ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

. อโหสิกรรม

อโหสิกรรม เป็นกรรมที่ไม่สนองผล ไม่ให้ผล เลิกให้ผล หมายความว่าเป็น กรรมที่ไม่สามารถจะอำนวยผลได้เพราะ

            กรรมนั้นได้ให้ผลแล้ว

            กรรมนั้นไม่ก่อให้เกิดผล

            กรรมนั้นไม่มีผู้จะรับผล

เหล่านี้แหละ กรรมนั้นจึงได้ชื่อว่า อโหสิกรรม ดังที่ในปฏิสัมภิทามัคคบาลี แสดงไว้ว่า

() อโหสิกมฺมํ นาโหสิกมฺมวิปาโก ได้แก่กรรมที่ได้ให้ผลแล้ว เช่น ได้ตก นรกไปแล้ว หรือได้ไปเกิดในภูมิสวรรค์นั้น ๆ แล้ว กรรมนั้นก็เป็นอโหสิกรรมไป ข้อนี้หมายถึงอดีต

อนึ่ง กรรมอันเล็กน้อย ย่อมเข้ากับกรรมใหญ่ได้ กรรมใหญ่ก็รับไปเสีย กรรม เล็กน้อยนั้นก็เลิกให้ผล ไม่ต้องให้ผล เช่น ได้ตติยฌานกุสลกรรม ตติยฌานวิบาก ก็เป็นผู้รับผล ปฐมฌานกุสลกรรม ทุติยฌานกุสลกรรม อันเป็นกรรมเล็กน้อยกว่า ก็เป็นอันไม่ต้องให้ผล จึงเป็นอโหสิกรรมไป กล่าวคือ ปฐมฌานวิบาก ทุติยฌาน วิบากก็ไม่ต้องเกิดขึ้น

() อโหสิกมฺมํ นตฺถิกมฺมวิปาโก ได้แก่ กรรมที่ไม่ก่อให้เกิดผล เช่น กิริยา จิต แม้จะกระทำสักเท่าใดก็ตาม ก็เป็นกิริยาไปหมด ไม่เกิดวิบาก ไม่ก่อให้เกิดผล เลย จึงเป็นอโหสิกรรมไป ข้อนี้หมายถึงปัจจุบัน

() อโหสิกมฺมํ นภวิสฺสติกมฺมวิปาโก ได้แก่ผลกรรมในชาติอนาคตไม่มีแล้ว เช่น องคุลีมาลฆ่าคนเป็นต้น ผลของกรรมที่ฆ่ามนุษย์นั้นไม่ส่งผลได้ เพราะต่อมา ได้เป็นพระอรหันต์แล้ว ไม่มีภพ ไม่มีชาติ คือไม่ต้องเกิดอีกแล้ว กรรมนั้นก็ไม่มี ผู้รับสนอง จึงเป็นอโหสิกรรมไป ข้อนี้หมายถึงอนาคต


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...