ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 ค้นหาหัวข้อธรรม
หมวดที่
๔ มรณจตุกะ
มรณะ
แปลว่า จุติ
หรือ ดับ
หรือ ตาย
จำแนกได้เป็น ๓ ประเภท คือ
๑.
ขณิกมรณะ
การดับของรูปนามตามนัยของอุปปาทะ
ฐีติ ภังคะ
๒.
สมมติมรณะ
การดับ การตายของคน ของสัตว์
อันเป็นโวหารของโลกที่
ใช้กันทั่ว ๆ ไป อยู่เสมอ
๓.
สมุจเฉทมรณะ
การปรินิพพานของพระอรหันต์
มรณะจตุกะ
ที่จะกล่าวในหมวดนี้ กล่าวถึง
สมมติมรณะ และ สมุจเฉท มรณะ รวม ๒
ประเภทเท่านั้น
ส่วนขณิกมรณะไม่เกี่ยวข้องที่จะต้องพูดถึงในที่นี้
สมมติมรณะของคนและสัตว์
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ
ความตายของคนและสัตว์ นั้น
หมายถึง การสิ้นไปแห่งอนุบาลธรรม
๓ ประการ คือ
๑.
ความสิ้นไป
หมดไปแห่งอายุ คือ กัมมชรูป
๒.
ความสิ้นไป
หมดไปแห่งอุสมาเตโช
ซึ่งเป็นธาตุไฟที่ยังความอบอุ่นให้แก่
ร่างกาย
๓.
ความสิ้นไป
หมดไปแห่งวิญญาณ คือ ภวังคจิต (เฉพาะข้อนี้
ต้องเว้น อสัญญสัตต
เพราะไม่มีวิญญาณ)
มรณุปปัตติ
ความตายที่อุบัติขึ้นนั้นมี ๔
ประการดังนั้นจึงชื่อว่า มรณจตุกะ
ความตาย
๔ ประการนั้น ได้แก่
(๑)
อายุกขยมรณะ
ตายเพราะสิ้นอายุ
(๒)
กัมมักขยมรณะ
ตายเพราะสิ้นกรรม
(๓)
อุภยักขยมรณะตายเพราะสิ้นทั้ง
๒อย่าง(คือสิ้นทั้งอายุและสิ้นทั้งกรรม)
(๔)
อุปัจเฉทกมรณะ
ตายโดยยังไม่ทันสิ้นอายุ
และสิ้นกรรม
อายุกขยมรณะตายเพราะสิ้นอายุ
๑,
กัมมักขยมรณะตายเพราะสิ้นกรรม
๑
และอุภยักขยมรณะตายเพราะสิ้นทั้งอายุสิ้นทั้งกรรม
๑ มรณะทั้ง ๓ อย่างนี้เรียกว่า
กาลมรณะ คือ ถึงกาลเวลาที่ควรตาย
ส่วนอุปัจเฉทกมรณะ
ตายโดยยังไม่ทันสิ้นอายุและสิ้นกรรมนั้น
เรียกว่า อกาลมรณะ
คือยังไม่ถึงกาลเวลาที่ควรตาย
แต่มาตายลงเพราะภัยเพราะอันตราย
อย่างใดอย่างหนึ่ง
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ