ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 ค้นหาหัวข้อธรรม
จตุตถฌานภูมิ
มี ๗ ภูมิ
๑๐.
เวหัปผลาภูมิ
เป็นที่ปฏิสนธิของปัญจมฌานวิบาก
หรือเป็นที่เกิด ที่อยู่
ของพรหมที่ได้ปัญจมฌาน
อันเป็นผลของปัญจมฌานกุสล
๑๑.
อสัญญสัตตภูมิ
เป็นที่ปฏิสนธิของปัญจมฌานวิบาก
หรือเป็นที่เกิด ที่อยู่
ของพรหมที่ได้ปัญจมฌาน
อันเป็นผลของปัญจมฌานกุสล
ที่เจริญสัญญาวิราคะ
ภาวนา
ต่อไปอีกโสดหนึ่งด้วย
ภูมิที่
๑๐ และ ๑๑ รวม ๒
ภูมินี้เป็นชั้นเดียวกัน
อยู่ในระดับเดียวกัน ไม่สูง
ไม่ต่ำกว่ากัน และ
อายุก็เท่ากันด้วย
๑๒.
อวิหาภูมิ
๑๓.
อตัปปาภูมิ
ทั้ง
๕ ภูมินี้ คือ สุทธาวาสภูมิ
๑๔.
สุทัสสาภูมิ
เป็นคนละชั้นกันทั้ง
๕ ภูมิและอยู่สูงต่ำกว่ากัน
๑๕.
สุทัสสีภูมิ
ตามลำดับ
ทั้ง ๕ ชั้น
๑๖.
อกนิฏฐาภูมิ
ผู้ที่จะไปปฏิสนธิในสุทธาวาสภูมิได้นั้น
จะต้องเป็นปัญจมฌานลาภีอนาคามิผล
บุคคล คือ
พระอนาคามีที่ได้ปัญจมฌานด้วย
เพราะว่าสุทธาวาสภูมินี้เป็นที่อยู่ของ
ผู้ที่มีจิตใจผุดผ่อง
ไม่ข้องอยู่ในกามคุณทั้ง ๕
อย่างเด็ดขาด
ดังนั้นบุคคลที่จะอยู่ในสุทธาวาสภูมิได้จึงมีเพียง
๓ บุคคลเท่านั้นคือ อนาคามิ
ผลบุคคล ๑,
อรหัตตมัคคบุคคล
๑ และอรหัตตผลบุคคล ๑ เท่านี้เอง (ข้อสำคัญ
๓
บุคคลนี้ต้องได้ถึงปัญจมฌานด้วย)
อนาคามิผลบุคคลเกิดขึ้นได้ในสุทธาวาสภูมิด้วยอำนาจปฏิสนธิ
ส่วนอรหัตต มัคคบุคคล
และอรหัตตผลบุคคล
เกิดขึ้นได้ในสุทธาวาสภูมินั้น
ไม่ใช่เกิดขึ้นได้ด้วย
อำนาจปฏิสนธิ
แต่เกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจวิปัสสนาภาวนาในปวัตติกาลที่สุทธาวาสภูมิ
นั้นเอง
เพราะปัญจมฌานลาภีอนาคามิผลบุคคลที่ไปปฏิสนธิในสุทธาวาสภูมิแล้ว
ก็
ต้องเจริญภาวนาจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์
และปรินิพพานในสุทธาวาสนั้นแหละ
ปัญจมฌานลาภีอนาคามิผลบุคคลที่เป็นมนุษย์
หรือเทวดา หรือพรหม ก็ตาม
เมื่อจุติแล้วจะปฏิสนธิในสุทธาวาสชั้นใด
ก็ย่อมแล้วแต่อินทรีย์ที่ได้เพียรบำเพ็ญ
ภาวนามา
ถ้าการที่เพียรบำเพ็ญภาวนามานั้น
มีกำลังนำด้วย สัทธา
ก็ปฏิสนธิใน
อวิหาภูมิ
มีกำลังนำด้วย วิริยะ
ก็ปฏิสนธิใน
อตัปปาภูมิ
มีกำลังนำด้วย สติ
ก็ปฏิสนธิใน
สุทัสสาภูมิ
มีกำลังนำด้วย สมาธิ
ก็ปฏิสนธิใน
สุทัสสีภูมิ
มีกำลังนำด้วย ปัญญา ก็ปฏิสนธิใน
อกนิฏฐาภูมิ
ตามที่ได้แสดงมาแล้วนี้คงจะเห็นได้แล้วว่า
รูปาวจรวิบากจิต ๕ ดวง ปฏิสนธิ
ได้ในรูปพรหมถึง ๑๖ ภูมิ พรหม ๑๖
ภูมินี้ แบ่งเป็นชั้นก็ได้ ๙ ชั้น
แต่ละชั้น
ก็อยู่สูงกว่ากันชั้นละ ๕,๕๐๘,๐๐๐
โยชน์ เท่า ๆ กัน ทุกชั้นตามลำดับ
ในรูปพรหมภูมิ
หรือในรูปภูมินี้
มีทิพย์สมบัติเช่นเดียวกับเทวภูมิ
กล่าวคือ ในเทวภูมิมี วิมาน
มีอาภรณ์พรรณ
อันเป็นเครื่องทรงต่าง ๆ
มีสวนไม้ใบ ไม้ดอก
มีสระโบกขรณีและมีต้นกัลปพฤกษ์
ที่ให้เกิดเป็นสุทธาโภชน์ในรูปพรหมก็มีเช่นกัน
เว้นแต่ต้นกัลปพฤกษ์ที่ให้เกิดเป็นสุทธาโภชน์นั้นไม่มี
เพราะพรหมไม่ต้องกินอาหาร
รูปพรหมทั้งหมดไม่ปรากฏว่าเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย
แต่รูปพรรณสัณฐาน นั้น
มีลักษณะคล้ายผู้ชาย
อนึ่ง
ในพรหมโลกชั้น อกนิฏฐาภูมิ
มีปูชนียสถานที่สำคัญอยู่แห่งหนึ่ง
ชื่อ ทุสสะเจดีย์
เป็นที่บรรจุเครื่องฉลองพระองค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ใน
ขณะที่ยังทรงเป็นพระสิทธัตถะราชกุมารทรง
ในเวลาออกจากพระนครไปทรงผนวช ท้าวฆฏิการะพรหม
เสด็จลงมาจากอกนิฏฐาภูมิ
นำเครื่องบริขารทั้ง ๘ มาถวาย
และรับเครื่องฉลองพระองค์ทั้งหมดนั้น
ไปบรรจุไว้ในทุสสะเจดีย์ที่กล่าวนี้
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ