ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 ค้นหาหัวข้อธรรม
อารมณ์ของทวารวิมุตตจิต
ได้กล่าวแล้วในทวารสังคหะ
ว่าจิตที่พ้นทวาร
เป็นจิตที่เกิดโดยไม่ต้องอาศัย
ทวารนั้น มี ๑๙ ดวง ได้แก่ อุเบกขา
สันตีรณจิต ๒
มหาวิบากจิต
๘
มหัคคตวิบากจิต
๙
ด้วยเหตุที่จิต
๑๙ ดวงนี้ทำหน้าที่ ปฏิสนธิ
ภวังคกิจ จุติกิจ
จึงไม่ต้องอาศัย ทวาร
แต่ก็ต้องมีอารมณ์ตามหลักที่ว่า
จิตต้องมีอารมณ์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว
อารมณ์ ของจิต ๑๙ ดวงที่ทำหน้าที่
ปฏิสนธิ ภวังค จุติ
นี้มีชื่อเรียกเป็นพิเศษโดยเฉพาะว่า
กรรมอารมณ์
กรรมนิมิตอารมณ์ และ คตินิมิตอารมณ์
ในกาลแห่งสัตว์อันใกล้มรณะนั้น
จะต้องมี กรรมอารมณ์
กรรมนิมิตอารมณ์
หรือคตินิมิตอารมณ์
อย่างใดอย่างหนึ่งมาปรากฏแก่ชวนจิตในมรณาสันนวิถี
อารมณ์ นี้
จะต้องเกิดทั่วทุกตัวสัตว์
เว้นแต่ อสัญญสัตต และ พระอรหันต์
ที่เว้น
อสัญญสัตตนั้น
เพราะอสัญญสัตตไม่มีจิต
จึงไม่มีอารมณ์ ส่วนที่เว้นพระ
อรหันต์นั้น
เพราะพระอรหันต์ไม่ต้องไปเกิดอีกแล้ว
จึงไม่มีอารมณ์ ๓ อย่างนี้ อัน
เป็นเครื่องหมายแห่งการเกิด
ชวนจิตในมรณาสันนวิถี
เรียกว่า มรณาสันนชวนะ ก็ได้
แต่ชาติก่อน มีสิ่งใด เป็นอารมณ์
จิตที่เป็นปฏิสนธิ และภวังค
ตลอดจน
จุติจิตในปัจจุบันชาตินี้
ก็ถือเอา สิ่งนั้นเป็นอารมณ์
ปฏิสนธิจิต
ภวังคจิต จุติจิต ในภพเดียวกัน
ในชาติเดียวกัน ในบุคคลเดียวกัน
เป็นจิตดวงเดียวกัน
และมีอารมณ์ก็อย่างเดียวกัน
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ