ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

กราบขอบคุณ รูปภาพจากเว็บทัวร์ไทย www.tourthai.com ขอให้เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไปเทอญ...

อารมณ์ ๖ จำแนกเป็น ๔ นัย

     อารมณ์ทั้ง ๖ คือ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และ ธัมมารมณ์ นี้ จำแนกได้เป็น ๔ นัย คือ

             ๑. กามอารมณ์               ๓. บัญญัติอารมณ์

             ๒. มหัคคตอารมณ์                   ๔. โลกุตตรอารมณ์

     นัยที่ ๑ กามอารมณ์ บ้างก็เรียก กามารมณ์ องค์ธรรม ได้แก่ กามจิต ๕๔, เจตสิก ๕๒, รูป ๒๘ หมายความว่า เมื่อจิตยึดหน่วงเอากามจิต ๕๔ ดวงนั้น ดวงใดดวงหนึ่งเป็นอารมณ์ก็ดี หรือยึดหน่วงเอารูป ๒๘ นั้นรูปใดรูปหนึ่งเป็น อารมณ์ก็ดี ก็ได้ชื่อว่า จิตนั้นยึดหน่วงกามอารมณ์ หรือมีอารมณ์เป็น กามธรรม

     นัยที่ ๒ มหัคคตอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ มหัคคตจิต ๒๗ เจตสิก ๓๕ หมายความว่า เมื่อจิตยึดหน่วงเอามหัคคตจิต ๒๗ นั้นดวงใดดวงหนึ่งเป็นอารมณ์ ก็ได้ชื่อว่าจิตนั้นยึดหน่วงมหัคคตอารมณ์ หรือมีอารมณ์เป็นมหัคคตธรรม

     กามอารมณ์ มหัคคตอารมณ เป็น โลกียอารมณ์ เพราะองค์ธรรมของ อารมณ์ทั้ง ๒ นี้ เป็นโลกียธรรมทั้งนั้น เมื่อจิตยึดหน่วงเอาโลกียธรรมเป็นอารมณ์ ก็ได้ชื่อ ว่าจิตนั้นมีอารมณ์เป็นโลกีย

     นัยที่ ๓ บัญญัติอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่  บัญญัติธรรม ๒ ประการ คือ อัตถบัญญัติ และ สัททบัญญัติ

กราบขอบคุณ รูปภาพจากเว็บทัวร์ไทย www.tourthai.com ขอให้เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไปเทอญ...     อัตถบัญญัต ได้แก่ การสมมติขึ้นเพื่อให้รู้เนื้อความ หรือความหมายแห่ง รูปร่าง สัณฐาน หรือลักษณะอาการของชื่อนั้น ๆ เช่น ภูเขา ต้นไม้ บ้านเรือน เดิน วิ่ง เป็นต้น

     สัททบัญญัติ ได้แก่ รู้จักเสียงที่เรียกชื่อนั้น ๆ คือ รู้ด้วยเสียงที่หมายถึง อัตถบัญญัตินั้น ๆ เช่น ในขณะที่ไม่ได้เห็นภูเขา ไม่ได้เห็นต้นไม้ แต่เมื่ออกเสียง พูดว่าภูเขา พูดว่าต้นไม้ ก็รู้และเข้าใจได้ว่า ภูเขา ต้นไม้ มีรูปร่างสัณฐานเป็น อย่างนั้น ๆ  หรือไม่ได้เห็นขณะที่เดิน ขณะที่วิ่ง แต่เมื่ออกเสียงพูดว่า เดิน วิ่ง ก็รู้และเข้าใจได้ว่า เดิน วิ่ง มีอาการอย่างนั้น ๆ เช่นนี้เป็นต้น

     เมื่อจิตยึดหน่วงเอาบัญญัติอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ ก็ได้ชื่อว่าจิตนั้นยึด หน่วงบัญญัติเป็นอารมณ์ หรือมีอารมณ์เป็นบัญญัติธรรม

     นัยที่ ๔ โลกุตตรอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ มัคคจิต ๔ ผลจิต ๔ และ เจตสิก ๓๖ และ นิพพาน เมื่อจิตยึดหน่วงเอามัคคจิตดวงใดดวงหนึ่งเป็นอารมณ์ก็ดี ยึด หน่วงเอาผลจิตดวงใดดวงหนึ่งเป็นอารมณ์ก็ดี ยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์ก็ดี ก็ได้ชื่อว่า จิตนั้นยึดหน่วงโลกุตตรอารมณ์ หรือมีอารมณ์เป็น โลกุตตรธรรม



จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...