ปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
นิโรธสมาบัติวิถี
การเข้านิโรธสมาบัติ
เหมือนฝึกนิพพาน
เข้าสู่ความดับสนิทแห่งนามขันธ์
โดยปราศจากอันตรายใด ๆ
เป็นมหาสันติสุขอันยอดเยี่ยม
ดังนั้นพระอริยเจ้าจึงนิยม
เข้าผลสมาบัติ
และนิโรธสมาบัติด้วยศรัทธา
และฉันทะในอมตรสนั้น จนกว่าจะ
นิพพาน
ผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติได้
ต้องเป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม
ดังจะกล่าวต่อไป นี้ คือ
๑.
ต้องเป็นพระอนาคามี
หรือพระอรหันต์
๒.
ต้องได้ฌานสมาบัติทั้ง
๘ กล่าวคือ ต้องได้รูปฌาน
และ อรูปฌานด้วย ทุกฌาน
๓.
ต้องมีวสี
ชำนาญคล่องแคล่วในสัมปทา คือ
ถึงพร้อมสี่ประการ ได้แก่
ก.
มีสมถพละ
และวิปัสสนาพละ คือ มีสมาธิ
และปัญญาเป็นกำลัง ชำนาญ
ข.
ชำนาญในการระงับกายสังขาร
(คือลมหายใจเข้าออก)
ชำนาญใน
การระงับ วจีสังขาร (คือ
วิตก วิจาร ที่ปรุงแต่งวาจา)
ชำนาญในการ
ระงับจิตตสังขาร (คือสัญญา
และเวทนาที่ทำให้เจตนาปรุงแต่งจิต)
ค.
ชำนาญใน
โสฬสญาณ (คือ
ญาณทั้ง ๑๖)
ง.
ชำนาญใน
ฌานสมาบัติ ๘ มาก่อน
ดังนี้จะเห็นได้ว่า
การเข้านิโรธสมาบัติ
จำเป็นต้องใช้กำลังทั้ง ๒ ประการ
คือ กำลังสมถภาวนา
ต้องถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
และกำลังวิปัสสนาก็ต้องถึง
ตติยมัคคเป็นอย่างต่ำ กล่าวคือ
ต้องใช้ทั้งกำลังสมาธิ
และกำลังปัญญาควบคู่กันด้วย
๔.
ต้องเป็นบุคคลในภูมิที่มีขันธ์
๕ (คือ
ปัญจโวการภูมิ)
เพราะในอรูปภูมิ
เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้
ด้วยเหตุว่าไม่มีรูปฌาน
พระอนาคามี
หรือ พระอรหันต์ ที่ได้สมาบัติ ๘
อันเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม
ดังกล่าวแล้ว
เมื่อจะเข้านิโรธสมาบัตินั้น
ต้องกระทำดังนี้
(๑)
เข้าปฐมฌาน
มีกัมมัฏฐานใดกัมมัฏฐานหนึ่ง
ที่ตนได้มาแล้วเป็นอารมณ์
ปฐมฌานกุสลจิตสำหรับพระอนาคามี
หรือ
ปฐมฌานกิริยาจิตสำหรับพระอรหันต์
ก็เกิดขึ้น ๑ ขณะ ดังภาพนี้
ภ น ท มโน ปริ อุป อนุ โค ฌาน ภ
(๒)
เมื่อออกจากปฐมฌานแล้ว
ต้องพิจารณาองค์ฌาน
โดยความเป็น อนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา
ซึ่งการพิจารณาเช่นนี้ เรียกว่า
ปัจจเวกขณวิถี
ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ภ
(๓)
เข้าทุติยฌาน
ฌานจิตก็เกิด ๑ ขณะ
(๔)
เข้าปัจจเวกขณวิถี
(๕)
เข้าตติยฌาน
ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
(๖)
เข้าปัจจเวกขณวิถี
(๗)
เข้าจตุตถฌาน
ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
(๘)
เข้าปัจจเวกขณวิถี
(๙)
เข้าปัญจมฌาน
ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
(๑๐)
เข้าปัจจเวกขณวิถี
(๑๑)
เข้าอรูปฌาน
คือ อากาสานัญจายตนฌาน
ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
(๑๒)
เข้าปัจจเวกขณวิถี
(๑๓)
เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน
ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
(๑๔)
เข้าปัจจเวกขณวิถี
(๑๕)
เข้าอากิญจัญญายตนฌาน
ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
(๑๖)
เมื่อออกจาก
อากิญจัญญายตนฌานแล้ว ไม่ต้องเข้าปัจจเวกขณวิถีแต่
เข้าอธิฏฐานวิถี คือ ทำ บุพพกิจ
๔ อย่าง ได้แก่
ก.
นานาพทฺธ
อวิโกปน
อธิษฐานว่า บริขารต่าง ๆ
ตลอดจนร่างกาย
ของข้าพเจ้า
ขออย่าให้เป็นอันตราย
ข.
สงฺฆปฏิมานน
อธิษฐานว่า เมื่อสงฆ์ประชุมกัน
ต้องการตัวข้าพเจ้า ขอให้ออกได้
โดยมิต้องให้มาตาม
ค.
สตฺถุปกฺโกสน
อธิษฐานว่า ถ้าพระพุทธองค์มีพระประสงค์ตัว
ข้าพเจ้า ก็ขอให้ออกได้
โดยมิต้องให้มีผู้มาตาม
ง.
อทฺธาน
ปริจฺเฉท
อธิษฐานกำหนดเวลาเข้า
ว่าจะเข้าอยู่นานสัก เท่าใด
รวมทั้งการพิจารณา อายุ
สังขารของตนด้วย ว่าจะอยู่ถึง ๗
วัน หรือไม่ ถ้าจะตายภายใน ๗ วัน
ก็ไม่เข้า หรือเข้าให้น้อยกว่า ๗
วัน
(๑๗)
อธิษฐานแล้วก็เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
วิถีนี้ เนวสัญญานา สัญญายตนฌาน
เกิดขึ้น ๒ ขณะ (๒
ขณะ ไม่ใช่ ๑ ขณะ)
(๑๘)
ลำดับนั้น
จิต เจตสิก และจิตตชรูปก็ดับไป
ไม่มีเกิดขึ้นอีกเลย ส่วน
กัมมชรูป อุตุชรูป และอาหารชรูป
ยังคงดำรงอยู่
และดำเนินไปตามปกติ หาได้ดับ
ไปด้วยไม่
จิต
เจตสิก และจิตตชรูป
คงดับอยู่จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ได้อธิษฐานไว้
(๑๙)
เมื่อครบกำหนดเวลาที่ได้อธิษฐานไว้
ซึ่งเรียกว่า
ออกจากนิโรธสมาบัติ นั้น
อนาคามิผล
สำหรับอนาคามิบุคคล
หรือ
อรหัตตผล
สำหรับอรหัตตบุคคล
ก็เกิดขึ้น
๑ ขณะก่อน ต่อจากนั้น จิต เจตสิก
และจิตตชรูปจึงจะเกิดตาม
ปกติต่อไปตามเดิม
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ