ปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

อิฏฐารมณ์ หรือ อนิฏฐารมณ์

          การที่จะทราบว่าธรรมใดเป็น อิฏฐารมณ์ และธรรมใดเป็น อนิฏฐารมณ์ นั้น มีหลักกว้าง ๆ ที่จะพิจารณาได้พอประมาณดังนี้ คือ

          . ธรรมใดเป็นกุสล เกิดมาจากกุสล หรือ เนื่องด้วยกุสล ธรรมนั้น ๆ  เป็น อิฏฐารมณ์

          . ธรรมใดเป็นอกุสล เกิดมาจากอกุสล หรือ เนื่องด้วยอกุสล ธรรมนั้น ๆ เป็นอนิฏฐารมณ์

          แม้กระนั้นก็ยังไม่เป็นการตายตัว เช่น สุนัขเน่า ตามสภาพก็เป็นอนิฏฐารมณ์ เพราะดูก็น่าเกลียด กลิ่นก็น่าชัง แต่ว่าเป็นที่ชอบใจ และเป็นอาหารอันโอชาของ กาและแร้ง ก็ถือว่าเป็นอิฏฐารมณ์ของกาของแร้ง และเรียกว่าเป็น ปริกัปปอิฏฐา รมณ์ (ปริกัปป แปลว่า กำหนดว่า หรือสำคัญว่า) เพราะแร้งและกากำหนดว่า หรือสำคัญว่า สุนัขเน่านั้นเป็นของดีของมัน

          ในทางตรงกันข้าม ทุเรียน ใคร ๆ ก็ชอบกลิ่นและชอบกิน แต่ว่าบางคน ไม่ชอบก็มี ดังนั้นทุเรียนก็เป็นปริกัปปอนิฏฐารมณ์ของผู้นั้น เพราะผู้นั้นกำหนดว่า สำคัญว่า ทุเรียนเป็นของไม่ดีสำหรับเขาโดยเฉพาะ

          ในการที่จะตัดสินว่า ธรรมใดเป็นอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์นี้ มีทางพิจารณา ได้หลายแง่หลายมุม ท่านอรรถกถาจารย์และฎีกาจารย์ จึงได้แสดงแนวทางในการ พิจารณาในเรื่องนี้ไว้ ๕ ประการ คือ

                    . พิจารณาโดย วิบากจิต

                    . พิจารณาโดย มัชฌัตตบุคคล

                    . พิจารณาโดย ทวาร

                    . พิจารณาโดย อารมณ์

                    . พิจารณาโดย กาละ



จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...