ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 ค้นหาหัวข้อธรรม
หมวดที่
๑ ภูมิจตุกะ ก.
อบายภูมิ
อบายภูมิ
มาจากคำว่าอป(ปราศจาก)
+ อย(กุสลธรรม)
+ ภูมิ(ที่อยู่ที่อาศัย)
ดังนั้นอบายภูมิจึงแปลว่า
ที่อยู่ที่อาศัยที่ปราศจากกุสลธรรม มีความหมายว่า
สัตว์ ในอบายภูมินั้น มีโอกาสกระทำกุสลได้น้อยเหลือเกินจนแทบจะกล่าวได้ว่า
ไม่มี โอกาสทำกุสล
อีกนัยหนึ่ง
อบายภูมินี้ บางทีก็เรียกว่า
ทุคคติภูมิ มาจากคำว่า ทุ (ชั่ว-ไม่ดี)
+ คติ(เกิด)
+ ภูมิ
(ที่อยู่ที่อาศัย)
ดังนั้นทุคคติภูมิจึงแปลว่าเกิดในที่ที่ไม่ดี
ที่ที่ชั่ว ลำบาก ทนได้ยาก
ในเนตติอรรถกถา
แสดงไว้ว่า นรก เปรต อสุรกาย
เรียกว่าเป็นทุคคติ โดยตรง
ส่วนสัตว์เดรัจฉาน
ที่เรียกว่าเป็นทุคคตินั้น
เป็นการเรียกได้โดยอ้อม เพราะ
สัตว์ดิรัจฉานบางจำพวก เช่น
พระยานาค พระยาช้างฉัททันต์
เป็นต้น ล้วนแต่มี ความสุข
บางทีก็มีฤทธิด้วย
อบายภูมินี้มี
๔ ภูมิ ด้วยกันคือ
๑.
นิรยภูมิ
ภูมิของสัตว์นรก
๒.
ดิรัจฉานภูมิ ภูมิของสัตว์ดิรัจฉาน
๓.
เปรตภูมิ
ภูมิของเปรต
๔.
อสุรกายภูมิ ภูมิของอสุรกาย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ