ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

ปรมัตถธรรม คือ สิ่งที่มีเนื้อความอันไม่วิปริตผันแปรนั้นมีสภาวะ หรือมี   ลักษณะ ๒ อย่าง ได้แก่ สามัญญลักษณะ ๑ และวิเสสลักษณะ ๑

       ก. สามัญญลักษณะ เป็นลักษณะสามัญเป็นลักษณะธรรมดาที่ธรรมทั้งหลาย ที่สิ่งทั้งหลายมีเหมือน ๆ กัน เป็นลักษณะทั่ว ๆ ไป ที่ธรรมทั้งหลายจะต้องเป็นไป อย่างนั้น สามัญญลักษณะมี ๓ อย่าง คือ อนิจจลักษณะ ๑ ทุกขลักษณะ ๑ และ อนัตตลักษณะ ๑

  อนิจจลักษณะ เป็นสภาวะหรือเป็นลักษณะที่ไม่เที่ยง ไม่มั่นคง ไม่ยั่งยืน อยู่ได้ตลอดกาล

   ทุกขลักษณะ  เป็นสภาวะหรือเป็นลักษณะที่ทนอยู่ไม่ได้ จำต้องแตกดับ เสื่อมสลายไป

   อนัตตลักษณะ เป็นสภาวะหรือเป็นลักษณะที่ว่างเปล่า ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ หมายว่าจะให้เป็นไปตามใจชอบ หาได้ไม่

       เพราะเหตุว่า สามัญญลักษณะ มีสภาพ ๓ อย่าง ดังที่ได้กล่าวแล้วนี้ จึงได้ชื่อ ว่า ไตรลักษณ์

       จิต เจตสิก และรูป มีไตรลักษณ์ คือ สามัญญลักษณะ ครบบริบูรณ์ทั้ง ๓ อย่าง แต่นิพพานมีสามัญญลักษณะเพียง ๑ คือ อนัตตลักษณะเท่านั้น

       ส่วนบัญญัติธรรม ไม่มีสามัญญลักษณะ ๓ อย่าง คือ ไตรลักษณ์นี้แต่อย่าง หนึ่งอย่างใดไม่เพราะบัญญัติไม่ใช่ปรมัตถธรรมแต่เป็นบัญญัติธรรมคือ สมมติสัจจะ ที่สมมติขึ้นบัญญัติขึ้น ตามโวหารของโลกเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่มีเองเป็นเองแต่อย่างใด

       ข. วิเสสลักษณะ เป็นลักษณะพิเศษที่มีประจำ เป็นจำเพาะของสิ่งนั้นๆ เป็น สภาพพิเศษประจำตัวของธรรมแต่ละอย่างแต่ละชนิด ซึ่งมีไม่เหมือนกันเลย วิเสส ลักษณะมี ๔ ประการ คือ ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐาน

   ลักษณะ หมายถึง คุณภาพ เครื่องแสดงหรือสภาพโดยเฉพาะที่มีอยู่เป็น ประจำตัวของธรรมนั้น ๆ

   รสะ หมายถึง กิจการงาน หรือหน้าที่การงานของธรรมนั้น ๆ พึง กระทำตามลักษณะของตน รสะนี้ยังจำแนกออกได้เป็น ๒ คือ กิจจรส และ สัมปัตติรส

  กิจจรส เช่น ความร้อนของไฟมีหน้าที่การงานทำให้สิ่งของต่าง ๆ สุก

  สัมปัตติรส เช่น แสงของไฟ มีหน้าที่การงานทำให้สว่าง

      

   ปัจจุปัฏฐาน หมายถึงอาการที่ปรากฏจากรสะนั้น คือผลอันเกิดจากรสะ

   ปทัฏฐาน หมายถึง ปัจจัยโดยตรงที่เป็นตัวการให้เกิดลักษณาการนั้น ๆ เรียกว่า  เป็นเหตุใกล้ให้เกิด

       เพราะเหตุว่าวิเสสลักษณะนี้ มี ๔ ประการดังที่ได้กล่าวแล้วนี้ จึงได้ชื่อว่า  ลักขณาทิจตุกะ แปลความว่า ธรรมที่มีองค์ ๔ อันมีลักษณะ เป็นต้น

       จิต เจตสิก และ รูป มีลักขณาทิจตุกะ คือ วิเสสลักษณะครบบริบูรณ์ทั้ง    ๔ ประการ แต่นิพพานมีวิเสสลักษณะเพียง ๓ ประการ คือ ลักษณะ รสะ และ ปัจจุปัฏฐานเท่านั้น ไม่มีปทัฏฐาน เหตุใกล้ให้เกิด เพราะนิพพานเป็นธรรมที่พ้นจาก เหตุจากปัจจัยทั้งปวง

       ส่วนบัญญัติธรรมนั้น ไม่มีวิเสสลักษณะเลย เพราะบัญญัติไม่มีสภาวธรรมที่มี เองเป็นเอง เป็นการบัญญัติขึ้นตามความนิยมของชาวโลกเท่านั้นเอง

       คำว่า “รูป” นี้ ใน ปรมัตถทีปนีฎีกา กล่าวอธิบายไว้ว่า  รุปฺปนตีติ รูปํ  แปลว่า ธรรมชาติที่แตกดับหรือผันแปรนั้น เรียกว่า “รูป”

       เข้าใจง่าย ๆ ก่อนว่า สิ่งใดก็ตามถ้าแตกดับย่อยยับ ผันแปรไปด้วยอำนาจ ของความเย็น ความร้อน ก็รวมเรียกว่า “รูป” จัดเป็นรูปทั้งหมด

       รวมมีความหมายว่า

       รูป คือ ธรรมชาติที่ผันแปรแตกดับไปด้วยความเย็น และความร้อน     รูปในส่วนของปรมัตถที่มีชีวิตจิตใจครองที่จะรู้ว่าเป็นรูปได้นั้น อาศัยรู้ได้โดย วิเสสลักษณะ คือลักษณะพิเศษ ๔ ประการ คือ

       รุปฺปน ลกฺขณํ                     มีการสลายแปรปรวน เป็นลักษณะ

       วิกิรณ รสํ                         มีการแยกออกจากกัน(กับจิต)ได้ เป็นกิจ

       อพฺยากต ปจฺจุปฏฺฐานํ            มีความเป็นอพยากตธรรม เป็นอาการปรากฏ

       วิญฺญาณ ปทฏฺฐานํ              มีวิญญาณ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...