ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 ค้นหาหัวข้อธรรม
หมวดที่
๔ ทวารสังคหะ
ทวารสังคหะ
เป็นการรวบรวมแสดงเรื่องทวาร ทวาร
แปลว่า ประตู
คือ ทางเข้าออก
ในที่นี้หมายถึง ทางที่จิตเจตสิกได้รับอารมณ์
หรือจิตเจตสิกได้รับ อารมณ์ทางนั้น
ประตูนั้น
ทวารนั้น
เช่น
จิตเจตสิกได้รับอารมณ์ทางตา
ทางจักขุ ทวาร, ทางหู
ทางโสตทวาร, ทางจมูก
ฆานทวาร, ทางลิ้น
ชิวหาทวาร เป็นต้น
จิตอาศัยทวารเดียวก็มี
อาศัย ๕ ทวารก็มี อาศัย ๖ ทวารก็มี
บางทีอาศัย ทวารทั้ง ๖ บ้าง
ไม่อาศัยบ้างก็มีและที่ไม่อาศัยเลยทั้ง
๖ ทวารก็มี มีอยู่ทุกประการ
อธิบาย
ที่ว่ามีอยู่ทุกประการนั้น
รวมมีอยู่ด้วยกัน ๕ ประการ คือ
๑.
จิตที่อาศัยเกิดได้ทาง ทวารเดียว เรียกว่า เอกทวาริกจิต
๒.
จิตที่อาศัยเกิดได้ทาง ทวารทั้ง
๕
เรียกว่า ปัญจทวาริกจิต
๓.
จิตที่อาศัยเกิดได้ทาง ทวารทั้ง
๖
เรียกว่า ฉทวาริกจิต
๔.
จิตที่อาศัยเกิดได้ทาง ทวารทั้ง
๖ บ้าง
แต่บางทีก็เกิดพ้นทวาร คือไม่ต้อง
อาศัยทวารบ้าง
เรียก ฉทวาริก
วิมุตตจิต
๕.
จิตที่เกิด พ้นทวารแน่นอน
คือ
จิตนั้นเกิดโดยไม่ต้องอาศัยทวารทั้ง
๖ เลยทีเดียว เรียกว่า ทวารวิมุตตจิต
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ