ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 ค้นหาหัวข้อธรรม
๒.
ภูมิของสัตว์ดิรัจฉาน
ภูมิของสัตว์ดิรัจฉาน
มีชื่อว่า ดิรัจฉานภูมิ
สัตว์ดิรัจฉาน มีความหมายว่า
เป็น สัตว์ที่ไปโดยส่วนขวาง
หรืออีกนัยหนึ่งว่า
เป็นสัตว์ที่เป็นไปขวางจากมัคคผล
ดิรัจฉานนี้
จัดเป็นภูมิหนึ่งต่างหากก็จริง
แต่ว่าไม่มีที่อยู่ที่อาศัยของตนเอง
เป็นส่วนเป็นสัดโดยเฉพาะ
คงอาศัยอยู่ในมนุษย์โลก
ส่วนในเทวโลกและพรหมโลก นั้น
ไม่มีสัตว์ดิรัจฉานไปอยู่ร่วมด้วยเลย
สัตว์ดิรัจฉาน
มีสัญญาที่ปรากฏหรือมีความเป็นอยู่และเป็นไปเพียง
๓ อย่าง เท่านั้น คือ
๑.
กามสัญญา รู้เสวยกามคุณ
๒.
โคจรสัญญา รู้จักกิน
(รวมทั้งรู้จักนอนด้วย)
๓.
มรณสัญญา รู้จักกลัวตาย
ส่วนอีกอย่างหนึ่ง
คือ ธัมมสัญญา
ความรู้จักผิดชอบ ชั่ว ดี
หรือรู้จักกุสล อกุสลนั้น
สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายไม่มี
เว้นแต่สัตว์ดิรัจฉานบางจำพวก
เช่น โพธิสัตว์ จึงมี ธัมมสัญญา
ปรากฏได้
สัตว์ดิรัจฉานมีจำนวนมากมายเหลือประมาณ
มากกว่ามนุษย์มากกว่ามากนัก
อยู่บนบกเหมือนมนุษย์ก็มี
อยู่ในน้ำก็มี
และมีมากกว่าอยู่บนบกหลายเท่า
รูปร่างก็
แตกต่างกันจนสุดจะพรรณนา
ส่วนขนาดใหญ่โตมากก็มี
เล็กจนแทบจะมองไม่เห็น ก็มี
ในที่สุดท่านจึงแยกประเภทของสัตว์ดิรัจฉานออกเป็น
๔ อย่างเท่านั้น คือ
๑.
อปทติรจฺฉาน
จำพวกดิรัจฉานที่ไม่มีขาเลยเช่น
ปลา งู ไส้เดือน เป็นต้น
๒.
ทฺวิปทติรจฺฉาน
จำพวกดิรัจฉานที่มี ๒ ขา ได้แก่
นก เป็ด ไก่ เป็นต้น
๓.
จตุปฺปทติรจฺฉาน
จำพวกดิรัจฉานที่มี ๔ ขา ได้แก่
ช้าง ม้า โค กระบือ เป็นต้น
๔.
พทุปฺปทติรจฺฉาน
จำพวกดิรัจฉานที่มีขามาก ได้แก่
กุ้ง ปู แมลงมุม ตะขาบ กิ้งกือ
เป็นต้น
อนึ่งบรรดาพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
นับตั้งแต่ได้รับพุทธพยากรณ์
เป็นต้นไป
แม้จะต้องไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
ก็จะไม่เกิดเป็นสัตว์ที่เล็กกว่า
นกกระจาบ และ
ไม่เกิดเป็นสัตว์ที่ใหญ่กว่าช้าง
สัตว์ดิรัจฉานที่อดอยากก็มี
ที่อ้วนพีก็มีมาก
ที่เดือดร้อนน้อยก็มีความสุขมากก็มี
เหมือนกันแต่มีจำนวนน้อย
ส่วนมากมักจะเดือดร้อนมาก
มีความสุขน้อยเหลือเกิน
สัตว์ดิรัจานมีโอกาสทำกุสลบ้าง
แต่มีโอกาสก่ออกุสลได้มากมายเหลือเกิน
ส่วน
สัตว์นรกแทบจะไม่มีโอกาสทำกุสลเลย
แต่ก็ยากที่จะมีโอกาสก่ออกุสลเหมือนกัน
เพราะมัวแต่ถูกทรมานอยู่
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ