ปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
มรณาสันนวิถีทางปัญจทวาร
แต่ละทวาร มี ๔ วิถี ดังนี้
ภ ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ต ต จุติ ปฏิ ภ
ภ ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ต ต ภ จุติ
ปฏิ ภ
ภ ตี ตี ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช จุติ ปฏิ ภ
ภ ตี ตี ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ภ จุติ
ปฏิ ภ
มรณาสันนวิถีทางมโนทวาร
มี ๔ วิถี เช่นเดียวกัน
ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ต ต จุติ
ปฏิ ภ
ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ต ต ภ จุติ ปฏิ ภ
ภ น ท มโน ช ช ช ช ช จุติ
ปฏิ ภ
ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ภ จุติ ปฏิ ภ
ในมรณาสันนวิถี
มี กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต
เป็นอารมณ์แน่นอน กรรมอารมณ์
กรรมนิมิตอารมณ์ คตินิมิตอารมณ์
ที่เกิดขึ้นในมรณาสันนวิถีนี่แหละ
เป็นเครื่องหมายบ่งบอกภพชาติที่จุติสัตว์นั้นจะไปปฏิสนธิ
กรรมอารมณ์
กับ คตินิมิตอารมณ์ ทั้ง ๒ นี้
เกิดเฉพาะทางมโนทวาร ส่วน
กรรมนิมิตอารมณ์เกิดได้ทั้ง ๖
ทวาร
โดยเฉพาะ
มรณาสันนวิถีของพระอรหันต์
ไม่มีกรรมอารมณ์ กรรมนิมิต
อารมณ์ หรือ คตินิมิตอารมณ์
แม้แต่อย่างเดียว
เพราะท่านไม่ต้องปฏิสนธิอีกแล้ว
อารมณ์ในมรณาสันนวิถีทั้ง
๓ คือ กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์
คตินิมิต อารมณ์ นี้
เกิดขึ้นด้วยอำนาจของกรรมทั้ง ๔
คือ
๑.
ครุกรรม
คือ กรรมที่หนัก ทางอกุสล ได้แก่
ปัญจานันตริยกรรม (อนัน
ตริยกรรมทั้ง ๕)
ในทางกุสลได้แก่
มหัคคตกุสล ๙
ถ้าได้ทำกรรมหนักเช่นนี้
ครุกรรมต้องให้ผลก่อน
อนันตริยกรรม
๕ ได้แก่ มาตุฆาต ปิตุฆาต
อรหันตฆาต โลหิตุปปาท และ สังฆเภท
๒.
อาสันนกรรม
คือ กรรมที่กระทำเมื่อใกล้ตาย
มีทั้งทางกุสล และทาง อกุสล
ถ้าไม่มีครุกรรมแล้ว
อาสันนกรรมนี้ต้องให้ผลเป็นอันดับแรก
๓.
อาจิณณกรรม
คือ กุสลกรรม
และกุสลกรรมที่ทำอยู่เสมอเป็นอาจิณ
ถ้าไม่มีครุกรรมและอาสันนกรรมแล้ว
อาจิณณกรรมนี้ก็ให้ผลก่อน
๔.
กฏัตตากรรม
คือ กุสลกรรม
และอกุสลกรรมที่ไม่ครบองค์ของกัมมบถ
จัดเป็นกรรมเล็กน้อย
ถ้าไม่มีกรรมอื่น คือ ๓
อย่างข้างต้นนั้น
จึงเป็นหน้าที่ของ
กฏัตตากรรมนี้ให้ผล
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ