ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

กราบขอบคุณ รูปภาพจากเว็บทัวร์ไทย www.tourthai.com ขอให้เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไปเทอญ...

อธิบาย

     ๑. อเหตุกจิต ๑๘ ดวง มีเจตสิกประกอบได้อย่างมากที่สุด ๑๒ ดวง คืออัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นฉันทเจตสิก) อันได้แก่ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย มนสิการ วิตก วิจาร อธิโมกข วิริยะ และปิติ ใน บรรดาเจตสิกทั้ง ๑๒ ดวงนี้ ม่มี โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก และปัญญาเจตสิก อันเป็นตัวเหตุทั้ง ๖ ประกอบร่วมอยู่ด้วยเลยแม้แต่ เหตุเดียว ดังนั้นเจตสิกทั้ง ๑๒ ดวงนี้ จึงได้ชื่อว่าเจตสิกที่ไม่มีเหตุตรงตามข้อ ๑ ก.

     ๒.  โมหมูลจิต ๒ ดวง มีเจตสิกประกอบได้ คือ    อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นปีติเจตสิก ฉันทเจตสิก)โมจตุกเจตสิก ๔ วิจิกิจฉาเจตสิก ๑ รวมเป็น ๑๖ ดวง ได้แก่ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย มนสิการ วิตก วิจาร อธิโมกข วิริยะ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ และวิจิกิจฉา ในบรรดา เจตสิกทั้ง ๑๖ ดวงนี้ มีโมหเจตสิก อันเป็นตัวเหตุอยู่เพียง ๑ เหตุเท่านั้น เจตสิกอีก ๑๕ ดวง นั้น ไม่มีเจตสิกอันเป็นตัวเหตุอีกเลย ดังนั้นจึงไได้ชื่อว่า โมหเจตสิก ที่ใน โมหมูลจิต ๒ ดวงนี้ เป็นเจตสิกที่ไม่มีเหตุ ตรงตามข้อ ๑ ข. เพราะโมหเจตสิก ในที่นี้ แม้ตัวเองจะเป็นตัวเหตุก็จริง แต่ไม่มีเหตุอื่นมาประกอบร่วมอีกด้วยเลย

     ๓. โมหมูลจิต ๒ ดวง มี เจตสิกประกอบได้ ๑๖ ดวง ดังที่ได้กล่าวแล้วใน ข้อ ๒ ข้างบนนี้นั้น ในจำนวนเจตสิก ๑๖ ดวง มีโมหเจตสิกอันเป็นตัวโมหเหตุ ๑ และเจตสิกอื่น ๆ อีก ๑๕ ดวง เฉพาะเจตสิก ๑๕ ดวงนี้ เกิดร่วมกับโมหเจตสิกอัน เป็นโมหเหตุ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเจตสิก ๑๕ ดวงนี้เป็นเจตสิกที่มีเหตุ คือ โมหเหตุ เหตุเดียวตรงตามข้อ ๒ก.เพราะเจตสิก ๑๕ดวงนี้มีโมหเหตุเกิดมาร่วมประกอบด้วย

     ๔. โลภมูลจิต ๘ ดวง มีเจตสิกที่ประกอบได้ คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โมจตุกเจตสิก ๔ โลติกเจตสิก ๓ และถีทุกเจตสิก ๒ รวม ๒๒ ดวง อันได้แก่ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย มนสิการ วิตก วิจาร อธิโมกข วิริยะ ปีติ ฉันทะ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ โลภะ ทิฏฐิ มานะ ถีนะ และมิทธะ ในบรรดาเจตสิกทั้ง ๒๒ ดวงนี้ มีโลภเจตสิก อันเป็นโลภเหตุ ๑ มีโมห เจตสิกอันเป็นโมหเหตุ ๑ ร่วมอยู่ด้วยกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า โลภเจตสิกมีเหตุ ๑ คือมีโมหเหตุเกิดร่วมด้วย และโดยทำนองเดียวกัน โมหเจตสิกในที่นี้ก็มีเหตุ ๑ คือมี โลภเหตุเกิดร่วมด้วย

     โทสมูลจิต ๒ ดวง มีเจตสิกที่ประกอบได้ คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้น ปีติเจตสิก) โมจตุกเจตสิก ๔ โทจตุกเจตสิก ๔ และถีทุกเจตสิก ๒ รวม ๒๒ ดวง อันได้แก่ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย มนสิการ วิตก วิจาร อธิโมกข วิริยะ ฉันทะ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ โทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ ถีนะ และ มิทธะ ในบรรดาเจตสิกทั้ง ๒๒ ดวงนี้ มีโทสเจตสิกอันเป็น โทสเหตุ ๑ มีโมหเจตสิกอันเป็นโมหเหตุ ๑ เกิดร่วมอยู่ด้วยกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า โทสเจตสิกมีเหตุ ๑ คือมีโมหเหตุเกิดร่วมด้วย  และโดยทำนองเดียวกัน โมหเจตสิก ในที่นี้ (คือในโทสมูลจิตนี้) ก็มีเหตุ ๑ คือมีโทสเหตุเกิดร่วมด้วย

     รวมความในข้อ ๔ นี้คงได้ความว่า โลภเจตสิกก็ดี โทสเจตสิกก็ดี โมหเจตสิก ที่ในโลภมูลจิตก็ดี และโมหเจตสิกที่ในโทสมูลจิตก็ดี ต่างก็มีเหตุเดียวเท่านั้น ตรง ตามข้อ ๒ ข.

     ๕. กามาวจรโสภณจิตญาณวิปปยุตต ๑๒ มีเจตสิก ประกอบ ๓๗ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๔ (เว้นปัญญาเจตสิก) ในจำนวนเจตสิก ๓๗ ดวงนี้ มี อโลภเจตสิก ๑ อโทสเจตสิก ๑ และเจตสิกอื่น ๆ อีก ๓๕ ดวง เพราะว่า อโลภเจตสิกเกิดร่วมกับอโทสเจตสิกซึ่งต่างก็เป็นตัวเหตุด้วยกันทั้งคู่ และ ต่างก็เป็นเหตุให้แก่กันและกัน ดังนั้นในที่นี้ อโลภเจตสิก ก็มีเหตุ ๑ คือ อโทสเหตุ และ อโทสเจตสิก ก็มีเหตุ ๑ คือ อโลภเหตุ ตรงตามข้อ ๒ ค.

     ๖. ทวิเหตุกจิต ๒๒ นั้นได้แก่ โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ กามาวจรโสภณ ญาณวิปปยุตตจิต ๑๒

     โลภมูลจิต ๘ มีเจตสิกประกอบ ๒๒ ดวง คือ โลภเจตสิก ๑ โมหเจตสิก ๑ และเจตสิกอื่น ๆ อีก ๒๐ ดวง เจตสิกอื่น ๆ (เว้นโลภะ โมหะ) ๒๐ ดวงนี้เกิด ร่วมกับโลภเจตสิก โมหเจตสิก ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า เจตสิก ๒๐ ดวงนี้ มี ๒ เหตุ คือ โลภเหตุกับโมหเหตุ

     โทสมูลจิต ๒ มีเจตสิกประกอบ ๒๒ ดวง คือ โทสเจตสิก ๑ โมหเจตสิก ๑ และเจตสิกอื่น ๆ อีก ๒๐ ดวง เจตสิกอื่น ๆ (เว้นโทสะ โมหะ) ๒๐ ดวงนี้เกิด ร่วมกับโทสเจตสิก โมหเจตสิก ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า เจตสิก ๒๐ ดวงนี้มี ๒ เหตุ คือ โทสเหตุกับโมหเหตุ

     กามาวจรโสภณญาณวิปปยุตตจิต ๑๒ มีเจตสิกประกอบ ๓๗ ดวง คือ อโลภเจตสิก ๑ อโทสเจตสิก ๑ และเจตสิกอื่น ๆ อีก ๓๕ ดวง เจตสิกอื่น ๆ (ที่ เว้น อโลภะ อโทสะ แล้ว) ๓๕ ดวงนี้ เกิดร่วมกับ อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า เจตสิก ๓๕ ดวงนี้มี ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ และอโทสเหตุ

     เมื่อรวมเจตสิกที่ประกอบกับทวิเหตุกจิต ๒๒ ดวง ที่กล่าวในข้อ ๖ นี้เข้าด้วย กันทั้งหมดแล้วหัก โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ เจตสิกที่เป็นตัวเหตุออก และหักเจตสิกที่ซ้ำกันออกเสียอีกด้วยแล้ว จะได้เจตสิก ๔๕ ดวง ในเจตสิก ๔๕ ดวงนี้แหละที่ได้ชื่อว่า มี ๒ เหตุ คือ

เจตสิกที่ไม่ใช่เหตุ ซึ่งประกอบกับโลภมูลจิตนั้น มี ๒ เหตุ คือ โลภเหตุกับโมหเหตุ

เจตสิกที่ไม่ใช่เหตุ ซึ่งประกอบกับโทสมูลจิตนั้น มี ๒ เหตุ คือ โทสเหตุกับโมหเหตุ

เจตสิกที่ไม่ใช่เหตุซึ่งประกอบกับกามจิตวิปปยุตตนั้น มี ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุกับอโทสเหตุ เป็นอันว่าตรงกับข้อ ๓ ก.

     ๗. จิตที่เป็นญาณสัมปยุตต ๔๗ หรือ ๗๙ ดวง จะต้องมี อโลภเจตสิก อโทสเจตสิกกราบขอบคุณ รูปภาพจากเว็บทัวร์ไทย www.tourthai.com ขอให้เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไปเทอญ... ปัญญาเจตสิก ประกอบ เจตสิก ๓ ดวงนี้ ก็คือเหตุทั้ง ๓ นั่นเอง เหตุทั้ง ๓ ที่เกิดร่วมกัน เกิดพร้อมกันนี้ ต่างก็เป็นเหตุให้แก่กันและกัน คือ

อโลภเจตสิก ก็มี อโทสเหตุ กับ อโมหเหตุ เป็นเหตุรวม ๒ เหตุ

อโทสเจตสิก ก็มี อโลภเหตุ กับ อโมหเหตุ เป็นเหตุรวม ๒ เหตุ

ปัญญาเจตสิก ก็มี อโลภเหตุ กับ อโทสเหตุ เป็นเหตุรวม ๒ เหตุ

     ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก รวมเจตสิก ๓ ดวงนี้ แต่ละดวงก็เป็นเจตสิกที่มี ๒ เหตุ ตรงตามข้อ ๓ ข.

     ๘. จิตที่เป็นไตรเหต หรือ ติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๓๘ ดวง คือ อโลภเจตสิก ๑ อโทสเจตสิก ๑ ปัญญาเจตสิก ๑ และเจตสิกอื่น ๆ อีก ๓๕ ดวง เพราะเจตสิก ๓๕ ดวงนี้เกิดร่วมพร้อมกับอโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก อันเป็นตัวเหตุทั้ง ๓ นั่นเอง จึงได้ชื่อว่า เจตสิก ๓๕ (เว้น อโลภะ อโทสะ ปัญญา) ประกอบกับติเหตุกจิตนั้นเป็นเจตสิกที่มี ๓ เหตุ ตรงตามข้อ ๔

     ที่กล่าวมาตอนนี้ เป็นการแสดงตามนัย นับแล้วนับอีก ที่ชื่อ คหิตัคคหณนัย ซึ่งคงจะเห็นแล้วว่า เจตสิก ดวงใดที่ได้ยกเป็นหัวข้อขึ้นกล่าวแล้ว อ้างแล้วเช่น อัญญสมานาเจตสิก โมหเจตสิก เป็นต้น ในข้อต่อมาก็ยังยกมาแสดง ยกมากล่าว อ้างซ้ำอีก ดังนี้ จึงได้ชื่อว่า นับแล้วนับอีก



จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...