ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 ค้นหาหัวข้อธรรม
เจตสิก
กับ ทวาร
๑.
วิรตีเจตสิก ๓ ดวง
เมื่อประกอบกับโลกุตตรจิต
ย่อมเกิดเฉพาะทางมโน
ทวารทางเดียว
๒.
อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวง
ที่ประกอบกับมหัคคตจิต
ก็ย่อมเกิดเฉพาะทาง มโนทวาร
ทางเดียวเหมือนกัน
๓.
เจตสิกทั้ง ๕๒ ดวง
ที่ประกอบกับจิต ๘๐ ดวง (เว้นมหัคคตวิบากจิต
๙) เกิดได้ในทวารทั้ง ๖
ทั้งที่แน่นอน(เอกันตะ)
และไม่แน่นอน (อเนกันตะ) ด้วย
๔.
เจตสิก ๓๕ ดวง คือ
อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๒
ดวง (เว้นวิรตี ๓)
ที่ประกอบกับมหัคคตวิบากจิตนั้น
เป็นเจตสิกที่พ้นทวาร
ที่กล่าวมาสั้น
ๆ เพียงเท่านี้
ก็เพราะมีหลักอันเป็นข้อกำหนดที่ควรจะทราบอยู่
ว่า เจตสิกประกอบกับจิตใด
ก็มีฐานะเช่นเดียวกับจิตนั้น
ดังนั้น จิตอาศัยทวารใด
เป็นทางเกิด
เจตสิกที่ประกอบกับจิตนั้น
ก็อาศัยทวารนั้นเป็นทางเกิดเช่นเดียวกัน
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ