ปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

อวิภูตารมณ์วิถี เป็นวิถีทางใจที่มีอารมณ์ชัดเหมือนกัน แต่ว่าชัดน้อยกว่า อ่อนกว่า วิภูตารมณ์วิถี มีขณะจิตเกิดอย่างเดียวกับวิภูตารมณ์วิถี เป็นแต่มีถึงเพียง ชวนะเท่านั้น ไม่ตั้งอยู่จนถึงตทาลัมพนะ กล่าวคือ มี ภวังคจลนะ ภวังคไหว ๑ ขณะ, ภวังคุปัจเฉทะ ตัดกระแสภวังค ๑ ขณะ, มโนทวาราวัชชนะ ๑ ขณะ และ ชวนะ ๗ ขณะ รวมเป็น ๑๐ ขณะจิตเท่านั้น

          กล่าวโดยวิถีจิต มีเพียง ๒ คือ มโนทวาราวัชชนจิตอย่างหนึ่ง ชวนจิตอีก อย่างหนึ่ง

          กล่าวโดยจิตตุปปาทะ มี ๘ คือ มโนทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้น ๑ ขณะ และ ชวนจิตเกิดขึ้น ๗ ขณะ

          กล่าวโดยพิสดาร คือ จำนวนจิตที่สามารถจะเกิดในวิถีนี้ได้นั้น ได้แก่ มโน ทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง และกามชวนจิต ๒๙ ดวง รวมเป็น ๓๐ ดวง ด้วยกัน

       กิริยาจิต ๑       กามชวนจิต ๒๙          กามจิต        ๑๐

 

 

 

 

 

    มโน                                                        ชวนวาระ    

                                                                             จิตตุปปาทะ ๘

 

 

 

 

 

 

                                          วิถีจิต           

          อนึ่งมโนทวารกามวิถีนี้ มีจิตพิสดาร(จำนวนมากที่สุด) ๔๑ นั้นก็คือ กามจิต ๔๑ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มโนธาตุ ๓) นั่นเอง

          ที่ต้องเว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และ มโนธาตุ ๓ ก็เพราะจิต ๑๓ ดวงนี้เกิด ได้เฉพาะแต่ในปัญจทวารวิถีเท่านั้น จะเกิดทางมโนทวารวิถีไม่ได้

          มโนทวารวิถี (กล่าวตามนัยแห่งพระอภิธัมมัตถสังคหะของพระอนุรุทธาจารย์ โดยเฉพาะ) ไม่มีอตีตภวังค เพราะอารมณ์ที่ปรากฏทางมโนทวารวิถีนี้ ไม่ได้กระทบ ภวังคจิตก่อนเหมือนกับปัญจทวารวิถี หากแต่จิตเกิดขึ้นก่อนแล้วจึงรับอารมณ์นั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ทางปัญจทวารวิถีนั้น อารมณ์เป็นปัจจัยมากระทบมากระตุ้น เตือนจิต ให้จิตไหวตัวขึ้นรับอารมณ์ ส่วนทางมโนทวารวิถีนั้น จิตไหวตัวหน่วงเอา อารมณ์นั้น ๆ มาเอง

          เนื่องจากการที่จิตไหวตัว หน่วงเอาอารมณ์นั้น ๆ มาเองดังกล่าวนี้ มโนทวาร วิถีจึงมีกิจการงานที่จะต้องกระทำน้อยอย่าง วิถีจิตจึงมีน้อยเพียง ๓ อย่างเท่านั้น คือ

          . มโนทวาราวัชชนจิต ผู้ทำหน้าที่นำวิถี ได้หน่วงเอาอารมณ์นั้น ๆ มาเอง โดยตัดสินให้เป็นกุสล อกุสลเสร็จไปพร้อมกันในตัวเองทีเดียว อย่างที่ว่า ก่อเอง สานเอง หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า มโนทวาราวัชชนจิตได้คิดนึกเป็นกุสล อกุสล เอง ไม่มีจิตอื่นเป็นสื่อนำมาให้

          . แล้วชวนจิตก็เกิดขึ้น เสพอารมณ์นั้นโดยความเป็นกุสล หรืออกุสล ตามที่ มโนทวาราวัชชนจิตได้กำหนดนึกนั้น

          . และเพราะว่าอารมณ์ชัดแจ้งมาก มีกำลังมาก ตทาลัมพนะจึงต้องรับรู้ อารมณ์นั้นต่อจากชวนจิตอีกทอดหนึ่ง

          ส่วนทางปัญจทวารวิถี มีจิตอื่นทำกิจของเขามาก่อน คือ รับรู้อารมณ์มาก่อน เป็นหลายทอดหลายหน้าที่ แล้วจึงเสนอถึงโวฏฐัพพนะ ก็คือ มโนทวาราวัชชนะ นั่นเอง เป็นผู้ตัดสินกำหนดให้เป็นกุสล หรืออกุสล ขอให้ดูภาพวิถีจิต (หน้า ๗-) ประกอบด้วย จะเห็นได้ว่า ปัญจทวารวิถีมีกิจการงานต้องกระทำหลายอย่าง มีวิถีจิต มากถึง ๗ อย่าง



จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...