ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88
ค้นหาหัวข้อธรรม
อธิบาย
ในข้อ
๑ โลภเจตสิก
จะต้องเกิดพร้อมกับโมหะอย่างแน่นอน
จะเกิดแต่ลำพัง
โดยไม่มีโมหะไม่ได้
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า
โลภเจตสิก มีเหตุเดียว คือ
โมหเหตุ
โทสเจตสิกก็ดี วิจิกิจฉาเจตสิกก็ดี
ก็จะต้องเกิดกับโมหะเช่นเดียวกัน
ดังนั้น โทสเจตสิก
จึงมีเหตุเดียว คือ โมหเหตุ
และวิจิกิจฉาเจตสิก
ก็มีเหตุเดียว คือ โมหเหตุ
ในข้อ
๒ โมหเจตสิก
เป็นเจตสิกที่มี ๒ เหตุ
เพราะว่าโมหเจตสิกที่เกิดพร้อม
กับโลภะก็มีโลภเหตุเป็นเหตุ
เมื่อโมหเจตสิกเกิดพร้อมกับโทสะ
ก็มีโทสะเหตุเป็น เหตุ
รวมความว่า โมหเจตสิก
มีโลภเหตุเป็นเหตุก็ได้
มีโทสเหตุเป็นเหตุก็ได้
ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า โมหเจตสิก
มี ๒ เหตุ
ทิฏฐิเจตสิก
กับ มานเจตสิก
รวม ๒
ดวงนี้จะต้องเกิดพร้อมกับโลภะ
โลภะ ก็ต้องเกิดพร้อมกับโมหะ
เป็นอันว่าทิฏฐิเจตสิกก็ดี
มานเจตสิกก็ดี แต่ละดวงต่างก็
จะต้องเกิดพร้อมกับโลภะและโมหะ
ดังนั้น ทิฏฐิ มานะ
เป็นเจตสิกที่มี ๒ เหตุ คือ
มีโลภเหตุ
โมหเหตุเป็นเหตุร่วมพร้อมกัน
อิสสาเจตสิก
มัจฉริยเจตสิก กุกกุจจเจตสิก
รวม ๓ ดวงนี้ แต่ละดวงที่เกิด
จะต้องเกิดร่วมกับโทสะและโมหะด้วยพร้อมกัน
ดังนั้น เจตสิกทั้ง ๓ ดวงนี้
แต่ละ ดวงมี ๒ เหตุ คือ โทสเหตุ
โมหเหตุ เป็นเหตุร่วมพร้อมกัน
อโลภเจตสิก
อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก
ที่ประกอบพร้อมกันในจิตดวง
ใด เจตสิก ๓
ดวงนี้ต่างก็เป็นเหตุซึ่งกันและกัน
คือ
อโลภเจตสิก ก็มี อโทสเหตุ
และ อโมหเหตุ รวมมี
๒ เหตุ
อโทสเจตสิก ก็มี อโลภเหตุ
และ อโมหเหตุ รวมมี
๒ เหตุ
ปัญญาเจตสิก
ก็มี อโลภเหตุ และ
อโทสเหตุ รวมมี
๒ เหตุ
ในข้อ
๓ อหิริกเจตสิก
อโนตตัปปเจตสิก อุทธัจจเจตสิก
รวมเจตสิกทั้ง ๓
ดวงนี้อยู่ในประเภทโมจตุกเจตสิก
ซึ่งประกอบกับอกุสลจิตได้ทุก ๆ
ดวงทั้ง ๑๒ ดวง
อกุสลจิตทั้งหมดนั้นมี ๓ เหตุ คือ
โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ
ดังนั้นเจตสิก ทั้ง ๓
ดวงที่กล่าวนี้จึงสามารถเกิดกับเหตุทั้ง
๓ นั้นได้
จึงได้ชื่อว่าเป็นเจตสิกที่มี ๓
เหตุ
ถีนเจตสิก
มิทธเจตสิก ๒
ดวงนี้ ประกอบกับโลภมูลจิตก็ได้
ประกอบกับ โทสมูลจิตก็ได้
โลภมูลจิตมีโลภเหตุกับโมหเหตุ
โทสมูลจิตมีโทสเหตุกับโมหเหตุ
รวมจิต ๒ ประเภทนี้มี ๓ เหตุ คือ
โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ ดังนั้น
ถีนะ มิทธะ ซึ่งประกอบกับจิต ๒
ประเภทนี้ได้ จึงได้ชื่อว่า
เป็นเจตสิกที่มี ๓ เหตุ คือ
โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ
โสภณเจตสิก
๒๒
(เว้นอโลภเจตสิก อโทสเจตสิก
ปัญญาเจตสิก ซึ่งเป็น ต้นเหตุ
และได้กล่าวในข้อ ๒ แล้ว)
เป็นเจตสิกที่สามารถเกิดพร้อมกับอโลภเจตสิก
อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิกได้
จึงกล่าวว่า โสภณเจตสิก ๒๒
ดวงนี้มี ๓ เหตุ
ในข้อ
๔ ปีติเจตสิก
ดวงเดียว เป็นเจตสิกที่มี ๕ เหตุ
คือ เมื่อเกิดพร้อมกับ
โลภโสมนัสก็มี โลภเหตุ โมหเหตุ
เมื่อเกิดกับโสมนัสญาณสัมปยุตต
ก็มี อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
จึงรวมเป็น ๕ เหตุ
เว้นโทสเหตุอย่างเดียว
เพราะโทสมูลจิต นั้นไม่มีปิติ
มีแต่โทมนัส
ในข้อ
๕ อัญญสมานาเจตสิก
๑๒
(เว้นปีติเจตสิก)
เป็นเจตสิกที่มีเหตุทั้ง ๖
ครบบริบูรณ์
เพราะอัญญสมานาเจตสิก ๑๒ ดวงนี้
เกิดพร้อมกับเหตุใด ๆ ได้ทั้ง ๖
เหตุ
ที่กล่าวมาแล้วนี้เป็นการแสดงตามนัยที่
นับแล้วไม่นับอีก ที่ชื่อ อคหิตัคคหณ
นัย
และคงจะเห็นแล้วว่า เจตสิก
ดวงใดที่ได้ยกเป็นหัวข้อขึ้นกล่าวอ้างแล้ว
เช่น โลภ เจตสิก โทสเจตสิก
วิจิกิจฉาเจตสิก
หรือเจตสิกดวงอื่น ๆ ก็ดี เมื่อได้ยกเป็น
หัวข้อขึ้นกล่าวอ้างในข้อใดที่ใดแล้ว
ก็ไม่ได้ยกมากล่าวอ้าง
หรือยกมาแสดงซ้ำในข้อ อื่น ๆ
อีกเลย ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า นับแล้วไม่นับอีก
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ