ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88
ค้นหาหัวข้อธรรม
ทวาร คือ
ประตู หรือ ทาง
ที่จิตเจตสิกอาศัยเป็นทางให้ได้รับอารมณ์
ซึ่งมีอยู่ ๖ ทวาร หรือ ๖
ทางด้วยกัน คือ
๑.
จักขุทวาร คือ ทางตา องค์ธรรมได้แก่
จักขุปสาทรูป
๒.
โสตทวาร คือ ทางหู องค์ธรรมได้แก่ โสตปสาทรูป
๓.
ฆานทวาร คือ ทางจมูก องค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาทรูป
๔.
ชิวหาทวาร คือ ทางลิ้น องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาทรูป
๕.
กายทวาร คือ ทางกาย องค์ธรรมได้แก่ กายปสาทรูป
๖.
มโนทวาร คือ ทางใจ องค์ธรรมได้แก่ ภวังคจิต
ตั้งแต่เลข
๑ ถึง ๕ รวม ๕ ทวารนี้เรียกว่า ปัญจทวาร
องค์ธรรมได้แก่ ปสาทรูปทั้ง ๕
เป็นรูปทวาร
เป็นทางให้ทวิปัญจวิญญาณเกิดขึ้นรับรู้อารมณ์
ทั้ง ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส
การสัมผัสถูกต้อง
และเป็นทางให้เกิดวิถีจิตทางปัญจ
ทวารอีกด้วย
เฉพาะเลข
๖ มโนทวาร
องค์ธรรมได้แก่ ภวังคจิตนั้น
เป็นนามทวาร
ภวังค
จิตนี้เป็นเหตุแห่งความเกิดขึ้นของจิตทั้งปวง
และเป็นทางให้เกิดวิถีจิตทางมโนทวาร
อีกด้วย
ทวารทั้ง
๖
นี้เป็น รูปธรรม
๕ ทวาร
เป็น นามธรรม
เพียงทวารเดียว
และทวารใดมีจิตอาศัยเป็นทางให้เกิดได้เป็นจำนวนเท่าใดนั้น
มีดังนี้
เอกทวาริกจิต มี ๓๖ ดวง
ปัญจทวาริกจิต มี ๓ ดวง
ฉทวาริกจิต มี ๓๑ ดวง
ฉทวาริกวิมุตตจิต มี ๑๐ ดวง
ทวารวิมุตตจิต มี ๙ ดวง
อธิบาย
๑. เอกทวาริกจิต
จิตที่อาศัยเกิดได้ทาง ทวารเดียว
มีจำนวน ๓๖ ดวง ได้แก่
ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐
อัปปนาชวนะ
๒๖
๒. ปัญจทวาริกจิต
จิตที่อาศัยเกิดได้ทางทวารทั้ง
๕ (ปัญจทวาร) มี ๓ ดวง ได้แก่
ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑
รวมเรียก
มโนธาตุ
สัมปฏิจฉันนจิต
๒
๓. ฉทวาริกจิต
จิตที่อาศัยเกิดได้ทางทวารทั้ง
๖ มี ๓๑ ดวง ได้แก่
โสมนัส
สันตีรณจิต
๑
มโนทวาราวัชชนจิต
๑
กามชวนจิต
๒๙
๔. ฉทวาริกวิมุตตจิต
บ้างก็เรียกว่า ฉทวาริกทวารวิมุตตจิต
จิตที่บางทีก็ อาศัยทวารทั้ง ๖
เกิด
และบางทีก็ไม่อาศัยทวารทั้ง ๖
เกิด มี ๑๐ ดวง ได้แก่
อุเบกขา
สันตีรณจิต ๒
มหาวิบากจิต
๘
เมื่ออุเบกขา
สันตีรณจิต ๒ ดวงนี้ ทำหน้าที่
สันตีรณกิจ หรือ ตทาลัมพน กิจก็ดี
มหาวิบากจิต ๘ ดวง ทำหน้าที่
ตทาลัมพนกิจก็ดี ก็ต้องอาศัยทวารเป็น
ทางเกิด แต่ถ้าจิต ๑๐
ดวงนี้ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ
ภวังคกิจ จุติกิจ ๓ อย่างนี้ ก็ไม่
ต้องอาศัยทวารเลย
๕. ทวารวิมุตตจิต
จิตที่เกิดพ้นจากทวารทั้ง ๖ คือ
จิตที่เกิดโดยไม่ต้องอาศัย
ทวารทั้ง ๖ เลย มี ๙ ดวง ได้แก่
มหัคคตวิบากจิต ๙
ที่กล่าวมาแล้วข้างบนนี้
เป็นการแสดงจำนวนจิตที่ต้องอาศัยทวาร
หรือไม่ต้อง อาศัยทวารโดยแน่นอน
(เอกันตะ) แต่อย่างเดียว
ต่อไปนี้
จะแสดงรายละเอียดของจำนวนจิตที่เกิดได้แต่ละทวาร
ทั้งที่แน่นอน
(เอกันตะ) และที่ไม่แน่นอน
(อเนกันตะ) ด้วย
๑.
จิตที่เกิดได้ทาง จักขุทวาร
เรียกว่า จักขุทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง
๒.
จิตที่เกิดได้ทาง โสตทวาร เรียกว่า โสตทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง
๓.
จิตที่เกิดได้ทาง ฆานทวาร
เรียกว่า ฆานทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง
๔.
จิตที่เกิดได้ทาง ชิวหาทวาร
เรียกว่า ชิวหาทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง
๕.
จิตที่เกิดได้ทาง กายทวาร
เรียกว่า กายทวาริกจิต มี ๔๖ ดวง
๖.
จิตที่เกิดได้ทาง มโนทวาร
เรียกว่า มโนทวาริกจิต มี ๖๗ ดวง
๗.
จิตที่เกิดได้ทาง ทวารเดียว เรียกว่า เอกทวาริกจิต มี ๘๐ ดวง
๘.
จิตที่เกิดได้ทาง ทวาร ๕ เรียกว่า ปัญจทวาริกจิต มี ๔๔ ดวง
๙.
จิตที่เกิดได้ทาง ทวาร ๖ เรียกว่า ฉทวาริกจิต มี ๔๑ ดวง
๑๐.
จิตที่เกิดพ้นจากทวารทั้ง ๖ เรียกว่า ทวารวิมุตตจิต มี ๑๙ ดวง
เฉพาะจักขุทวาริกจิต
และโสตทวาริกจิต
สองประเภทนี้เท่านั้น
ถ้านับอภิญญา จิต ๒ ดวง คือ
ทิพพจักขุญาณที่เป็นกุสล ๑
กิริยา ๑ รวมเข้าด้วย
จักขุทวาริกจิตก็ มี ๔๘ ดวง
และนับทิพพโสตญาณที่เป็นกุสล ๑
กิริยา ๑ รวมเข้าด้วย โสตทวาริก
จิต ก็มี ๔๘ ดวง
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ