ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 ค้นหาหัวข้อธรรม
๑.
การเกิดขึ้นของอกุสลกรรม
การเกิดขึ้นของอกุสลกรรมนั้น
เมื่อกล่าวโดยจิตตุปปาทะ
การเกิดขึ้นของจิต แล้วก็มี ๑๒
คือ อกุสลจิต ๑๒ ดวง อันได้แก่
โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ และ
โมหมูลจิต ๒
เมื่อกล่าวโดยกรรมทวาร
ทางที่ให้เกิดกรรมแล้ว ก็มี ๓ คือ
กระทำทางกาย ทวาร อันได้แก่
กายวิญญัตติ ก็เรียกว่า กายกรรม
หรือ กายทุจริต กระทำทางวจี ทวาร
อันได้แก่ วจีวิญญัตติ
ก็เรียกว่า วจีกรรม หรือ
วจีทุจริต และกระทำทาง มโนทวาร
ก็เรียกว่ามโนกรรม หรือ
มโนทุจริต
เมื่อกล่าวโดยกรรมบถ
ทางของการกระทำแล้วก็มี
๑๐ เรียกว่า อกุสล กรรมบถ ๑๐ หรือ
ทุจริต ๑๐ อันได้แก่
๑.
ปาณาติบาต
การฆ่าสัตว์
๒.
อทินนาทาน
การลักทรัพย์
๓.
กาเมสุมิจฉาจาร การล่วงประเวณี
ทุจริต
๓
ประการนี้ย่อมเกิดทางกายทวารเป็นกายกรรม
๓ หรือกายทุจริต ๓
๔. มุสาวาท
พูดปด
๕. ปิสุณาวาจา
พูดส่อเสียด
๖. ผรุสวาท
พูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาป
พูดจาเพ้อเจ้อไร้สาระ
ทุจริต
๔ ประการนี้ย่อมเกิดทางวจีทวาร
เป็นวจีกรรม ๔ หรือวจีทุจริต ๔
๘. อภิชฌา
เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๙.
พยาบาท
คิดปองร้ายเขา
๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
มีความเห็นผิด
ทุจริต
๓ ประการนี้ เกิดทางมโนทวาร
เป็นมโนกรรม ๓ หรือ มโนทุจริต ๓
อกุสลกรรมบถ
๑๐ หรือทุจริต ๑๐ อันได้แก่
กายกรรม ๓ หรือกายทุจริต ๓
วจีกรรม ๔ หรือวจีทุจริต ๔
และมโนกรรม ๓ หรือมโนทุจริต ๓ นี้
สำหรับ กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔
รวมเรียกว่า ทุจริต ๗ นั้น
ถ้าหากว่า กายปโยค
และ วจีปโยคแล้ว
ก็นับว่ายังไม่ล่วงกรรมบถ
ส่วนมโนทุจริต ๓ นั้น
เพียงแต่นึกแต่ คิดเท่านั้น
ก็เป็นอันล่วงกรรมบถแล้ว
กรรมใดที่ถึงกับล่วงกรรมบถ
กรรมนั้นสามารถส่งผลให้เป็นปฏิสนธิได้
แต่ว่า ถ้าไม่ถึงกับล่วงกรรมบถ
ก็เพียงแต่ให้ผลในปวัตติกาลเท่านั้น
กระทำอย่างไรจึงจะ
นับว่าล่วงกรรมบถนั้น
ต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นครบองค์แห่งกรรมบถหรือไม่
องค์และปโยคของอกุสลกรรมบถ ๑๐
นั้น ดังนี้
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ