภูตารมณ์
๒.
อวิภูตารมณ์
อนึ่ง
วิสยัปปวัตติ
ในปฏิสนธิกาล
มีเพียง ๓ คือ กรรมอารมณ์
กรรมนิมิตอารมณ์
และ
คตินิมิตอารมณ์
เป็นอารมณ์ที่ได้มาจากอดีตชาติเมื่อจะ
ตาย ไม่เกี่ยวกับวิสยัปปวัตติ ๖
นี้
ปฏิสนธิจิต
มีอารมณ์เก่า
ไม่ได้รับอารมณ์ใหม่ด้วย
เป็นจิตที่พ้นทวาร (ทวาร
วิมุตตจิต)ด้วย
และเป็นจิตที่ไม่ใช่วิถี (วิถีมุตตจิต)
ด้วย
จึงไม่แสดงในปริจเฉทนี้
แม้ภวังคจิต
และ จุติจิต
ในภพเดียวชาติเดียวกับปฏิสนธิจิตนั้น
ก็เป็น จิตดวงเดียวกัน
มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับปฏิสนธิจิต
ก็เป็นทวารวิมุตตจิต วิถีวิมุตต
จิตเหมือนกัน
จึงไม่แสดงในปริจเฉทนี้เช่นเดียวกัน
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ