ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 ค้นหาหัวข้อธรรม
สัพพารมณ์
ส่วนที่จะกล่าวต่อไปนี้
เป็นจำนวนจิต ๒๙ ดวง
และนับอภิญญาจิตกุสล ๑ กิริยา ๑
รวม ๒ ดวงนั้น รวมเข้าไปอีกด้วย
จึงเป็นจิต ๓๑ ดวง ในจำนวนจิต ๓๑
ดวงนี้เป็นจิตที่มีอารมณ์ได้หลายอย่าง
หลายกาล ตลอดจนกาลวิมุตตด้วย
จึงเรียกว่า สัพพารมณ์
ในข้อ
๕
ที่ว่าจิต ๒๐ ดวง
ยึดหน่วงอารมณ์ที่พ้นจากโลกุตตรนั้น
คือ
อกุสลจิต
๑๒ มหากุสลญาณวิปปยุตตจิต ๔
และมหากิริยาญาณวิปปยุตตจิต ๔
นี้ มีอารมณ์ทั้ง ๖
อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
ทั้งที่เป็นโลกียและบัญญัติ คือ
มีกาม
อารมณ์ก็ได้มีมหัคคตอารมณ์ก็ได้
หรือมีบัญญัติอารมณ์ก็ได้ทั้งนั้น
เว้นแต่โลกุตตร อารมณ์ เพราะว่า
อกุสลจิต
๑๒ เป็นจิตที่ชั่ว ที่หยาบ ที่บาป
จึงไม่สามารถที่จะมีโลกุตตรธรรม
คือ มัคคจิต ๔ ผลจิต ๔ นิพพาน ๑
อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ได้
เพราะ โลกุตตรธรรมทั้ง ๙ นี้
เป็นธรรมที่ดี ที่ประณีต
ที่สุขุม ที่ประเสริฐ
แม้มหากุสลญาณวิปปยุตต
๔, มหากิริยาญาณวิปปยุตต
๔ ก็ไม่สามารถรับ
โลกุตตรอารมณ์ได้ เพราะจิต ๘
ดวงนี้เป็นจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา
เป็นจิตที่
ไม่ได้ใช้ปัญญาประกอบ
จิตที่จะรับโลกุตตรธรรมเป็นอารมณ์ได้นั้น
จะต้องเป็นจิต
ที่ประกอบด้วยปัญญา
เป็นจิตที่ใช้ปัญญาประกอบด้วยเสมอไป
ในข้อ
๖
ที่ว่าจิต ๕
ดวงยึดหน่วงอารมณ์ที่เว้นจากอรหัตตมัคค
อรหัตตผลนั้น
มหากุสลญาณสัมปยุตต
๔ ก็ดี อภิญญากุสล ๑ ก็ดี
รับอารมณ์ ๖ ที่เป็น โลกีย
และบัญญัติ
ตลอดจนโลกุตตรอารมณ์ก็ได้
เว้นแต่จะรับอรหัตตมัคค อรหัตต
ผล มาเป็นอารมณ์หาได้ไม่
เพราะอรหัตตมัคค อรหัตตผลนั้น
จะต้องเป็นพระ อรหันต์แล้ว
จึงจะหน่วงเอาเป็นอารมณ์ได้
ผู้ที่ไม่ได้เป็นพระอรหันต์
จะได้อรหัตต มัคค
อรหัตตผลที่ไหนมาเป็นอารมณ์ได้
ในข้อ
๗
ที่ว่า จิต ๖ ดวง
ยึดหน่วงอารมณ์ได้ทั้งหมด นั้น
มโนทวาราวัชชนจิต
๑, มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิต
๔, อภิญญากิริยาจิต
๑ รวม ๖ ดวงนี้
รับอารมณ์ได้ทั้งหมด
ไม่มียกเว้นเลย
เพราะจิตเหล่านี้เป็นจิตของ
พระอรหันต์
จึงรับอารมณ์ได้ทั้งสิ้น
ไม่มีเว้นเลย
จำนวนจิตที่กล่าวแล้วในข้อ
๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗ นี้รวมได้ ๓๑ ดวง
เป็นจิต
ที่รับอารมณ์ได้หลายอย่าง
อย่างนั้นก็ได้อย่างนี้ก็ได้
ไม่แน่นอนว่าจะต้องเป็นอารมณ์
นั้นอารมณ์นี้แต่อย่างเดียว
เพราะเหตุที่รับอารมณ์ได้มากกว่า
๑ จึงเรียกว่าเป็น อเนกันตะ
หมายความว่า ไม่แน่นอนด้วย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ