ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

กราบขอบคุณ รูปภาพจากเว็บทัวร์ไทย www.tourthai.com ขอให้เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไปเทอญ...

อารมณ์ มี ๖ ประเภท

     จิตจะต้องมีอารมณ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวอย่างแน่นอน จิตที่ ไม่มีอารมณ์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวนั้นไม่มีเลย

     อารมณ์ในสังคหะนี้มี ๖ ประเภท อันเป็นการจำแนกตามความสามารถแห่ง ทวารที่จะพึงรับอารมณ์นั้น ๆ ได้ คือ

     ๑. รูปารมณ์ แปลว่า รูปเป็นอารมณ์ ได้แก่ วัณณะ (สี) เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ของจิตและเจตสิก ทางตา

     ๒. สัททารมณ์ แปลว่า เสียงเป็นอารมณ์ ได้แก่ สัททะ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ของจิตและเจตสิก ทางหู

     ๓. คันธารมณ์ แปลว่า กลิ่นเป็นอารมณ์ ได้แก่ คันธะ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ของจิตและเจตสิก ทางจมูก

     ๔. รสารมณ์ แปลว่า รสเป็นอารมณ์ ได้แก่ รสะ คือ อมฺพิล รสเปรี้ยว, มธุร รสหวาน, โลณิก รสเค็ม, กฎก รสเผ็ด, ติตฺต รสขม และ กสาว รสฝาด รวมทั้งหมด ๖ รสเท่านี้ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของจิตและเจตสิก ทางลิ้น

     ๕. โผฏฐัพพารมณ แปลว่า การสัมผัสถูกต้องกาย เป็นอารมณ์ ได้แก่ ปฐวี ความแข็ง ความอ่อน, เตโช ความร้อน ความเย็น, วาโย ความหย่อน ความเคร่ง ตึง เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของจิตและเจตสิก ทางกาย

     ทั้ง ๕ อารมณ์นี้ รวมเรียกว่า ปัญจารมณ์กราบขอบคุณ รูปภาพจากเว็บทัวร์ไทย www.tourthai.com ขอให้เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไปเทอญ...

     ๖. ธัมมารมณ์ แปลว่า สภาพธรรมที่สาธารณแก่ใจเป็นอารมณ์ ได้แก่ สภาว ธรรม ๖ ประการ คือ ปสาทรูป ๕, สุขุมรูป ๑๖, จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, นิพพาน และ บัญญัติ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของจิตและเจตสิก ทางใจ (ทางมโน)

     รวมอารมณ์ทั้ง ๖ นี้เรียกว่า ฉอารมณ

     รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ และโผฏฐัพพารมณ์ อันรวมเรียกว่า ปัญจารมณ์ หรือ อารมณ์ทั้ง ๕ นี้เป็น รูปธรรม

     ส่วน ธัมมารมณ์ นั้น จิต เจตสิก และนิพพาน เป็น นามธรรม ปสาทรูป ๕ และสุขุมรูป ๑๖ เป็น รูปธรรม เฉพาะบัญญัติ นั้น ไม่ใช่รูปธรรม และไม่ใช่นาม ธรรมด้วย แต่เป็น บัญญัติธรรม



จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...