ปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

ตทนุวัตติกมโนทวารวิถี หรือ อนุพันธกมโนทวารวิถี

          ตทนุวัตติกมโนทวารวิถี หรือ อนุพันธกมโนทวารวิถี คือ มโนทวารวิถี ที่เกิดต่อจากปัญจทวารวิถี อันมีปรมัตถเป็นอารมณ์ เพื่อให้รู้เรื่องราวของบัญญัติ ตามโวหารของโลก จากปรมัตถอารมณ์นั้น

          ตทนุวัตติกมโนทวารวิถี หรือ อนุพันธกมโนทวารวิถี ที่เกิดติดต่อจากปัญจ ทวารวิถีนั้น มีอยู่ ๔ อย่าง หรือ ๔ วิถี คือ

          . อตีตัคคหณวิถี เป็นวิถีที่รับอารมณ์ตามปัญจทวารวิถี ซึ่งปัญจทวารวิถีได้ ประสบมา แต่ว่าอารมณ์นั้นได้หมดอายุและดับไปแล้ว

          ปัญจทวารวิถีมีอารมณ์เป็นปรมัตถ และเป็นปัจจุบันอารมณ์ด้วย ส่วนอตีตัค คหณวิถี ก็มีอารมณ์เป็นปรมัตถ ซึ่งเป็นอารมณ์เดียวกับปัญจทวารวิถีนั้นเอง แต่ว่า เป็นอดีตอารมณ์

          จักขุทวารวิถี มีอารมณ์เป็นปรมัตถ และเป็นปัจจุบันอารมณ์ ดังภาพนี้

                    ตี        จักขุ  สํ  สัน  วุ                 

          อตีตัคคหณวิถี มีอารมณ์เป็นปรมัตถ แต่เป็นอดีตอารมณ์ ดังภาพนี้

                      ท มโน                 

          การเกิดขึ้นของปัญจทวารวิถี และอตีตัคคหณวิถีทั้ง ๒ วิถีนี้ เกิดสลับกันเป็น จำนวนหลายร้อยหลายพันรอบ

          . สมูหัคคหณวิถี เป็นวิถีที่รับอารมณ์เหล่านั้นมารวมกัน เพื่อให้ได้ความ วิถีนี้ก็เกิดหลายร้อยหลายพันรอบเหมือนกัน

                        มโน                 

          สมูหัคคหณวิถี ก็มีอารมณ์เป็นปรมัตถ และเป็นอดีตอารมณ์เช่นเดียวกับ อตีตัคคหณวิถี

          . อัตถัคคหณวิถี เป็นวิถีที่รู้เนื้อความของอารมณ์นั้น เกิดได้มากมายหลาย รอบเช่นเดียวกัน

                        มโน             

          อัตถัคคหณวิถี มีอารมณ์เป็นบัญญัติ คือรู้เนื้อความของอารมณ์นั้น ตามโวหาร ของโลก มีข้อสังเกตว่า วิถีที่มีอารมณ์เป็นบัญญัติก็ไม่มี ตทาลัมพนะ

          . นามัคคหณวิถี เป็นวิถีที่รู้ชื่อของอารมณ์นั้น ๆ เกิดได้เป็นจำนวนมาก หลายรอบเช่นเดียวกัน

                        มโน             

          นามัคคหณวิถีนี้ ก็มีอารมณ์เป็นบัญญัติเหมือนกัน คือ รู้ชื่อของอารมณ์นั้น ตามโวหารของโลก

          ที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เป็นทางจักขุทวาร มีรูป คือสีหรือวัณณะเป็นอารมณ์ ถ้าหากว่าผู้นั้นไม่เคยเห็นรูปนั้นมาก่อน ไม่รู้ว่ารูปนั้นชื่ออะไร นามัคคหณวิถีก็ไม่เกิด กล่าวคือไม่เคยเห็น“ไก่”  ก็เพียงแต่เห็นรูปร่างว่าเป็นอย่างนั้น ๆ  แต่ไม่รู้ว่าเขา เรียกชื่อกันว่า “ไก่”

          ทางจักขุทวาร อันมีรูปเป็นอารมณ์ ทางฆานทวาร อันมีกลิ่นเป็นอารมณ์ ทาง ชิวหาทวาร อันมีรสเป็นอารมณ์ และทางกายทวารอันมีสิ่งที่มากระทบถูกต้องเป็น อารมณ์ทั้ง ๔ นี้ วิถีจิตเกิดดังกล่าวมานี้ เฉพาะอย่างยิ่ง อัตถัคคหณวิถีเกิดก่อน นามัคคหณวิถีเกิดทีหลัง

          แต่ว่าถ้าเป็นวิถีที่เกิดทางโสตทวาร อันมีเสียง คือ สัททะเป็นอารมณ์แล้ว นามัคคหณวิถีเกิดก่อน อัตถัคคหณวิถี เกิดทีหลัง

          และถ้าเสียงนั้นมีพยางค์เดียว หรือคำเดียว สมูหัคคหณวิถีก็ไม่เกิด เพราะไม่ ต้องการมีการรวมอะไรแต่อย่างใด

          หรือถ้าไม่รู้เนื้อความของสัททารมณ์นั้น เช่นได้ยินภาษาต่างประเทศที่ตนไม่มี ความรู้ อัตถัคคหณวิถีก็ไม่เกิด

          ปัญจารมณ์ที่ไม่เกี่ยวแก่ชื่อต่าง ๆ เช่น เห็นคนกวักมือเรียก หรือร้องเรียกว่า มานี่ เป็นต้น นามัคคหณวิถีก็ไม่เกิด

          อนึ่ง นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีการจำแนก จัก ซอย อัตถัคคหณวิถี ให้ละเอียดออกไปอีก คือ

          กายวิญญัตติคคหณวิถี เกิดต่อจากอัตถัคคหณวิถี เป็นวิถีที่รู้ความหมายของ กายวิญญัตตินั้น เช่น รู้ว่าผู้ที่กำลังกวักมือนั้น กำลังเรียก

          วจีวิญญัตติคคหณวิถี ก็ทำนองเดียวกัน คือ รู้ความหมายของวจีวิญญัตติว่า เสียงนั้นเป็นเสียงเรียก

          อธิปายัคคหณวิถี เป็นวิถีที่เกิดต่อจากกายวิญญัตติคคหณวิถี หรือวจีวิญญัต ติคคหณวิถี เมื่ออธิปายัคคหณวิถีเกิดแล้ว ย่อมรู้ความประสงค์ของผู้ที่กวักมือ หรือ ออกเสียงเรียก ว่าให้เราไปหาเขา

          แต่อย่างไรก็ดี วิถีทั้ง ๓ นี้คือ กายวิญญัตติคคหณวิถี วจีวิญญัตติคคหณวิถี และ อธิปายัคคหณวิถี ก็อนุโลมเข้าใน อัตถัคคหณวิถีนั่นเอง ตัวอย่างเช่น

          มีผู้กวักมือเรียก และเรารู้ว่าเรียกเรา วิถีจิตเกิดดังนี้

          . จักขุทวารวิถี เป็นรูปารมณ์ เป็นปรมัตถอารมณ์ เป็นปัจจุบันอารมณ์

                    ตี        จักขุ  สํ  สัน  วุ                 

          . อตีตัคคหณวิถี รับรูปารมณ์ที่จักขุวิญญาณได้เห็นแล้วนั้น เป็นปรมัตถ อารมณ์ แต่เป็นอดีตอารมณ์

                        มโน                 

          . สมูหัคคหณวิถี รวมรูปารมณ์ เป็นปรมัตถอารมณ์ เป็นอดีตอารมณ์

                        มโน                 

          . อัตถัคคหณวิถี รู้เนื้อความ หรือได้ความว่า กวักมือ เป็นบัญญัติอารมณ์

                        มโน             

          . กายวิญญัตติคคหณวิถี รู้ว่าเขาเรียก เป็นบัญญัติอารมณ์

                        มโน             

          . อธิปายัคคหณวิถี รู้ว่า เรียกเราให้ไปหาเขา เป็นบัญญัติอารมณ์

                        มโน             

          มีผู้ร้องเรียก และเรารู้ว่าเรียกเรา วิถีจิตเกิดขึ้นดังนี้

          . โสตทวารวิถี ได้ยินเสียง คือสัททารมณ์ เป็นปรมัตถอารมณ์ เป็นปัจจุบัน อารมณ์

                    ตี        โสต  สํ  สัน  วุ                 

          . อตีตัคคหณวิถี รับสัททารมณ์โสตวิญญาณได้ยินแล้วนั้น เป็นปรมัตถ อารมณ์ เป็นอดีตอารมณ์

                        มโน                 

          . สมูหัคคหณวิถี รวมสัททารมณ์ รวมเสียงที่ได้ยิน เป็นปรมัตถอารมณ์ เป็นอดีตอารมณ์

                        มโน                 

          แต่ถ้าเสียงที่เรียกนั้น พยางค์เดียว หรือคำเดียว สมูหัคคหณวิถีนี้ก็ไม่เกิด เพราะไม่มีอะไรที่จะต้องรวม

          . นามัคคหณวิถี รู้นาม รู้ชื่อ ว่าเสียงนั้นเป็นชื่อ เป็นบัญญัติอารมณ์

                        มโน             

          . อัตถัคคหณวิถี รู้เนื้อความ หรือได้ความว่า เป็นชื่อเรา เป็นบัญญัติ อารมณ์

                        มโน             

          . วจีวิญญัตติคคหณวิถี รู้ว่าเขาเรียกเรา เป็นบัญญัติอารมณ์

                        มโน             

          . อธิปายัคคหณวิถี รู้ว่า เรียกเราให้ไปหาเขา เป็นบัญญัติอารมณ์

                        มโน             



จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...