ปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

ฌานสมาบัติวิถี

          การเข้าฌานสมาบัติ เพื่อหนีทุกขเวทนา โดยปรารถนาจะเสวยฌานสุข ยังความอิ่มใจ หรือความวางเฉย แน่วแน่อยู่ในอารมณ์กัมมัฏฐานนั้น ตราบเท่า เวลาที่ตนอธิษฐาน (คือตั้งความปรารถนาอันแน่วแน่มั่นคงอย่างแรงกล้า) ไว้

          ผู้เข้าฌานสมาบัติได้ ต้องเป็นผุ้ที่ได้ฌาน และต้องมี วสี คือความชำนาญ หรือ ความแคล่วคล่องว่องไวทั้ง ๕ ประการ ได้แก่

          . อาวัชชนวสี             ความชำนาญในการ          นึกที่จะเข้าฌานตามที่ตนตั้งใจ

          . สมาปัชชนวสี     ความชำนาญในการ          เข้าฌาน

          . อธิฏฐานวสี          ความชำนาญในการ          ตั้งความปรารถนาที่จะให้                        ฌานจิต ตั้งมั่นอยู่เป็นเวลาเท่าใด

          . วุฏฐานวสี          ความชำนาญในการ          ออกจากฌาน

          . ปัจจเวกขณวสี      ความชำนาญในการ          พิจารณาองค์ฌาน

          เมื่อฌานลาภีบุคคล คือบุคคลผู้ได้ฌาน มีความคล่องแคล่วว่องไว ในวสีทั้ง ๕ แล้ว เวลาจะเข้าฌานสมาบัตินั้น กิจเบื้องต้นต้องตั้งความปรารถนา(อธิษฐาน) ว่า จะเข้าฌานสมาบัติเป็นเวลา.... (ตามความประสงค์ว่าจะเข้าอยู่นานสักกี่ชั่วโมง หรือกี่วัน) ขอให้ฌานจิตที่เคยได้แล้วนั้นจงบังเกิดขึ้นตามความปรารถนานี้เถิด

          ขณะที่ตั้งความปรารถนา(อธิษฐาน)นี้ กามจิต อันเป็นมหากุสลญาณสัมปยุตต สำหรับปุถุชนและพระเสกขบุคคล หรือกามจิตอันเป็นมหากิริยาญาณสัมปยุตต สำหรับพระอรหันต์ ก็เกิดมีวิถีจิตดังนี้

                        มโน             

          ต่อจากนี้ก็เจริญสมถภาวนา เข้าฌานสมาบัติ โดยเพ่งปฏิภาคนิมิตที่ตนเคยได้ เคย ผ่านมาแล้วนั้น วิถีจิตก็จะเกิดดังนี้

                      ท มโน   ปริ  อุป  อนุ  โค         ฯลฯ  ฯลฯ  ฯลฯ

(ถ้าเป็นติกขบุคคล ก็ไม่มี บริกรรม) ต่อจากโคตรภู ฌานจิตก็เกิดเรื่อยไปตราบเท่า เวลาที่ตนตั้งความปรารถนาไว้ ต่อเมื่อครบกำหนดเวลาที่ตนอธิษฐานไว้แล้ว ฌาน จิตจึงจะหยุดเกิด แล้วก็เป็นภวังคจิตต่อไปตามปกติ

          อนึ่ง ฌานลาภีบุคคล ผู้ได้เพียงปฐมฌาน ก็ต้องเข้าฌานสมาบัติในปฐมฌาน เท่าที่ตนได้ ที่เป็นธรรมดาสามัญ แต่ถ้าได้ฌานที่สูงขึ้นไป ก็เข้าได้ทั้งฌานสูงเท่าที่ ตนได้ และเข้าสมาบัติในฌานที่ต่ำกว่าก็ได้ด้วย เช่นผู้ที่ได้ ตติยฌาน เข้าตติยฌาน สมาบัติได้ เข้าทุติยฌานสมาบัติได้ หรือจะเข้าปฐมฌานสมาบัติก็ได้ (ข้อนี้ผิดกับ การเข้าผลสมาบัติ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป)



จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...