ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 ค้นหาหัวข้อธรรม
หมวดที่
๑ เวทนาสังคหะ
เวทนา เป็นเจตสิกธรรม
ที่ทำหน้าที่เสวยอารมณ์
หรือมีความรู้สึกในอารมณ์
ที่มาปรากฏนั้น จัดแบ่งได้เป็น ๒
ประเภท คือ
ก.
จัดตามลักษณะของการเสวยอารมณ์
คือ จัดตามความรู้สึก
มีชื่อเรียกว่า อารัมมณานุภวนนัย
หรือ อารัมมณานุภวนลักขณนัย
ตามนัยดังกล่าวนี้ จำแนก
เวทนาออกเป็น ๓ คือ
๑. สุขเวทนา
การเสวยอารมณ์เป็นสุข (หมายถึงความสุขกายและสุขใจ)
๒. ทุกขเวทนา
การเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ (หมายถึง
ความทุกข์กาย และความทุกข์ใจ)
๓. อทุกขมสุขเวทนา
การเสวยอารมณ์เป็นกลาง คือ ไม่สุข
ไม่ทุกข์ ได้แก่เฉย ๆ (หมายถึงไม่ทุกข์และไม่สุข
ก็คือ อุเบกขานั่นเอง)
ข.
จัดตามประเภทแห่งความเป็นใหญ่ในการเสวยอารมณ์
มีชื่อเรียกว่าอินทริย
เภทนัย
ตามนัยนี้จำแนกเวทนาออกเป็น ๕ คือ
๑. สุขเวทนา
รู้สึกสบายกาย
หมายเฉพาะความสุขกาย
๒. ทุกขเวทนา
รู้สึกไม่สบายกาย
หมายเฉพาะความทุกข์กาย
๓. โสมนัสเวทนา
รู้สึกสบายใจ
หมายเฉพาะความสุขใจ ดีใจ
๔. โทมนัสเวทนา
รู้สึกไม่สบายใจ
หมายเฉพาะความทุกข์ใจ เสียใจ
๕. อุเบกขาเวทนา
รู้สึกเฉย ๆ
หมายถึงความไม่ทุกข์ไม่สุข
เป็นกลาง ๆ
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ