ปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
ขณะจิตในอติมหันตารมณ์วิถี
อติมหันตารมณ์วิถี
เป็นวิถีจิตที่เกิดทางปัญจทวาร
มีถึง ๑๗ ขณะจิต ตาม
ลำดับดังต่อไปนี้
ขณะที่
๑ อตีตภวังค
เป็นภวังคจิตดวงแรกที่กระทบกับอารมณ์ใหม่
หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า
อารมณ์ใหม่มากระทบกับภวังคจิตดวงใด
ภวังคจิตดวงนั้นได้ชื่อ ว่า
อตีตภวังค
ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า
ภวังคจิตมี กรรมอารมณ์
หรือกรรมนิมิตอารมณ์
หรือคตินิมิตอารมณ์
อย่างใดอย่างหนึ่ง
อันเป็นอารมณ์ที่ได้มาจากภพก่อน
ซึ่งขอ สมมติเรียกว่าอารมณ์เก่า
อตีตภวังคก็คงมีอารมณ์เก่า
ยังไม่ได้รับอารมณ์ใหม่ เป็น
แต่เพียงอารมณ์ใหม่มากระทบเท่านั้นเอง
ดังนั้น
จิตดวงนี้จึงยังไม่เรียกว่า
วิถีจิต
ขณะที่
๒ ภวังคจลนะ
เป็นภวังคจิตที่ไหวตัว
เพราะเหตุที่มีอารมณ์ใหม่
มากระทบ
แต่ยังคงเป็นภวังคจิตที่มีอารมณ์เก่าอยู่
จึงยังไม่เรียกว่าวิถีจิตเหมือนกัน
ขณะที่
๓ ภวังคุปัจเฉทะ
เป็นภวังคจิตที่ตัดกระแสภวังค
คือ ปล่อยอารมณ์ เก่า
วางอารมณ์เก่า
เพื่อรับอารมณ์ใหม่ที่มากระทบนั้นต่อไป
ภวังคุปัจเฉทะนี้ ก็ยัง
คงเป็นภวังคจิตที่มีอารมณ์เก่าอยู่
จึงยังไม่เรียกว่าวิถีจิตเช่นเดียวกัน
อตีตภวังค
ภวังคจลนะ
และ ภวังคุปัจเฉทะ
ทั้ง ๓ ขณะ ที่กล่าวมานี้ ได้แก่
ภวังคจิตดวงเดียวกัน
ดวงใดดวงหนึ่งในจำนวนภวังคจิต
๑๕ ดวง (เว้นอรูป
วิปากจิต ๔)
ขณะที่
๔ ปัญจทวาราวัชชนะ
เป็นกิริยาจิตก็เกิดขึ้น
เพื่อพิจารณาอารมณ์
ใหม่ที่มากระทบนั้น
ว่าเป็นอารมณ์ที่มาทางทวารไหน
จะได้เป็นปัจจัยให้สัญญาณแก่
วิญญาณจิตทางทวารนั้น
ปัญจทวาราวัชชนจิตนี้เป็นปฐมวิถีจิต
คือ เป็นจิตดวงแรกที่ขึ้นวิถี
หรือที่นับ เป็นวิถี
เพราะจิตดวงนี้ได้รับอารมณ์ใหม่แล้ว
และจิตดวงต่อ ๆ ไป ก็รับอารมณ์
ใหม่ และนับเป็นวิถีจิต
จนกว่าจะสุดวิถี คือ
กลับเป็นภวังคไปตามเดิม
ขณะที่
๕ ปัญจวิญญาณ
ก็เกิดขึ้นตามควรแก่อารมณ์ คือ
เป็น รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ
ก็เกิดขึ้น เห็นรูปนั้น
เป็น สัททารมณ์ โสตวิญญาณ
ก็เกิดขึ้น ได้ยินเสียงนั้น
เป็น คันธารมณ์ ฆานวิญญาณ
ก็เกิดขึ้น รู้กลิ่นนั้น
เป็น รสารมณ์ ชิวหาวิญญาณ
ก็เกิดขึ้น รู้รสนั้น
เป็น โผฏฐัพพารมณ์ กายวิญญาณ
ก็เกิดขึ้น รู้สึกในสัมผัสนั้น
ขณะที่
๖ สัมปฏิจฉันนะ ก็เกิดขึ้นรับอารมณ์จากปัญจวิญญาณเสนอต่อไป
ยังสันตีรณะ
ขณะที่
๗ สันตีรณะ
เกิดขึ้นไต่สวนอารมณ์นั้น
ว่าดีหรือไม่ประการใด
ขณะที่
๘ โวฏฐัพพนะ
คือ มโนทวาราวัชชนจิต
ที่ทำหน้าที่ โวฏฐัพพนกิจ
ทางปัญจทวารนี้ก็เกิดขึ้น
ตัดสินและกำหนดให้เป็นไป กุสล
หรือ อกุสล หรือกิริยา ตามควรแก่
มนสิการ และบุคคล
ขณะที่
๙ ถึงขณะที่ ๑๕ รวม ๗ ขณะ เป็น ชวนจิต
ทั้ง ๗ ขณะ เกิดขึ้น
เสพอารมณ์นั้นเป็นกุสล อกุสล
กิริยา
ตามที่โวฏฐัพพนะได้ตัดสินและกำหนดมานั้น
แล้ว
เสพให้เป็นกุสลก็เป็นกุสลทั้ง
๗ ขณะ
ให้เป็นอกุสลหรือกิริยาอย่างใดก็เป็น
อย่างนั้นแต่อย่างเดียวตลอดทั้ง
๗ ขณะ
ชวนจิตที่เกิดได้ในวิถีนี้
ได้เฉพาะกามชวนจิต ๒๙
ดวงเท่านั้น
ขณะที่
๑๖ และ ๑๗ ตทาลัมพนะ
ก็เกิดขึ้นยึดหน่วงอารมณ์ที่เหลือจาก
ชวนะนั้นอีก ๒ ขณะ
เป็นอันครบ
๑๗ ขณะจิต เป็นอันสิ้นสุดวิถี
และสิ้นอายุของอารมณ์ใหม่นั้น
ด้วยพอดี
แล้วก็กลับเป็นภวังคจิต
รับอารมณ์ต่อไปตามเดิม
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ