ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 ค้นหาหัวข้อธรรม
มนุษยภูมิ
มนุษยภูมิ
คือ ที่เกิด ที่อยู่
ที่อาศัยของมนุษย์ มีอยู่ ๔ ทวีป
คือ
๑.
บุพพวิเทหทวีป
อยู่ทางทิศ ตะวันออก ของภูเขาสิเนรุ
๒.
อปรโคยานทวีป อยู่ทางทิศ ตะวันตก ของภูเขาสิเนรุ
๓.
ชมพูทวีป
อยู่ทางทิศ ใต้
ของภูเขาสิเนรุ
๔.
อุตตรกุรุทวีป
อยู่ทางทิศ เหนือ
ของภูเขาสิเนรุ
มนุษย์
กล่าวโดยมุขยนัย นัยโดยตรงแล้ว
ก็ได้แก่ คนที่อยู่ในชมพูทวีป
คือ ที่ที่เราท่านอยู่กัน ณ
บัดนี้ แต่ถ้ากล่าวโดย
สทิสูปจารนัย นัยโดยอ้อมแล้ว
ก็ใช้ เรียกคนที่อยู่ในทวีปทั้ง
๓ ด้วย เพราะคนในทวีปทั้ง ๓ นั้น
มีรูปพรรณสัณฐาน เหมือน ๆ
กันกับคนที่อยู่ในชมพูทวีปนี้
คำว่า
มนุษย์
ซึ่งหมายถึง คน
หรือ เหล่าคน
นั้น เขียนตามแบบบาลี เป็น มนุสฺส
มาจาก มน(ใจ)
+ อุสฺส(สูง)
จึงรวมความหมายว่า
ผู้มีใจสูง
คือ รู้ผิดชอบ ชั่วดี
รู้บาปรู้บุญ
รู้จักมีเมตตากรุณา เป็นต้น
ความหมายของมนุษย์มีแสดงไว้หลายนัย
คือ
๑.
มนุษย์มีใจรุ่งเรืองและกล้าแข็ง
๒.
มนุษย์เข้าใจในสิ่งที่เป็นเหตุอันควรและไม่ควร
๓.
มนุษย์เข้าใจในสิ่งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์
๔.
มนุษย์เข้าใจในสิ่งที่เป็นกุสลและอกุสล
๕.
มนุษย์เป็นลูกของเจ้ามนุ
ที่ว่า
มนุษย์เป็นลูกของเจ้ามนุ นั้น
มีความหมายดังนี้ คือ
ในสมัยต้นกัปป์
ประชาชนได้เลือกพระโพธิสัตว์
ซึ่งขณะนั้นเป็นมนุษย์มีชื่อว่า
มนุ
ให้ขึ้นครองราชเป็นพระเจ้าแผ่นดินปกครองประเทศ
และถวายพระนามว่า พระ
เจ้ามหาสัมมตะ
พระเจ้ามหาสัมมตะทรงวางระเบียบแบบแผนกฏข้อบังคับอย่างเที่ยง
ธรรม
เพื่อให้ประชาชนประพฤติปฏิบัติตามประชาชนต่างก็มิได้ฝ่าฝืนเลย
คงกระทำ ตามนั้นทุกประการ
เหมือนหนึ่งว่า
บุตรที่ดีทั้งหลายได้ประพฤติตามโอวาทของบิดา
เหตุนี้จึงเรียกว่า มนุสส
หมายถึงว่า
เป็นลูกของพระเจ้ามนุ
มนุษย์ในชมพูทวีป
มีคุณลักษณะพิเศษกว่าอีก ๓ ทวีป
คือ
ก.
สูรภาว
มีจิตใจกล้าแข็งในการบำเพ็ญ
ทาน ศีล ภาวนา
ข.
สติมันต
มีสติตั้งมั่นในคุณพระรัตนไตร
ค.
พรหมจริยวาส
ประพฤติพรหมจรรย์ คือ อุปสมบทได้
อนึ่งมนุษย์ที่มีสภาพแตกต่างกันนั้น
มูลปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย
แสดงไว้ว่า
ฆ่าสัตว์
ไม่มีความกรุณา
เป็นเหตุให้ อายุสั้น
ไม่ฆ่าสัตว์
มีความกรุณา
เป็นเหตุให้ อายุยืน
เบียดเบียนสัตว์
เป็นเหตุให้ มีโรคมาก
ไม่เบียดเบียนสัตว์
เป็นเหตุให้ มีโรคน้อย
มักโกรธ
มีความคับแค้นใจมาก เป็นเหตุให้ ผิวพรรณทราม
ไม่โกรธ
ไม่มีความคับแค้นใจ เป็นเหตุให้ ผิวพรรณผุดผ่อง
มีใจประกอบด้วยความริษยาผู้อื่น เป็นเหตุให้ มีอานุภาพน้อย
มีใจไม่ริษยาผู้อื่น
เป็นเหตุให้ มีอานุภาพมาก
ไม่บริจาคทาน
เป็นเหตุให้ ยากจน
อนาถา
บริจาคทาน
เป็นเหตุให้ มีโภคสมบัติมาก
กระด้าง ถือตัว
เป็นเหตุให้ เกิดในสกุลต่ำ
ไม่กระด้าง
ไม่ถือตัว
เป็นเหตุให้ เกิดในสกุลสูง
ไม่อยากรู้
ไม่ไต่ถามผู้มีปัญญา เป็นเหตุให้ มีปัญญาน้อย
อยากรู้
หมั่นไต่ถามผู้มีปัญญา เป็นเหตุให้ มีปัญญามาก
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ