ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

กราบขอบคุณ รูปภาพจากเว็บทัวร์ไทย www.tourthai.com ขอให้เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไปเทอญ...

หมวดที่ ๓ กิจจสังคหะ

    กิจจสังคหะ คือ การรวบรวมแสดงเรื่องกิจ หมายความว่า รวบรวมแสดงเรื่อง กิจการงาน หรือหน้าที่ของจิตเจตสิก เพื่อให้ทราบว่าจิตดวงใดตลอดจนเจตสิกที่ ประกอบกับจิตนั้น มีกิจการงาน หรือมีหน้าที่ทำอะไรกัน

     นอกจากกิจแล้ว ท่านแสดงฐานให้ทราบไว้ด้วย ฐาน แปลว่าที่ตั้ง ฐานของกิจ ก็คือที่ตั้ง ที่ทำงาน เป็นสถานที่ที่จิตและเจตสิกทำกิจการงาน

     บรรดาจิตที่เกิดขึ้น มีกิจการงานที่ต้องทำ ๑๔ ประเภท เช่น ปฏิสนธิกิจ เป็นต้น

     ฐาน หรือสถานที่ทำงานของจิต มีเพียง ๑๐ เท่านั้น

อธิบาย

     จิตทั้งหมด คือ ทั้ง ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง มีกิจการงานหรือมีหน้าที่ต้องทำเพียง ๑๔ อย่าง หรือ ๑๔ กิจ เท่านั้น และใน ๑๔ กิจนี้ มีสถานที่สำหรับทำกิจการงาน นั้น ๑๐ แห่ง หรือ ๑๐ ฐาน คือ

     ๑. ปฏิสนธิกิจ        มีฐาน คือ สถานที่ทำการงานเรียกว่า      ปฏิสนธิฐาน

     ๒. ภวังคกิจ           ”   ”                ”                   ภวังคฐาน

     ๓. อาวัชชนกิจ           ”                ”               ”               อาวัชชนฐาน

     ๔. ทัสสนกิจ

     ๕. สวนกิจ

     ๖. ฆายนกิจ          มีฐาน คือ สถานที่ทำการงานเรียกว่า      ปัญจวิญญาณฐาน

     ๗. สายนกิจ

     ๘. ผุสนกิจ

     ๙. สัมปฏิจฉันนกิจ   มีฐาน คือสถานที่ทำการงานเรียกว่า       สัมปฏิจฉันนฐาน

    ๑๐. สันตีรณกิจ             ”                ”               ”              สันตีรณฐาน

    ๑๑. โวฏฐัพพนกิจ         ”                ”               ”              โวฏฐัพพนฐาน

    ๑๒. ชวนกิจ           ”   ”                ”          ชวนฐาน

    ๑๓. ตทาลัมพนกิจ         ”                ”               ”              ตทาลัมพนฐาน

    ๑๔. จุติกิจ                  ”                ”               ”              จุติฐาน

กราบขอบคุณ รูปภาพจากเว็บทัวร์ไทย www.tourthai.com ขอให้เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไปเทอญ...หน้าที่ของกิจ

     ๑. ปฏิสนธิกิจ ทำหน้าที่สืบต่อภพสืบต่อชาติ คือ ความเกิดขึ้นในภพใหม่ หมายเฉพาะขณะแรกที่เกิดใหม่ขณะเดียวเท่านั้น ฉะนั้นในภพหนึ่งชาติหนึ่ง จิตที่ทำ กิจปฏิสนธิจึงมีเพียงครั้งเดียว ขณะเดียวเท่านั้น

     ๒. ภวังคกิจ ทำหน้าที่เป็นองค์ของภพ ทำให้ตั้งอยู่ในภพนั้น ๆ เท่าที่อายุ สังขารจะพึงอยู่ได้ จิตทำภวังคกิจนี้ทำอยู่เสมอ น้อยบ้าง มากบ้าง นับประมาณไม่ได้

     ๓. อาวัชชนกิจ ทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ที่มาถึงตน ทั้งทางปัญจทวาร และ มโนทวาร ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นเพียงขณะเดียว เป็นจิตนำวิถี เพราะเป็นจิตดวง แรกที่ขึ้นวิถีใหม่ในทุก ๆ วิถี

     ๔. ทัสสนกิจ ทำหน้าที่ เห็น           ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นขณะเดียว

     ๕. สวนกิจ ทำหน้าที่ ได้ยิน                 ”                       ”

     ๖. ฆายนกิจ ทำหน้าที่ ได้กลิ่น              ”                       ”

     ๗. สายนกิจ ทำหน้าที่ รู้รส                 ”                       ”

     ๘. ผุสนกิจ ทำหน้าที่ รู้สิ่งที่มากระทบกาย มีเย็น ร้อน อ่อนแข็ง เป็นต้น ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นขณะเดียว

     ๙. สัมปฏิจฉันนกิจ ทำหน้าที่รับอารมณ์ต่อจากทวิปัญจวิญญาณ ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นขณะเดียว

    ๑๐. สันตีรณกิจ ทำหน้าที่ไต่สวนอารมณ์ที่สัมปฏิจฉันนกิจส่งมาให้ ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นขณะเดียว

    ๑๑. โวฏฐัพพนกิจ ทำหน้าที่ตัดสินอารมณ์ กำหนดให้เป็นกุสล อกุสล หรือ   กิริยา ในวิถีหนึ่ง ๆ ตามปกติก็เกิดขึ้นเพียงขณะเดียว แต่ถ้าอารมณ์นั้นไม่ชัด ตัดสิน ไม่ลง ก็อาจเกิด ๒ ขณะ ก็มี มากที่สุดเพียง ๓ ขณะ

    ๑๒. ชวนกิจ ทำหน้าที่เสพอารมณ์เป็น กุสล อกุสล หรือ กิริยา ตามที่ โวฏฐัพพนกิจได้ตัดสินและกำหนดมา ในวิถีหนึ่ง ๆ ตามปกติก็เกิดชวนะ ๗ ขณะ แต่ว่าที่เกิดน้อยกว่านี้ก็มี และที่เกิดมากมายจนประมาณไม่ได้ก็มีเหมือนกัน (เช่น เวลาเข้าฌานสมาบัติ)

    ๑๓. ตทาลัมพนกิจ ทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ที่เหลือจากชวนกิจ ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิด ขึ้น ๒ ขณะ

    ๑๔. จุติกิจ ทำหน้าที่เคลื่อนจากภพเก่า เป็นจิตสุดท้ายในภพนั้นชาตินั้น ในภพ หนึ่งชาติหนึ่ง จิตทำจุติกิจนี้เพียงครั้งเดียวขณะเดียวเท่านั้น

 


จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...