ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

กราบขอบคุณ รูปภาพจากเว็บทัวร์ไทย www.tourthai.com ขอให้เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไปเทอญ...

ฐานของกิจอย่างพิสดาร ๒๕ ฐาน

       ได้แสดงมาแล้วว่า สถานที่ทำกิจของจิตนั้นได้ชื่อว่า ฐาน คือจิตทำปฏิสนธิกิจ ก็ทำที่ ปฏิสนธิฐาน เป็นต้น ไปถึงจิตที่ทำจุติกิจ ก็ทำที่ จุติฐาน เป็นที่สุด ซึ่งชื่อ ของกิจและชื่อของฐานนั้นก็ตรงกันเหมือนกัน เว้นแต่ ทัสสนกิจ สวนกิจ ฆายนกิจ สายนกิจ และผุสนกิจ รวม ๕ กิจนี้เท่านั้น ที่ทำกิจที่ปัญจวิญญาณฐาน ซึ่งชื่อของ กิจและชื่อของฐานไม่เหมือนกัน แต่ถ้าเรียกชื่อจิตที่ทำ ๕ กิจนั้นว่าปัญจวิญญาณจิต ทำกิจที่ ปัญจวิญญาณฐาน ชื่อของจิตกับชื่อของฐานก็เหมือนกันอีก

       ส่วนฐานของจิตอย่างพิสดารนี้เป็น ๒๕ ฐาน มุ่งหมายที่จะแสดงให้ทราบอีก นัยหนึ่งว่า ปฏิสนธิฐานนี้มีฐานอะไรเกิดมาก่อน จึงเกิดปฏิสนธิฐาน และเมื่อ ปฏิสนธิฐานผ่านพ้นไปแล้ว มีฐานอะไรเกิดติดตามมา หรือจิตที่ทำปฏิสนธิกิจนั้น มี จิตทำกิจอะไรเกิดมาก่อน จึงเกิดจิตที่ทำปฏิสนธิกิจขึ้น และเมื่อจิตที่ทำปฏิสนธิกิจ ดับไปแล้ว มีจิตทำกิจอะไรเกิดตามติดมาเป็นลำดับ อันเป็นการแสดงฐานตามนัย แห่งวิถีจิต หรือแสดงฐานโดยอาศัยวิถีจิตเป็นหลักฐานจึงมากขึ้นเป็น ๒๕ ฐาน

       ฐานของกิจอย่างพิสดาร คือ ปฏิสนธิ มี ๑ ฐาน ภวังค มี ๖ ฐาน อาวัชชนะ มี ๒ ฐาน ปัญจวิญญาณ หมายถึง ปัญจวิญญาณ ๑ ฐาน สัมปฏิจฉันนะ ๑ ฐาน สันตีรณะ ๑ ฐาน โวฏฐัพพนะ ๒ ฐาน ชวน ๖ ฐาน ตทาลัมพนะ ๒ ฐาน และ จุติ ๓ ฐาน จึงรวมเป็น ๒๕ ฐาน ด้วยกัน มีรายละเอียดดังนี้

       ๑. ปฏิสนธิ      มี ๑ ฐาน คือ     ระหว่าง จุติ กับ ภวังค

       ๒. ภวังค        มี ๖ ฐาน คือ       (๑) ระหว่าง ปฏิสนธิ          กับ อาวัชชนะ

                                           (๒) ระหว่าง ตทาลัมพนะ กับ อาวัชชนะ

                                           (๓) ระหว่าง ชวนะ            กับ อาวัชชนะ

                                           (๔) ระหว่าง โวฏฐัพพนะ      กับ อาวัชชนะ

                                           (๕) ระหว่าง ตทาลัมพนะ กับ จุติ

                                           (๖) ระหว่าง ชวนะ            กับ จุติ

       ๓. อาวัชชนะ มี ๒ ฐาน คือ (๑) ระหว่าง ภวังค กับ ปัญจวิญญาณ

                                           (๒) ระหว่าง ภวังค      กับ ชวนะ

       ๔. ปัญจวิญญาณ มี ๑ ฐาน คือ ระหว่าง อาวัชชนะ           กับ สัมปฏิจฉันนะ

       ๕. สัมปฏิจฉันนะ มี ๑ ฐาน คือ ระหว่าง ปัญจวิญญาณ          กับ สันตีรณะ

       ๖. สันตีรณะ มี ๑ ฐาน     คือ   ระหว่าง สัมปฏิจฉันนะ        กับ โวฏฐัพพนะ

       ๗. โวฏฐัพพนะ มี ๒ ฐาน คือ      (๑) ระหว่าง สันตีรณะ       กับ ชวนะ

                                           (๒) ระหว่าง สันตีรณะ       กับ ภวังค

       ๘. ชวนะ มี ๖ ฐาน         คือ    (๑) ระหว่าง อาวัชชนะ        กับ ตทาลัมพนะ

                                          (๒) ระหว่าง อาวัชชนะ        กับ ภวังค

                                          (๓) ระหว่าง อาวัชชนะ        กับ จุติ

                                          (๔) ระหว่าง โวฏฐัพพนะ      กับ ตทาลัมพนะ

                                          (๕) ระหว่าง โวฏฐัพพนะ      กับ ภวังค

                                          (๖) ระหว่าง โวฏฐัพพนะ      กับ จุติ

       ๙. ตทาลัมพนะ มี ๒ ฐาน คือ     (๑) ระหว่าง ชวนะ            กับ ภวังค

                                          (๒) ระหว่าง ชวนะ            กับ จุติ

     ๑๐. จุติ มี ๓ ฐาน คือ         (๑) ระหว่าง ตทาลัมพนะ            กับ ปฏิสนธิ

                                          (๒) ระหว่าง ชวนะ            กับ ปฏิสนธิ

                                          (๓) ระหว่าง ภวังค            กับ ปฏิสนธิ

     ฐานพิสดาร ๒๕ ฐาน นี้ เมื่อได้ศึกษาถึงวิถีจิต ซึ่งเป็นปริจเฉทที่ ๔ แล้ว จะเข้าใจได้ดีขึ้น



จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...