ปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
ปัจจเวกขณวิถี
ปัจจเวกขณะ
แปลว่า พิจารณา หมายถึง
การพิจารณาเพื่อให้ทราบตาม
สภาวะธรรมที่เป็นจริง
ปัจจเวกขณวิถี
ก็คือ วิถีจิต หรือ
ลำดับความเป็นไปของจิตที่พิจารณาถึง
สภาพแห่งความเป็นจริง
ดังนั้นจึงเป็นมหากุสล
หรือมหากิริยาชวนมโนทวารวิถี
อันเป็นกามวิถี
เมื่อ
มัคควิถีสิ้นสุดลงแล้ว
ต้องมีปัจจเวกขณวิถีอย่างแน่นอน
จะไม่มี
ปัจจเวกขณวิถีเกิดภายหลังมัคควิถีนั้นไม่ได้
ปัจจเวกขณวิถี
ที่เกิดภายหลังมัคควิถี
ก็เพื่อพิจารณาธรรม ๕ ประการ คือ
๑.
พิจารณามัคค ๒.
พิจารณาผล ๓.
พิจารณานิพพาน
๔.
พิจารณากิเลสที่ได้ละแล้ว ๕.
พิจารณากิเลสที่คงเหลืออยู่
ในปัจจเวกขณะ
๕ ประการนี้เฉพาะ ๓ ประการแรกคือ
การพิจารณามัคค ๑ การพิจารณาผล ๑
และการพิจารณานิพพาน ๑ ต้องมี
ต้องพิจารณาอย่างแน่นอน
ขาดไม่ได้
ส่วนการพิจารณากิเลสที่ได้ละแล้ว
๑
และการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่
๑ นั้น บางทีก็พิจารณา
บางทีก็ไม่พิจารณา กล่าวคือ
ถ้าผู้นั้นได้ศึกษาทางปริยัติ
จึงจะ ทราบเรื่องราวของกิเลส
เมื่อทราบก็พิจารณาได้
แต่ถ้าไม่ได้ศึกษามา
ก็ไม่ทราบเรื่อง จึงไม่พิจารณา
ปัจจเจกขณวิถี
ที่เกิดหลังจากโสดาปัตติมัคควิถี
สกทาคามีมัคควิถี และ
อนาคามีมัคควิถี
คิดจำนวนอย่างเต็มที่
ก็พิจารณาทั้ง ๕ ประการ
ส่วนปัจจเวก
ขณวิถีที่เกิดภายหลังอรหัตตมัคควิถี
ก็พิจารณาเพียง ๔ ประการ
เว้นการพิจารณา กิเลสที่คงเหลือ
เพราะพระอรหันต์ท่านละกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว
ไม่มีกิเลสที่เหลือเลย
รวมปัจจเวกขณวิถีที่เกิดภายหลังมัคควิถี
คิดจำนวนอย่างเต็มที่เป็น ๑๙
ประการ คือ
ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลัง โสดาปัตติมัคควิถี ๕
ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลัง สกทาคามิมัคควิถี ๕
ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลัง อนาคามิมัคควิถี ๕
ปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลัง อรหัตตมัคควิถี ๔
ปัจจเวกขณวิถี
เกิดหลังจาก อาทิกัมมิกฌานวิถี
และ ฌานสมาบัติวิถี ทำ
หน้าที่พิจารณาองค์ฌานนั้น
ก็มีได้
แต่ไม่แน่นอนว่าจะต้องมีเสมอไป
แต่หลังจาก
อภิญญาวิถี ผลสมาบัติวิถี หรือ
นิโรธสมาบัติวิถีนั้น ปัจจเวกขณ
วิถีไม่เกิด
นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้ว
แม้บุคคลสามัญที่มิใช่ฌานลาภีบุคคล
หรือเป็น พระอริยบุคคล
ก็มีปัจจเวกขณวิถีได้
เป็นมหากุสลชวนมโนทวารวิถี
อันเป็นกามวิถี เช่นเดียวกัน
ตัวอย่าง เช่น อภิณหปัจจเวกขณะ ๕
คือ
๑.
พิจารณาว่า
เรามีความ
แก่ เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ แก่ ไปได้
๒.
พิจารณาว่า
เรามีความ
เจ็บ เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ เจ็บ ไปได้
๓.
พิจารณาว่า
เรามีความ
ตาย เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ ตาย ไปได้
๔.
พิจารณาว่า
เราจักต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๕.
พิจารณาว่า
เรามีกรรมเป็นของตัว
ทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ