ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 ค้นหาหัวข้อธรรม
๑.
ครุกรรม
ครุกรรม
คือ กรรมที่หนัก มีความหมายว่า
เป็นกรรมที่แรง เป็นกรรมที่มี
กำลังมาก
ต้องส่งให้ได้รับผลก่อนกรรมอื่น
ๆ ทั้งนั้น กล่าวคือ
ถ้าเป็นฝ่ายกุสล ก็มี ผลานิสงส์(ผลดี)
ให้คุณหนักมาก
เป็นฝ่ายอกุสลก็มีอาทีนพะ (ผลชั่ว)
ให้โทษหนัก
มาก ถึงกับกรรมอื่น ๆ
ไม่สามารถที่จะตัดขัดขวาง
หรือยับยั้งได้ ครุกรรมเป็นต้อง
ให้ผลก่อนกรรมอื่น ๆ
และให้ผลในชาติที่ ๒ แน่นอน
กรรมที่จัดเป็นครุกรรมนี้
มีทั้งที่เป็นอกุสลครุกรรม
และกุสลครุกรรม คือ
(ก)
ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต
๔
ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจ นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม
อันมีอยู่ ๓ คือนัตถิกทิฏฐิ
เห็นว่าทำอะไรก็ตาม
ผลที่ได้รับย่อมไม่มี(ไม่เชื่อผล)
๑,
อเหตุกทิฏฐิ
เห็นว่า
สัตว์ทั้งหลายที่กำลังเป็นไปอยู่นั้น
ไม่ได้อาสัยเนื่องกันมาจาก
เหตุอย่างใด (ไม่เชื่อเหตุ)
๑,
และ
อกริยทิฏฐิ
เห็นว่าการกระทำต่าง ๆ ของสัตว์
ทั้งหลายนั้น
ไม่เป็นบุญเป็นบาปอย่างใดเลย (ไม่เชื่อทั้งเหตุทั้งผล)
อีก
๑
(ข)
โทสมูลจิต
๒ ที่เป็นปัญจานันตริยกรรม
คือฆ่าบิดา ฆ่ามารดา ฆ่า
พระอรหันต์
ทำให้พระพุทธเจ้าถึงกับห้อพระโลหิตและสังฆเภท
สังฆเภทกกรรม หนักกว่าเพื่อน
สมมุติว่ามีผู้ทำปัญจานันตริยกรรมครบ
๕ อย่าง สังฆเภทกกรรม
จะเป็นผู้ส่งผลแก่ผู้นั้น
ส่วนกรรมที่เหลืออีก ๔
ก็ทำหน้าที่สนับสนุนในการให้ผล
ของสังฆเภทกกรรม
(ค)
มหัคคตกุสลกรรม
๙
ฌานที่สูงมีคุณธรรมมากกว่าฌานต่ำ
ฌานสูงจึงให้ ผล
เมื่อฌานสูงให้ผลแล้ว
ฌานที่ต่ำก็หมดโอกาสที่จะให้ผล
กลายเป็นอโหสิกรรมไป
ไม่มีหน้าที่แม้แต่จะอุดหนุนส่งเสริมฌานที่สูงกว่าให้ผลนั้น
ดังที่ได้กล่าวแล้วในตอน
อุปถัมภกกรรม
อนึ่ง
โลกุตตรกุสลกรรม ๔ นั้น
ก็เป็นครุกรรมเหมือนกัน
แต่ไม่กล่าวในที่นี้ ด้วย
เพราะว่าในที่นี้กล่าวเฉพาะกรรมที่ส่งผลให้เกิดในชาติที่
๒ เท่านั้น โลกุตตร
กุสลกรรมไม่มีหน้าที่ให้เกิด
มีหน้าที่แต่จะทำลายการเกิดตามควรแก่กำลังของตน
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ