ปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
อภิญญาวิถี
อภิญญา
แปลว่า รู้ยิ่ง
รู้พิเศษ
มีความหมายว่า
เป็นจิตที่มีความรู้อันยิ่งใหญ่
เป็นพิเศษจนมีอำนาจสามารถที่จะบันดาลให้เกิด
สิ่งที่ตนปรารถนาได้ ต้องใช้ รูปาวจรปัญจมฌานกุสล
หรือ รูปาวจรปัญจมฌานกิริยา
ที่ได้มาจากกสิณ เป็น
บาทให้เกิดอภิญญาจิต
ดังนั้นอภิญญานี้จึงมีได้แต่ในภูมิที่มีขันธ์
๕ เพราะต้องทำ อภิญญาด้วยรูปฌาน
อภิญญาที่ต้องอาสัยรูปาวจรปัญจมฌานจิตเป็นบาทให้เกิดนั้น
มี ๕ ประการ คือ
๑.
บุพเพนิวาสานุสสติ
ระลึกชาติก่อนที่เคยเกิดมาแล้วได้
๒.
ทิพพจักขุ
หรือ จุตูปปาตญาณ
คือ ตาทิพย์เหมือนเทวดา และพรหม
สามารถเห็นเหตุการณ์ไกล ๆ
ที่ไปไม่ถึงได้ และ รู้จุติ
ปฏิสนธิ ของสัตว์ทั้งหลาย
๓.
ปรจิตตวิชชานน
หรือ เจโตปริยญาณ
รู้จักจิตใจของผู้อื่นได้
๔.
ทิพพโสต
คือ หูทิพย์เหมือนเทวดาและพรหม
สามารถฟังเสียงที่ไกล ๆ ได้
๕.
อิทธิวิธ
แสดงอิทธิฤทธิต่าง ๆ ได้
ผู้ทำอภิญญาได้
ต้องเป็นผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้
คือ
๑.
ได้สมาบัติทั้ง
๘ คือ ได้ทั้งรูปฌานสมาบัติ
และอรูปฌานสมาบัติ โดย ครบถ้วน
๒.
ต้องได้ทำการฝึกฝนอบรม
(เป็นพิเศษอีก
๑๔ นัย)
เพื่อให้ได้อภิญญา
และต้องแคล่วคล่องว่องไวในกระบวนการอบรม
(ทั้ง
๑๔ นัย)
นั้นด้วย
(กระบวน
การอบรมเป็นพิเศษ ๑๔ นัยนั้น
แสดงไว้ในปริจเฉทที่ ๙)
เมื่อฌานลาภีบุคคลผู้มีลักษณะดังกล่าว
ปรารถนาจะทำอภิญญาอย่างใดอย่าง
หนึ่ง ต้องกระทำดังนี้ คือ
๑.
ต้องเข้ารูปาวจรปัญจมฌานก่อน
เพื่อเป็นบาทให้จิตมีกำลังกล้าแข็ง
ซึ่ง เรียกชื่อว่า ปาทกฌานวิถี
วิถีจิตเป็นดังนี้
ภ น ท มโน ปริ อุป อนุ โค ฌ ฌ ฌ ฌ ฌ ภ
๒.
แล้วก็อธิษฐาน
คือ ตั้งความปรารถนา
ความมุ่งมั่นอันแน่วแน่มั่นคง
อย่างแรงกล้า
ว่าประสงค์อภิญญาอย่างใด
ซึ่งเรียกชื่อว่าอธิฏฐานวิถี
เป็นกามวิถี ดังนี้
ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ภ
๓.
ต่อจากนั้นก็เข้ารูปาวจรปัญจมฌานอีก
เรียก ปาทกฌานวิถี เหมือนกัน
วิถีจิตเป็นดังนี้
ภ น ท มโน ปริ อุป อนุ โค ฌ ฌ ฌ ฌ ฌ ภ
๔.
ลำดับสุดท้าย
อภิญญาจิตก็จะเกิดขึ้นตามความปรารถนาที่ได้อธิษฐานนั้น
วิถีนี้จะเกิดอภิญญาจิตขณะเดียวเท่านั้น
ดังนี้
ภ น ท มโน ปริ อุป อนุ โค อภิญญา ภ
ขณะที่อภิญญากำลังเกิดอยู่นั้น
มโนทวารวิถีที่เกิดต่อจากอภิญญาวิถีนั้น
เป็น
มหากุสลหรือมหากิริยาตามควรแก่บุคคลที่แสดงอภิญญา
และเป็นกามชวนมโน ทวารวิถี
ถ้าหากว่า
ได้กระทำดังกล่าวแล้ว
แต่อภิญญายังไม่เกิด
ก็ต้องตั้งต้นเริ่มทำมา
ตั้งแต่ต้นใหม่อีก
จนกว่าอภิญญาจิตจะเกิด
อนึ่ง
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้
จะเห็นได้ว่าบุคคลที่แสดงอภิญญาได้
ก็ด้วย อำนาจแห่งการเจริญ
สมถภาวนาจนได้สมาบัติทั้ง ๘
เช่นนี้ท่านเรียกว่า ปฏิปทา
สิทธิฌาน
ซึ่งมีความหมายว่า
สำเร็จถึงซึ่งฌานด้วยการปฏิบัติ
ยังมีบุคคลอีกประเภทหนึ่ง
ซึ่งในชาตินั้นไม่เคยเจริญสมถภาวนา
เป็นแต่เจริญ
วิปัสสนาภาวนาอย่างเดียว
ถึงกระนั้นก็ดี
บางบุคคลพอบรรลุมัคคผล
ก็ถึงพร้อมซึ่ง ฌานด้วย
จนถึงแสดงอภิญญาได้ก็มี เช่น
พระจุฬปัณถก
เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์ แล้ว
ก็ได้แสดงปาฏิหาริย์เป็นภิกษุหลายรูปจนเต็มพระเชตวัน
เช่นนี้ท่านเรียกว่า มัคคสิทธิฌาน
ซึ่งมีความหมายว่า
ได้ฌานด้วยอำนาจแห่งมัคค
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ