ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม
ตามนัยแห่งกำเนิด
กำเนิดบาลีว่าโยนิหมายถึงอาการที่เกิดใหม่ของสัตว์ทั้งหลายอีกนัยหนึ่งหมายความว่า
ที่ที่ปฏิสนธิวิญญาณอาศัยเกิด
หรือที่ที่สัตว์ทั้งหลายอาศัยเกิดมี ๔ อย่าง
๑. ชลาพุชกำเนิด ต้องอาศัยเกิดจากท้องมารดา
เกิดในมดลูก คลอดออกมา
เป็นตัวเลย แล้วค่อย ๆ
โตขึ้นตามลำดับ
สัตว์ที่เป็นชลาพุชกำเนิด
ได้แก่
ก.
มนุษย์
ข. เทวดาชั้นต่ำ
ค. สัตว์ดิรัจาน
ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต
คือ
เปรตจำพวกที่ถูกไฟเผาอยู่เสมอ)
จ. อสุรกาย
ที่เรียกว่าเทวดาชั้นต่ำ
ในที่นี้หมายถึงเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา
ที่เป็นภุมมัฏฐ เทวดา
คือเทวดาที่อาศัยอยู่บนพื้นแผ่นดิน
ไม่มีวิมานที่ลอยอยู่ในอากาศเป็นที่อยู่
ซึ่งมีชื่อว่า วินิปาติกอสุรา
และเวมานิกเปรต
เฉพาะพวกที่ปฏิสนธิด้วยอุเบกขา
สันตีรณกุสลวิบาก เท่านั้น
๒. อัณฑชกำเนิด คือเกิดในฟองไข่
ต้องอาศัยเกิดจากท้องมารดาเหมือนกัน
แต่มีฟองห่อหุ้ม
คลอดออกมาเป็นไข่ก่อน
แล้วจึงแตกจากไข่มาเป็นตัว
และค่อย ๆ เติบโตขึ้นตามลำดับ
สัตว์ที่เป็นอัณฑชกำเนิด ได้แก่
ก. มนุษย์ (มีมาในธัมมบทว่า
พระ ๒ องค์ที่เรียกกันว่า
ทเวพาติกเถระ
ซึ่งเป็นลูกของโกตนกินรี
เมื่อเกิดมาทีแรกออกมาเป็นฟองไข่ก่อน
แล้ว
จึงคลอดออกมาจากฟองไข่นั้นอีกทีหนึ่ง)
ข.
เทวดาชั้นต่ำ
ค. สัตว์ดิรัจฉาน
ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต)
จ. อสุรกาย
ชลาพุชกำเนิด
และอัณฑชกำเนิด ทั้ง ๒ นี้
รวมเรียกว่า คัพภเสยยกกำเนิด เพราะต้องอาศัยเกิดในครรภ์มารดาเหมือนกัน
ต่างกันแต่เพียงว่า
ออกมาเป็นตัวเลย
หรือออกมาเป็นฟองไข่ก่อน
แล้วจึงแตกเป็นตัวภายหลัง
๓. สังเสทชกำเนิด หมายถึงเกิดขึ้นในที่มีความเปียกชื้น
เกิดขึ้นโดยไม่ต้อง อาศัยบิดา
มารดา
ไม่ได้อาศัยเกิดจากท้องมารดา
เกิดขึ้นโดยอาศัย ต้นไม้ ผลไม้
ดอกไม้ ดอกบัว โลหิต
หรือที่เปียกชื้น เป็นต้น
เกิดมาก็เล็กเป็นทารก แล้วจึง ค่อย ๆ
เติบโตขึ้นมา
สัตว์ที่เป็นสังเสทชกำเนิด
ได้แก่
ก. มนุษย์ (เช่น
นางจิญจมาณวิกาเกิดจากต้นมะขาม นางเวฬุวดีเกิดจาก
ต้นไผ่ นางปทุมวดีเกิดจากดอกบัว โอรสของนางปทุมวดีรวม
๔๙๙ องค์ เกิดจากโลหิต เป็นต้น)
ข. เทวดาชั้นต่ำ
ค. สัตว์ดิรัจฉาน
ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต)
จ. อสุรกาย
๔. โอปปาติกกำเนิด หมายถึงเกิดขึ้นและใหญ่โตเต็มที่ในทันทีทันใดนั้นเลย
ทีเดียว
ไม่ต้องอาศัยเกิดจากท้องมารดา
ไม่ได้อาศัยสิ่งใดเกิด
อาศัยอดีตกรรมอย่าง เดียว
สัตว์ที่เป็นโอปปาติกกำเนิด
ได้แก่
ก. มนุษย์
มีในสมัยต้นกัปป์
ข. เทวดาทั้ง ๖
ชั้น (เว้นเทวดาชั้นต่ำ)
ค. พรหมทั้งหมด
ง. สัตว์นรก, สัตว์ดิรัจฉาน, อสุรกาย
จ. เปรต (รวมทั้งนิชฌามตัณหิกเปรตด้วย)
๕. หรือจะ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า
ก. มนุษย์ ๑ ภูมิ
ข. เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา
(เว้นเทวดาชั้นต่ำ) ๑ ภูมิ
ค. สัตว์ดิรัจฉาน
๑ ภูมิ
ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต) ๑ ภูมิ
จ. อสุรกาย ๑ ภูมิ
รวม
๕ ภูมินี้ มีกำเนิดได้ทั้ง ๔
๖. เทวดาชั้นต่ำ (เทวดาชั้นจตุมหาราชิกาที่เป็นภุมมัฏฐเทวดา) มีกำเนิดได้
เพียง ๓ คือ ชลาพุชกำเนิด
อัณฑชกำเนิด และสังเสทชกำเนิด
เท่านั้น
๗. เทวดาตั้งแต่ชั้นดาวดึงส์ขึ้นไป
๕ ภูมิ รูปพรหม ๑๖ ภูมิ อรูปพรหม ๔
ภูมิ นิชฌามตัณหิกเปรต ๑ ภูมิ
และสัตว์นรก ๑ ภูมิ
มีกำเนิดได้อย่างเดียว คือ
โอปปาติกกำเนิด
๘. ชลาพุชกำเนิด และ อัณฑชกำเนิด ทั้ง ๒
กำเนิดนี้ รวมเรียกว่า คัพภเสยยกกำเนิด นั้น
ย่อมเกิดได้เฉพาะในกามภูมิเท่านั้น
ในปฏิสนธิกาล
มีรูปเกิดได้ ๓ กลาป คือ
กายทสกกลาป มีรูป ๑๐ รูป, หทยทสกกลาปมีรูป
๑๐ รูป และภาวทสกกลาป(กลาปใดกลาปเดียว)มีรูป ๑๐ รูป
รวม ๓ กลาป เป็นรูป ๓๐ รูป
แต่ถ้านับรวมรูป (ซ้ำไม่นับ) ก็ได้เพียง ๑๕
รูป คือ อวินิพโภครูป ๘, ชีวิตรูป ๑, กายปสาทรูป ๑, หทยรูป ๑, อิตถีภาวรูปหรือ
ปุริสภาวรูป ๑, ปริจเฉทรูป ๑, อุปจยรูป ๑, และสันตติรูป ๑
รูปที่เกิดไม่ได้ในปฏิสนธิกาล
๑๓ รูป คือ ปสาทรูป ๔ (เว้นกายปสาทรูป), สัททรูป ๑, ภาวรูป (รูปใดรูปเดียว) ๑, วิญญัตติรูป ๒, วิการรูป ๓, ชรตารูป ๑, และ อนิจจตารูป
๑
ในปวัตติกาล
ถ้าไม่บกพร่องเลย
รูปก็เกิดได้ทุกกลาป คือ
กัมมชกลาป ๘ (เว้นอิตถีภาวทสกกลาป
หรือปุริสภาวทสกกลาป
กลาปใดกลาปหนึ่ง), จิตตชกลาป ๖, อุตุชกลาป ๔, อาหารชกลาป ๒, แต่เมื่อนับรวมรูป
(ซ้ำไม่นับ) ก็ได้ครบทั้ง
๒๗ รูป คือ ต้องเว้นภาวรูป
รูปใดรูปหนึ่งเสีย ๑ รูป
๙. สังเสทชกำเนิด และ โอปปาติกกำเนิด ถ้าเกิดในกามภูมิ
ในปฏิสนธิกาล
ก็มีกัมมชกลาปเกิดได้ทั้ง ๘ กลาป (เว้นภาวทสกกลาปเสีย
๑ กลาป
เพราะคงมีได้แต่เพียงกลาปเดียว) รวม ๗๙ รูป
แต่ถ้านับรวมรูป (ซ้ำไม่ นับ) ก็ได้ ๑๙ รูป
คือ อวินิพโภครูป ๘, ชีวิตรูป ๑, ปสาทรูป ๕, หทยรูป ๑, ภาวรูป (รูปใดรูปเดียว) ๑, ปริจเฉทรูป ๑, อุปจยรูป ๑, และ สันตติรูป
๑
รูปที่เกิดไม่ได้ในปฏิสนธิกาล
๙ รูป คือ สัททรูป ๑, ภาวรูป (รูปใดรูปเดียว) ๑, วิญญัตติรูป ๒, วิการรูป ๓, ชรตารูป ๑, อนิจจตารูป ๑
ในปวัตติกาล
ถ้าไม่บกพร่องเลย
ก็มีรูปเกิดได้ครบทั้ง ๒๗ รูป (เว้นภาวรูป
รูปใดรูปหนึ่งเสีย ๑ รูป)
อนึ่ง
โอปปาติกกำเนิด
ที่เกิดในกามภูมิ เฉพาะสัตว์นรก
และนิชฌามตัณหิก เปรตนั้น
ภาวรูปไม่มีทั้ง ๒ รูป เพราะสัตว์
๒ จำพวกนี้ ไม่มีเพศ
๑๐. โอปปาติกกำเนิด ที่เกิดในรูปพรหม ๑๕ ภูมิ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ)
ในปฏิสนธิกาล
มีรูปเกิดได้ ๔ กลาป คือ
จักขุทสกกลาป มีรูป ๑๐ รูป, โสตทสกกลาป
มีรูป ๑๐ รูป, หทยทสกกลาป
มีรูป ๑๐ รูป, ชีวิตนวกกลาป
มีรูป ๙ รูป รวมเป็น ๓๙ รูป
แต่ถ้านับรวมรูป (ซ้ำไม่นับ) แล้วคงได้ ๑๕
รูป คือ อวินิพโภครูป ๘, จักขุปสาทรูป ๑, โสตปสาทรูป ๑, หทยรูป ๑, ชีวิตรูป ๑, ปริจ เฉทรูป ๑, อุปจยรูป ๑, สันตติรูป ๑
ในปวัตติกาล
มีรูปเกิดได้อีก คือ สัททรูป ๑, วิญญัตติรูป ๒, วิการรูป ๓, ชรตารูป ๑, อนิจจตารูป ๑
รวม ๘ รูป
ส่วนรูปที่มีไม่ได้
เกิดไม่ได้เลย
ไม่ว่าในปฏิสนธิกาล
หรือในปวัตติกาลนั้น คือ
ฆานปสาทรูป ๑, ชิวหาปสาทรูป ๑, กายปสาทรูป ๑ ,ภาวรูป ๒ รวม ๕
รูป
๑๑. โอปปาติกกำเนิด ที่เกิดในอสัญญสัตตภูมิ
๑ ภูมิ นั้น
ในปฏิสนธิกาล
มีรูปเกิดได้กลาปเดียว คือ
ชีวิตนวกกลาป มีรูป ๙ รูป ได้แก่
อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป
๑
แต่เมื่อนับรูปทั้งหมดแล้ว
ก็ต้องนับปริจเฉทรูป ๑, อุปจยรูป ๑
และสันตติ รูป ๑
ซึ่งไม่นับเป็นองค์ของกลาปนั้นเพิ่มเข้าไปอีกด้วย
จึงเป็นรูปที่เกิดได้ใน
ปฏิสนธิกาล เป็นจำนวน ๑๒ รูป
ในปวัตติกาล
มีรูปเกิดได้อีก ๕ รูป คือ
วิการรูป ๓, ชรตารูป ๑ และ
อนิจจตารูป ๑
๑๒. โอปปาติกกำเนิด ที่เกิดในอรูปพรหมนั้น
ไม่มีรูปเกิดเลย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ