ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

โผฏฐัพพารมณ์

       โผฏฐัพพารมณ์ หมายถึง รูปที่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณจิต ได้แก่ ความเย็น ความร้อน ความอ่อน ความแข็ง ความหย่อน ความตึง ที่มากระทบ กับกายปสาท ซึ่งคำวิเคราะห์ศัพท์ว่า “ผุสิตพฺพนฺติ-โผฏฐพฺพํ” แปลว่า รูปที่ กายปสาทพึงถูกต้องได้ รูปนั้นชื่อว่า “โผฏฐัพพะ” โผฏฐัพพารมณ์ ๓ อย่าง คือ

       ๑. ปฐวีโผฏฐัพพารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ ปฐวีธาตุที่มีลักษณะแข็ง หรืออ่อน

       ๒. เตโชโผฏฐัพพารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ เตโชธาตุที่มีลักษณะร้อนหรือเย็น

       ๓. วาโยโผฏฐัพพารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ วาโยธาตุที่มีลักษณะหย่อนหรือตึง

       โผฏฐัพพารมณ์ คือ มหาภูตรูป ๓ ได้แก่ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ส่วนอาโปธาตุนั้นถูกต้องด้วยกายปสาทไม่ได้ จึงเป็นโผฏฐัพพารมณ์ไม่ได้ เพราะ อาโปธาตุนั้นเป็นธาตุที่รู้ได้ด้วยใจ จะรู้ด้วยประสาทอื่น ๆ ไม่ได้ จึงจัดอาโปธาตุนั้น เป็นธัมมารมณ์ เป็นอารมณ์ที่รู้ได้ด้วยการคิดนึกเข้าถึงเหตุผลเท่านั้น

       รูปารมณ์ ๑ สัททารมณ์ ๑ คันธารมณ์ ๑ รสารมณ์ ๑ และโผฏฐัพพารมณ์ ๓ รวม ๗ รูปนี้มีชื่อเรียกว่าวิสยรูป เพราะเป็นรูปที่เป็นที่อาศัยการรู้ของปัญจวิญญาณ จิตที่เกิดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น และ ทางกาย บางทีก็เรียกว่า โคจรรูป ที่เรียกว่าโคจรรูป ก็เพราะว่าเป็นรูปที่โคจรของจิตและเจตสิกนั่นเอง


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...