ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

กราบขอบคุณ รูปภาพจากเว็บทัวร์ไทย www.tourthai.com ขอให้เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไปเทอญ...

กาลวิมุตตอารมณ์

     ทั้ง ๔ ข้อที่กล่าวมาแล้วนี้ จะเห็นได้ว่า ข้อ ๑ มีกามอารมณ์ทั้งที่เป็นปัจจุบัน อดีต อนาคต ได้ คือ มีกามอารมณ์ในกาลทั้ง ๓ ได้

     ข้อ ๒ มีมหัคคตอารมณ์เฉพาะที่เป็นอดีตแต่อย่างเดียว จะมีมหัคคตธรรมที่ เป็นปัจจุบันหรืออนาคตเป็นอารมณ์หาได้ไม่

     ส่วนข้อ ๓ มีบัญญัติเป็นอารมณ์ และข้อ ๔ มีนิพพานเป็นอารมณ์นั้น ไม่ได้ แสดงว่า บัญญัติ หรือ นิพพาน นั้นเป็น ปัจจุบัน หรืออดีต อนาคต แต่อย่างใดเลย ทั้งนี้เพราะบัญญัติและนิพพานเป็นธรรมที่ไม่มีกาลทั้ง ๓ พ้นจาก กาลทั้ง ๓ อัน เรียกว่า กาลวิมุตต

     ธรรมที่มีกาลทั้ง ๓ คือ ปัจจุบัน อดีต อนาคต ได้นั้น ต้องเป็นธรรมที่ไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงได้ กล่าวคือ มีการเกิดขึ้น มีการดำรงคงอยู่ แล้วก็ มีการดับไป ธรรมใดที่ดับไปแล้วนั้นเป็นอดีต คือล่วงเลยไปแล้ว, ธรรมใดที่ยังดำรงคงอยู่นั้น เป็นปัจจุบัน คือกำลังมีอยู่ และธรรมใดที่จะเกิดขึ้นอีกต่อไปนั้นเป็นอนาคต คือจะมี มาในภายหน้า

     บัญญัติธรรม เป็นธรรมที่ไม่มีสภาวะ จึงไม่มีสภาพที่จะมีความเปลี่ยนแปลง แปรผัน เพราะไม่มีความเที่ยงหรือไม่เที่ยง ทั้งไม่มีการเกิดการดับ อันเป็น สัญญลักษณ์แห่งการเปลี่ยนแปร และแห่งความไม่เที่ยงนั้นด้วย จึงไม่เข้าอยู่ในกาล ทั้ง ๓ เพราะไม่มีอดีต ปัจจุบัน และอนาคต บัญญัติจึงเป็นกาลวิมุตต คือพ้นจาก กาลทั้ง ๓ ไม่มีกาลทั้ง ๓

     นิพพาน เป็นธรรมที่มีสภาวะ มีสภาพเป็นของเที่ยงถาวร ไม่มีความ เปลี่ยนแปลงแปรผัน เป็นไม่เที่ยง และไม่มีการเกิดดับเพราะเป็นสิ่งที่เที่ยงอยู่เสมอ จึงไม่เข้าอยู่ในกาลทั้ง ๓ เพราะไม่มี อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต ดังนั้น นิพพานจึงเป็นกาลวิมุตต คือ พ้นจากกาลทั้ง ๓ ไม่มีกาลทั้ง ๓

     รวมความว่า ธรรมที่เป็นกาลวิมุตต หรืออารมณ์ที่เป็นกาลวิมุตตนั้น มีเพียง ๑ คือ บัญญัติ และ นิพพาน

จำนวนจิตที่กล่าวแล้วทั้ง ๔ ข้อ รวมได้ ๖๐ ดวง คือ

                  จิตที่รับ   กามอารมณ์          ได้นั้นมี      ๒๕  ดวง

                  จิตที่รับ    มหัคคตอารมณ์      ได้นั้นมี          ดวง

                  จิตที่รับ   บัญญัติอารมณ์       ได้นั้นมี      ๒๑  ดวง

                  จิตที่รับ   นิพพานอารมณ์       ได้นั้นมี          ดวง

     ล้วนแต่เป็นจิตที่มีอารมณ์ดังกล่าวแล้วนั้นแน่นอน อย่างที่เรียกว่าเป็น เอกันตะ

     จิตทั้งหมด ๘๙ ดวง มีอารมณ์ที่แน่นอนดังกล่าวแล้ว ๖๐ ดวง คงเหลืออีก ๒๙ ดวง เป็นจิตที่มีอารมณ์ได้หลายอย่างทั่ว ๆ ไป ที่เรียกว่า สัพพารมณ์



จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...