ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 ค้นหาหัวข้อธรรม
หมวดที่
๓ กัมมจตุกะ
กรรม
คือ อะไรนั้น
มีพุทธพจน์ดังปรากฏในอัฏฐสาลินีอรรถกถาว่า
เจตนาหํ
ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ เจตยิตฺวา
กมฺมํ กโรติ กาเยน วาจาย มนสา
แปลเป็น ใจความว่า ภิกษุทั้งหลาย
เรา(ตถาคต)กล่าวว่า
เจตนานั่นแหละเป็นกรรม เมื่อมี
เจตนาแล้ว บุคคลย่อมทำกรรมโดย
ทางกาย ทางวาจา และทางใจ
หมายความว่า
เจตนา
คือ
ความตั้งใจกระทำที่เกี่ยวด้วย
กาย วาจา ใจ ทั้ง ทางดีและทางชั่ว นั่นแหละเป็นตัวกรรม
และเจตนาที่เป็นกรรม
ก็หมายเฉพาะแต่ กรรมในวัฏฏะ
อันได้แก่ เจตนาในอกุสลจิต ๑๒
และในโลกียกุสลจิต ๑๗ รวม เจตนา
๒๙ จัดเป็นกรรม ๒๙ เท่านั้นเอง
เว้นเจตนาในโลกุตตรกุสล ๔ คือ
เจตนา ในมัคคจิต ๔
ที่เว้น
เพราะเจตนาในมัคคกรรม
๔ เป็นกรรมที่ตัดวัฏฏะ
ตัดความเวียน
ว่ายตายเกิดจึงเหลือกรรมในวัฏฏะ
อันทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดเพียง
๒๙ เท่านั้น
ส่วนเจตนาในวิบากจิต
๓๖ ก็จัดเป็นกรรมไม่ได้
เพราะเจตนาในวิบากจิต
เป็นผลของกรรม ไม่ใช่ตัวกรรม
และเจตนาในกิริยาจิต ๒๐
ก็ไม่จัดเป็นกรรมในที่นี้
เพราะเจตนาในกิริยาจิตนั้นเป็นจิตที่สักแต่ว่ากระทำ
ไม่เป็นบุญเป็นบาป จึงไม่อาจ
ก่อให้เกิดผลอย่างใดขึ้นมาได้
ดังนั้นจึงไม่จัดเป็นกรรมในที่นี้อีกเหมือนกัน
กรรมจตุกะนี้
ท่านจัดเป็น ๔ พวก คือ
ก.
ชนกาทิกิจจ กิจการงานของกรรม
มีชนกกรรม เป็นต้น
ข.
ปากทาน
ลำดับการให้ผลของกรรม
ค.
ปากกาล
กำหนดเวลาให้ผลของกรรม
ง.
ปากฐาน
ฐานที่ให้เกิดผลของกรรม
ชนกาทิกิจจก็ดี
ปากทานก็ดี และปากกาลก็ดี รวม ๓
จำพวกนี้ เป็นการ แสดงตามสุตตันตนัย
คือตามนัยแห่งพระสูตร
อันเป็นการแสดงว่าโดยส่วนมาก
เป็นไปอย่างนั้น
ไม่จำกัดลงไปแน่นอนว่า
จะต้องเป็นอย่างนั้นเสมอไป
ส่วนจำพวก ที่ ๔ คือ ปากฐาน
เป็นการแสดงตามอภิธัมมนัย
คือตามนัยแห่งพระอภิธรรม
อันเป็นการแสดงว่า
จะต้องเป็นไปตามหลักนั้น ๆ
เสมอไปอย่างแน่นอน
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ