ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

. อุปปีฬกกรรม

อุปปีฬกกรรม เป็นกรรมที่มีหน้าที่เบียดเบียนกรรมอื่น ๆ และรูปนามที่เกิด จากกรรมอื่น ๆ นั้น มีความหมายเป็น ๒ นัย คือ

. เป็นกรรมที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่น ๆ ที่มีสภาพตรงข้ามกับตน มีชื่อ เรียกว่า กัมมันตรอุปปีฬก

. เป็นกรรมที่เบียดเบียนรูปนามที่เกิดจากชนกกรรมนั้น ๆ มีชื่อเรียกว่า กัมมนิพพัตตขันธสันตานอุปปีฬก

การเบียดเบียนนี้ เมื่อสรุปแล้ว ก็มี ๓ ประการ คือ

()  เบียดเบียน ขัดขวางชนกกรรม เพื่อไม่ให้มีโอกาสได้ส่งผล

() เบียดเบียนชนกกรรมที่มีโอกาสส่งผลอยู่แล้ว  ให้มีกำลังลดน้อยถอยลง ได้ผลไม่เต็มที่

() เบียดเบียน ผลที่ได้รับอยู่ คือ รูปนามที่เกิดจากชนกกรรมนั้นให้เสื่อม ถอย ไม่ให้เจริญต่อไป หรือไม่ให้ตั้งอยู่ได้นาน

อุปปีฬกกรรมนี้ก็ได้แก่อุปถัมภกกรรมนั่นเอง คืออกุสลกรรมอุดหนุนส่งเสริม อกุสลกรรมให้มีกำลังกล้าแข็งขึ้นเพียงใด ก็ย่อมเป็นการเบียดเบียนกุสลกรรม (อัน มีสภาพตรงกันข้ามกับอกุสลกรรม) นั้น ให้กุสลกรรมมีกำลังลดน้อยถอยลงเพียงนั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ อกุสลกรรมอุปถัมภ์อกุสลกรรมให้ได้ส่งผล ก็เป็นการเบียด เบียนขัดขวางไม่ให้กุสลกรรมได้โอกาสส่งผลไปในตัว ดังนั้น องค์ธรรมของอุปปีฬก กรรม จึงได้แก่ อกุสลกรรม ๑๒ และ มหากุสลกรรม ๘ เหมือนกับของอุปถัมภก กรรม

สำหรับมหัคคตกุสลกรรม ๙ เป็นกรรมที่ไม่นับว่าเป็นอุปปีฬกกรรม ไม่นับว่า เป็นกรรมที่เบียดเบียนขัดขวางอกุสลกรรม แต่จัดเป็นกรรมตัดรอนอกุสลกรรม คือ จัดเป็นอุปฆาตกกรรมเลยทีเดียว ไม่เพียงแต่เบียดเบียนกีดกัน แต่ข่มไว้จนอยู่มือ


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...