ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

ที่ตั้งแห่งวิบากจิต (ปากฐาน)

ได้แสดงถึงการเกิดขึ้นของอกุสลกรรม และกุสลกรรมมาแล้วบัดนี้จะได้กล่าว ถึง ปากฐาน โดยตรงต่อไป

ปากฐาน อันแปลว่า ที่ตั้งแห่งวิบากจิต ก็คือ ฐานที่ตั้งแห่งการให้ผลของ กรรม หมายความว่า เมื่อได้กระทำกรรมใด ๆ แล้ว กรรมเหล่านั้นจะส่งผลเมื่อใด ให้เป็นอะไร ที่ไหนบ้าง

ที่ว่าจะส่งผลเมื่อใด หมายว่า จะส่งผลในปฏิสนธิกาล หรือในปวัตติกาล ถ้า ส่งผลในปฏิสนธิกาล ก็จะให้ผลในชาติหน้า ชาติต่อไป ไม่ใช่ในชาตินี้ ถ้าส่งผลใน ปวัตติกาล ก็จะให้ผลในชาตินี้ ซึ่งได้ปฏิสนธิมาแล้วก็ได้ หรือจะให้ผลในชาติหน้า ชาติต่อ ๆ ไป ภายหลังได้ปฏิสนธิแล้วก็ได้ การส่งผลในปฏิสนธิกาล นับว่าสำคัญ มาก เพราะเป็นการสืบต่อภพต่อชาติไปอีกตั้งชาติหนึ่งทั้งชาตินั้นทีเดียว ส่วนการส่ง ผลในปวัตติกาลนั้นเป็นชั่วคราว ชั่วขณะ ไม่ใช่ส่งผลอย่างนั้นไปตลอดทั้งชาติ

ที่ว่าให้เป็นอะไร หมายความว่า ให้ปฏิสนธิเป็นสัตว์ในอบาย หรือ เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา อินทร พรหม ในปวัตติกาลก็ให้ได้เห็นสิ่งที่ดี หรือไม่ดี ให้ได้ยินสิ่งที่ดี หรือไม่ดี เป็นต้น

ที่ว่า ที่ไหน หมายถึง ภูมิ

() อกุสลกรรม ๑๑ (เว้นอุทธัจจจิต) ย่อมส่งผลในปฏิสนธิกาลให้สืบต่อภพ ต่อชาติ โดยให้ไปเกิดในอบายภูมิ ๔ หมายความว่า ที่ต้องปฏิสนธิในอบาย เพราะ ได้กระทำอกุสลกรรม ๑๑ แม้แต่อย่างใดอย่างหนึ่งนั่นเอง

อกุสลกรรมทั้ง ๑๒ ย่อมส่งผลในปวัตติกาล ให้อกุสลวิบากจิต ๗ มีการเห็น สิ่งที่ไม่ดี ได้ยินสิ่งที่ไม่ดี เป็นต้น เกิดขึ้นในกามภูมิ ๑๑ และ รูปภูมิ ๑๕ (เว้น อสัญญสัตต)

ไม่ต้องกล่าวก็ได้ว่า ในรูปภูมิ ๑๕ นั้น อกุสลวิบากจิตเกิดได้เพียง ๔ คือ จักขุวิญญาณจิต โสตวิญญาณจิต สัมปฏิจฉันนจิต และ สันตีรณจิต เท่านั้น ส่วนอีก ๓ คือ ฆานวิญญาณจิต ชิวหาวิญญาณจิต และกายวิญญาณจิต นั้นไม่มี

ในข้อ () นี้มีที่ควรสังเกต คือ อุทธัจจจิตนั้น ไม่สามารถส่งผลในปฏิสนธิ กาลได้ เพียงแต่ส่งผลได้ในปวัตติกาลเท่านั้น ส่วนวิจิกิจฉาจิตนั้น ส่งผลได้ทั้งใน ปฏิสนธิกาล และ ปวัตติกาลด้วย ทั้งนี้มีหลักฐานอธิบายไว้ว่า

. กรรมที่จะส่งผลในปฏิสนธิกาลได้นั้น ต้องมีกำลังแรงยิ่งกว่าการส่งผลใน ปวัตติกาล สำหรับอุทธัจจจิต ไม่มีอกุสลเจตสิก เช่น โลภ โทส ทิฏฐิ มานะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ วิจิกิจฉา ซึ่งมีกำลังเป็นพิเศษ ช่วยส่งเสริมแต่อย่างใดไม่คงมี แต่เพียงโมจตุกะ ๔ ที่เป็นอกุสลเจตสิกสามัญ อันประกอบการงานอกุสลทั่ว ๆ ไป เท่านั้นเอง ดังนั้นอุทธัจจจิตจึงไม่มีกำลังแรงพอที่จะส่งผลในปฏิสนธิกาลได้ ผิดกับ วิจิกิจฉาจิต ซึ่งมีอกุสลเจตสิกที่มีกำลังพิเศษ คือ วิจิกิจฉาเจตสิก ช่วยอุดหนุน ส่งเสริมอยู่ จึงมีกำลังมากพอแก่การส่งผลในปฏิสนธิกาล

. ผู้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน ย่อมปิดอบายภูมิทั้ง ๔ ได้แน่นอน ก็พระ โสดาบันนั้นหาได้ประหาณอุทธัจจจิตไม่ จึงแสดงว่าอุทธัจจจิตนี้ไม่สามารถส่งผลให้ ปฏิสนธิได้ เพราะถ้าอุทธัจจจิตมีอำนาจส่งผลในปฏิสนธิกาลได้แล้ว ก็จะต้องไป เกิดในอบายภูมิ ถ้าเป็นเช่นนั้น พระโสดาบันก็ไม่พ้นอบายภูมิ ส่วนวิจิกิจฉานั้น สามารถส่งผลในปฏิสนธิกาลให้ไปเกิดในอบายภูมิได้ ดังนั้นจึงปรากฏว่าโสดาปัตติ มัคคต้องประหาณวิจิกิจฉาจิตได้เป็นสมุจเฉกแล้ว จึงได้ชื่อว่า ผู้นั้นสำเร็จเป็นพระ โสดาบัน มิฉะนั้นจะต้องไปเกิดในอบายภูมิอีก

อนึ่งในตอนนี้ อยากจะกล่าวอย่างธรรมดาสามัญอันเป็นการกล่าวโดยอัตโนมัติ ดังต่อไปนี้

อุทธัจจจิต เป็นจิตที่ซัดส่ายไปในอารมณ์หลายอย่าง ไม่ปักใจลงไปในอารมณ์ ใดอารมณ์หนึ่งอย่างแน่วแน่แต่อย่างเดียว กำลังจึงไม่แรงถึงกับทำให้เกิดเป็นผลขึ้น มาได้โดยสมบูรณ์ เปรียบเหมือนสานตระกร้า ยังไม่เสร็จก็หันไปสานกระจาด ยังไม่ ทันเป็นกระจาดก็หันไปสานกระบุงได้สักพักหนึ่ง ก็ย้ายไปสานปุ้งกี๋ อะไรทำนองนี้ เป็นอันว่ายังไม่ทันเป็นผลสำเร็จสักอย่างเดียว จึงไม่ได้ทั้งตระกร้า กระจาด กระบุง หรือปุ้งกี๋เลยสักอย่างเดียว เพราะว่าซัดส่ายยักย้ายเรื่อยไป กิจการนั้นจึงเกิดผลไม่ สมบูรณ์ฉันใด อุทธัจจจิตก็เป็นฉันนั้น คิดอย่างโน้นหน่อย กลับมาคิดอย่างนี้นิดแล้ว หวนไปคิดอย่างนั้นอีกต่อไป ความคิดนั้นพร่ำเพรื่อเลื่อนลอยไป ไม่มุ่งมั่น เพ่งเล็ง ถึงให้เกิดผลอย่างจริงจัง จึงทำให้ไม่เป็นโล้เป็นพาย ถึงกับให้เกิดเป็นผลอย่าง สมบูรณ์ขึ้นมาได้ เหตุนี้อุทธัจจจิตจึงไม่มีกำลังแรงมากพอที่จะส่งผลให้เป็นถึง ปฏิสนธิไปได้ ได้แต่เพียงให้ผลในปวัตติกาลเท่านั้นเอง

ส่วนวิจิกิจฉาจิต ถึงแม้จะเป็นจิตที่ลังเล สงสัย ไม่แน่ใจที่จะตัดสินเด็ดขาดลง ไปได้ก็จริง แต่ว่าถ้าคิดถึงอารมณ์นั้นขึ้นมาเมื่อใดเป็นลังเลสงสัยอยู่เมื่อนั้น เป็น ความสงสัยอย่างแรงกล้า ปักใจสงสัยอยู่นั้นเอง ไม่ถอนความสงสัยไปได้เลย อีก ประการหนึ่ง ความสงสัยต่าง ๆ ที่เรียกว่า วิจิกิจฉาจิตนี้ ก็เป็นความสงสัยที่ โน้มเอียง ไปในทางดูหมิ่นดูแคลนอยู่ เพราะความปักใจมุ่งมั่น สงสัยแล้วสงสัยอีก ด้วยอาการที่ โน้มเอียงไป ในทางดูแคลน นี่แหละจึงเป็นกำลังแรงถึงกับให้เกิดเป็น ผลสมบูรณ์ขึ้นมาได้ เหตุนี้วิจิกิจฉาจิตจึงมีกำลังแรง สามารถส่งผลให้ได้ทั้งใน ปฏิสนธิกาล และในปวัตติกาล

() มหากุสลกรรม ๘ ที่เกิดขึ้นโดยมีบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ เป็นที่ตั้งนั้น ย่อม ส่งผลในปฏิสนธิกาลให้สืบต่อภพต่อชาติ โดยให้เกิดเป็นมนุษย์ ในมนุสสภูมิ ๑ และ เป็นเทวดา ในเทวดาภูมิ ๖

ส่วนในปวัตติกาลนั้น มหากุสลกรรม ๘ ก็ส่งผลให้

. อเหตุกกุสลวิบาก ๘ ดวง เกิดขึ้นในกามภูมิ ๑๑ โดยทำหน้าที่ให้ได้เห็น สิ่งที่ดี ให้ได้ยินสิ่งที่ดี เป็นต้น

. อเหตุกกุสลวิบาก ๕ ดวง (คือ จักขุวิญญาณ ๑, โสตวิญญาณ ๑, สัมปฏิจฉันนะ ๑ และสันตีรณะ ๒ เฉพาะที่เป็นกุสลวิบาก) เกิดขึ้นในรูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ)

. มหาวิบาก ๘ ดวง เกิดขึ้นในกามสุคติภูมิ ๗ โดยทำหน้าที่ภวังคกิจ ตทาลัมพนกิจ และจุติกิจ

() อนึ่ง มหากุสลกรรม ๘ นี้ แม้ในมหากุสลกรรมอย่างเดียวกัน ก็อาจ ให้ผลต่างกันได้ ถ้าหากว่าเจตนาในการกระทำนั้นยิ่งหรือหย่อนกว่ากัน กล่าวคือ บุพพเจตนา ความตั้งใจก่อนกระทำ มุญจเจตนา ความตั้งใจในขณะกระทำ อปรเจตนา ความตั้งใจในเมื่อได้กระทำเสร็จแล้วใหม่ ๆ และ อปราปรเจตนา ความตั้งใจในเมื่อกระทำเสร็จแล้วไปนาน ๆ นั้น เป็นเจตนาที่ดีอยู่ทุกระยะ ก็นับว่า เป็นอุกกัฏฐะ คือ เป็นอย่างอุกฤษณ์เป็นอย่างยิ่ง ถ้าเจตนานั้นหย่อนไปบ้าง ก็เป็น โอมกะ ดังจะปรากฏรายละเอียดในภาพซึ่งจะแสดงในข้อ () ต่อไป

() ในมหากุสลกรรม ๘ นั้น กุสลกรรมชนิดที่เป็น ติเหตุกะ และเป็นอย่าง อุกกัฏฐะ ย่อมให้ปฏิสนธิที่เป็นชนิด ติเหตุกะ แล้วทำวิบากจิต ๑๖ เกิดเป็นผลใน ปวัตติกาล ดังมีบาลีในสังคหะแสดงไว้ว่า ตตฺถาปิ ติเหตุกมุกฺกฏฺฐ กุสลํ ติเหตุกํ ปฏิสนฺธิ ทตฺวา ปวตฺเต โสฬสวีปากานิ วิปจฺจต

() กุสลกรรมชนิดที่เป็นติเหตุกโอมกะ และชนิดที่เป็นทวิเหตุกะอุกกัฏฐะ ทั้ง ๒ ชนิดนี้นั้น ย่อมให้ปฏิสนธิที่เป็นชนิด ทวิเหตุกะ แล้วทำให้วิบากจิต ๑๒ (เว้นมหาวิบากญาณสัมปยุตตจิต ๔) เกิดเป็นผลในปวัตติกาล ดังมีบาลีในสังคหะ แสดงไว้ว่า ติเหตุกโมมกํ ทฺวิเหตุกมุกฺกฏฺฐญฺจ กุสลํ ทฺวิเหตุกํ ปฏิสนฺธึ ทตฺวา ปวตฺเต ติเหตุกรหิตานิ ทฺวาทสวิปากานิ วิปจฺจติฯ

() ส่วนกุสลกรรมชนิดที่เป็น ทวิเหตุกโอมกะ ย่อมให้ปฏิสนธิเป็น อเหตุก กุสลวิบากสันตีรณจิต ๑ ดวง นั่นเอง และทำให้อเหตุกกุสลวิบากจิต ๘ ดวง นั่นแหละเกิดเป็นผลในปวัตติกาล ดังมีบาลีในสังคหะแสดงไว้ว่า ทฺวิเหตุกโมมกํ ปน กุสลํ อเหตุกเมว ปฏิสนฺธํ เทติ ปวตฺเตจ อเหตุกวิปากาเนว วิปจฺจติฯ

() เมื่อสรุปแล้ว แสดงเป็นภาพได้ดังนี้

 

 

 บุพฺพ

 เจตนา

 มุญฺจ

 เจตนา

 อปร

 เจตนา

อปราปร

 เจตนา

 

ติเหตุก

ติเหตุก

อุกกัฏฐุกกัฏฐ

อุกกัฏโฐมก

ดี

ดี

ดี

ดี

ดี

ดี

ดี

ไม่ดี

ปฏิสนธิเป็นไตรเหตุ

ปวัตติได้วิบากจิต ๑๖

ติเหตุก

ติเหตุก

ทวิเหตุก

ทวิเหตุก

โอมกุกกัฏฐ

โอมโกมก

อุกกัฏฐุกกัฏฐ

อุกกัฏโฐมก

ไม่ดี

ไม่ดี

ดี

ดี

ดี

ดี

ดี

ดี

ดี

ไม่ดี

ดี

ดี

ไม่ดี

ไม่ดี

ดี

ไม่ดี

ปฏิสนธิเป็นทวิเหตุ

ปวัตติได้วิบากจิต ๑๒

ทวิเหตุก

ทวิเหตุก

โอมกุกกัฏฐ

โอมโกมก

ไม่ดี

ไม่ดี

ดี

ดี

ดี

ไม่ดี

ไม่ดี

ไม่ดี

ปฏิสนธิเป็นอเหตุก

ปวัตติได้วิบากจิต ๘

() พระมหาทัตตเถระ ซึ่งได้รับนับถือเป็นเกจิอาจารย์องค์หนึ่ง ได้แสดงมติ เกี่ยวกับอสังขาริกและสสังขาริกไว้ แม้พระอนุรุทธาจารย์จะไม่เห็นพ้องด้วยมตินั้น ถึงกระนั้นท่านก็ยังนำมาแสดงไว้ด้วย ปรากฏดังนี้

กุสลกรรมที่เป็นอสังขาริก ไม่ให้ผลเป็นสสังขาริกวิบาก และกุสลกรรมที่เป็น สสังขาริก ไม่ให้ผลเป็นอสังขาริกวิบากฯ

ตามนัยของเกจิอาจารย์นั้นย่อมเกิดวิบากจิต ๑๒,๑๐ และ ๘ ดวง โดยลำดับ ตามสมควร

มีความหมายตามนัยแห่งเกจิอาจารย์ ดังนี้

. ติเหตุกอุกัฏฐกุสลอสังขาริก ๒ ดวง ให้ผลเกิดขึ้น ๑๒ คือ อเหตุกกุสล วิบาก ๘ มหาวิบากอสังขาริก ๔

. ติเหตุกอุกัฏฐกุสลสสังขาริก ๒ ดวง ให้ผลเกิดขึ้น ๑๒ คือ อเหตุกกุสล วิบาก ๘ มหาวิบากสสังขาริก ๔

. ติเหตุกโอมกกุสลอสังขาริก ๒ ดวง และทวิเหตุกอุกกัฏฐกุสลอสังขาริก ๒ ดวง รวม ๔ ดวงนี้ ให้ผลเกิดขึ้น ๑๐ คือ อเหตุกกุสลวิบาก ๘ มหาวิบากญาณ วิปปยุตตอสังขาริก ๒

. ติเหตุกโอมกกุสลสสังขาริก ๒ ดวง และทวิเหตุกอุกกัฏฐกุสลสสังขาริก ๒ ดวง รวม ๔ ดวงนี้ ให้ผลเกิดขึ้น ๑๐ คือ อเหตุกกุสลวิบาก ๘ มหาวิบากญาณ วิปปยุตตสสังขาริก ๒

. ทวิเหตุกโอมกกุสลอสังขาริก ๒ ดวงและสสังขาริก ๒ ดวง รวม ๔ ดวง นี้ ให้ผลเกิดขึ้น ๘ คือ อเหตุกกุสลวิบาก ๘

 . เมื่อสรุปตามนัยของเกจิอาจารย์ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ แสดงเป็นภาพได้ ดังนี้ คือ

ติเหตุกอุกกัฏฐ

อสังขาริก ๒

สสังขาริก ๒

ได้มหาวิบาก

ได้มหาวิบาก

อสังขาริก ๔ อเหตุกกุสลวิบาก ๘

สสังขาริก ๔ อเหตุกกุสลวิบาก ๘

ติเหตุกโอมกะ

อสังขาริก ๒

สสังขาริก ๒

ได้มหาวิบาก

ญาณวิปปยุตต

อสังขาริก ๒ อเหตุกกุสลวิบาก ๘

สสังขาริก ๒ อเหตุกกุสลวิบาก ๘

ทวิเหตุกอุกกัฏฐะ

อสังขาริก ๒

สสังขาริก ๒

ได้มหาวิบาก

ญาณวิปปยุตต

อสังขาริก ๒ อเหตุกกุสลวิบาก ๘

สสังขาริก ๒ อเหตุกกุสลวิบาก ๘

ทวิเหตุกโอมกะ

อสังขาริก ๒

สสังขาริก ๒

ได้อเหตุกกุสลวิบาก ๘

ได้อเหตุกกุสลวิบาก ๘

() ฐานที่ตั้งแห่งผลของมหัคคตกุสลกรรมนั้น มีแสดงไว้ดังนี้

มหัคคตกุสลกรรมย่อมให้เกิดวิบาก กำหนดตามภูมิเหมือนกันทั้งในปฏิสนธิ กาล และปวัตติกาลฯ

มีความหมายว่า กุสลที่เจริญรูปฌาน อรูปฌานนั้น ย่อมส่งผลให้เกิด มหัคคต วิบากตามภูมิตามชั้น และเป็นวิบากที่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นในปฏิสนธิกาล หรือ ในปวัตติกาล

(๑๐) รูปาวจรกุสลกรรม ย่อมส่งผลในปฏิสนธิกาล ให้สืบต่อภพต่อชาติเป็น รูปพรหมบุคคลในรูปภูมิ ๑๖ ตามภูมิ ตามชั้นแห่งรูปฌานที่ตนได้ด้วยรูปาวจรวิบาก

และในปวัตติกาล ก็รูปาวจรวิบากนั่นแหละ เกิดขึ้นรักษาภพรักษาชาติ คือทำ หน้าที่ ภวังค ต่อไปก็ทำหน้าที่ จุติ อีกด้วย

รูปาวจรกุสลกรรมชั้นใด ส่งผลให้เกิดรูปาวจรวิบากชั้นไหนนั้น ได้แสดงแล้ว ข้างต้นตอนปฏิสนธิจตุกะ

(๑๑) อรูปาวจรกุสลกรรม ก็ย่อมส่งผลทั้งในปฏิสนธิกาล และในปวัตติกาล ให้เกิดอรูปาวจรวิบากตามภูมิตามลำดับ ดังที่ได้แสดงแล้วข้างต้นตอนปฏิสนธิจตุกะ นั้นเช่นเดียวกัน จึงไม่ต้องกล่าวซ้ำในที่นี้อีก


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...