ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 ค้นหาหัวข้อธรรม
อธิบาย
๑.
อรูปพรหมจุติ
ย่อมได้ปฏิสนธิจิต
๘ ดวง คือ
ก.
เกิดในอรูปพรหมอีก
(ปฏิสนธิด้วยอรูปวิบาก
๔)
ย่อมเกิดในอรูปพรหม
ชั้นนั้นหรือชั้นที่สูงกว่า
ไม่ปฏิสนธิในชั้นที่ต่ำกว่า
เพราะเป็นธรรมดาของอรูปพรหม
ที่ย่อมเว้นหรือหน่ายจากฌานเบื้องต่ำ
ข.
เกิดในกามภูมิย่อมเกิดเป็นไตรเหตุ
ที่เรียกว่ากามติเหตุกปฏิสนธิ (ปฏิสนธิ
ด้วยมหาวิบากญาณสัมปยุตต ๔)
อนึ่งอรูปพรหมที่เป็นพระอริยนั้น
จะไม่กลับมาเกิดในกามภูมิอีกเลย
และ
เฉพาะเนวสัญญานาสัญญายตนพรหมที่เป็นพระอริยนั้น
ก็จะไม่ไปเกิดในภูมิอื่นเลย
จะต้องสำเร็จเป็นพระอรหันต์
และปรินิพพานในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมินั่นเอง
จำพวกที่
๑
เป็นพระอนาคามีที่เป็นรูปพรหมในสุทธาวาสภูมิ
๕ พระ อนาคามีในสุทธาวาสภูมินี้
ถ้าไม่สำเร็จเป็นพระอรหันต์และปรินิพพานในชั้นนั้นแล้ว
เมื่อจุติก็ต้องปฏิสนธิในสุทธาวาสภูมิชั้นที่สูงกว่าตามลำดับไป
จนกว่าจะปรินิพพาน
ไม่มีการเกิดซ้ำชั้นเลย
จำพวกที่
๒ เป็นรูปพรหมใน ๑๐ ภูมิ คือ
เว้นสุทธาวาสภูมิ ๕ และอสัญญ
สัตตภูมิ ๑,
รูปพรหม
๑๐ ภูมินี้ ย่อมได้ปฏิสนธิจิต ๑๗
ดวง คือ
ก.
เกิดในอรูปพรหม
(ปฏิสนธิด้วย
อรูปาวจรวิบาก ๔)
ข.
เกิดในรูปพรหมอีก
(ปฏิสนธิด้วย
รูปาวจรวิบาก ๕)
ค.
เกิดในกามสุคติภูมิ
๗ (ปฏิสนธิด้วยมหาวิบาก
๘)
ย่อมเกิดเป็นไตรเหตุ
บ้าง ทวิเหตุบ้าง
แต่ไม่เกิดเป็นอเหตุกสัตว์
อนึ่งรูปพรหมที่เป็นพระอริยนั้น
จะไม่มาเกิดในกามภูมิอีกเลย
และไม่เกิดใน
รูปพรหมชั้นที่ต่ำกว่าด้วย
สำหรับพระอริยที่เป็นรูปพรหมในชั้นเวหัปผลาภูมิ
เมื่อยัง
ไม่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ก็ไม่เกิดย้ายไปภูมิอื่น
ต้องเกิดซ้ำอยู่ในชั้นเวหัปผลาภูมินั้น
จนกว่าจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์
และปรินิพพานในเวหัปผลาภูมินั้นเอง
จำพวกที่
๓ เป็นอสัญญสัตตพรหม
เมื่อจุติแล้วย่อมไปเกิดแต่ในกามสุคติภูมิ
๗ เท่านั้น เป็นไตรเหตุบ้าง
เป็นทวิเหตุบ้าง
๓.
เทวดาและมนุษย์จุตินั้น
ปฏิสนธิไม่เที่ยง
บางทีก็ไปเกิดในอบายภูมิบ้าง
ในมนุษย์บ้าง ในเทวดาบ้าง
ในรูปพรหมบ้าง
ในอรูปพรหมบ้างตามควรแก่บาป และ
บุญ
เป็นอันว่า
กามสุคติบุคคลจุตินั้น
ย่อมได้ปฏิสนธิทั้ง ๒๐*
เกิดได้ทั้ง
๓๑ ภูมิ
๔.
อบายสัตว์จุติ
ย่อมได้ปฏิสนธิจิต ๑๐ ดวง คือ
ไปเกิดในอบายอีกบ้าง
ในมนุษย์บ้าง ในเทวดาบ้าง
แต่ไม่สามารถไปเกิดในพรหมโลกชั้นหนึ่งชั้นใดเลย
ปฏิสนธิจิต
ภวังคจิต วิถีจิต และจุติจิต
ในภพนี้ ชาตินี้
สืบเนื่องกันฉันใด ในภพหน้า
ชาติหน้า
ก็เป็นเหมือนกันฉันนั้นอีก
บัณฑิตทั้งหลาย
พิจารณาเห็นสังขารนี้ว่า
ไม่ยั่งยืน เพียรให้ถึงซึ่ง ธรรมอัน
ไม่จุติ
ตัดขาดจากความเยื่อใยที่ผูกมัดอยู่เสียได้จนหมดสิ้นแล้ว
ก็ไม่ต้องสืบต่อภพ
ใหม่ชาติใหม่อีก ได้แต่เสวย วิมุตติสุข
อันประเสริฐกว่าสุขทั้งปวง
*
หมายเหตุ
ปฏิสนธิ ๒๐ คือ อุเบกขาสันตีรณจิต
๒ มหาวิบากจิต ๘ มหัคคตวิบากจิต ๙
และรูปปฏิสนธิ ๑
จบปริจเฉทที่ ๕ ชื่อวิถีมุตตสังคหวิภาค
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ