ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 ค้นหาหัวข้อธรรม
ทุติยฌานภูมิ
มี ๓ ภูมิ
๔.
ปริตตาภาภูมิ
เป็นพรหมบริษัทในชั้นที่
๒ นี้
๕.
อัปปมาณาภาภูมิ
เป็นพรหมปุโรหิตในชั้นที่
๒ นี้
๖.
อาภัสสราภูมิ
เป็นท้าวมหาพรหมในชั้นที่
๒ นี้
ทุติยฌานภูมิ
ทั้ง ๓ ภูมินี้
เป็นที่ปฏิสนธิของรูปาวจรวิบาก
๒ ดวง คือ
เป็นที่ปฏิสนธิของทุติยฌานวิบาก
๑ ดวง คือ
เป็นที่เกิดที่อยู่ของพรหมที่ได้
ทุติยฌาน
อันเป็นผลของทุติยฌานกุสล และ
เป็นที่ปฏิสนธิของตติยฌานวิบาก
๑ ดวง คือ เป็นที่เกิด
ที่อยู่ของพรหมที่ได้ ตติยฌาน
อันเป็นผลของตติยฌานกุสล
ที่ทุติยฌานวิบาก
๑ ดวง และตติยฌานวิบาก ๑ ดวง
ไปปฏิสนธิใน
ทุติยฌานภูมิภูมิเดียวกันนี้
มีอธิบายว่าเพียงแต่ละวิตกได้
ก้าวล่วงวิตกได้ก็ปฏิสนธิ
ในทุติยฌานภูมิได้แล้ว
แม้จะละวิจารได้อีก
ก็ไม่เกิดอำนาจพิเศษอย่างใด
ที่จะส่งผล
ให้ปฏิสนธิในตติยฌานภูมิได้
เพราะการที่จะไปปฏิสนธิในตติยฌานภูมิได้
ก็ด้วย
อำนาจแห่งความก้าวล่วงปิติได้แล้ว
ถ้ายังมีปิติอยู่ยังติดอกติดใจในความอิ่มเอม
เปรมใจอยู่
เป็นไม่สามารถที่จะเข้าถึงชั้นตติยฌานภูมินั้นได้
ภูมิทั้ง
๓ นี้
เป็นชั้นเดียวกันอยู่ในระดับเดียวกัน
ไม่สูง ไม่ต่ำ กว่ากัน และที่
จัดเป็น ๓ ภูมิ
ก็มีเหตุผลอย่างเดียวกับปฐมฌานภูมินั่นเอง
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ