ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม
๓. เตโช
คำว่า
เตโชธาตุ หรือ เตโชรูป
เป็นรูปปรมัตถ
ซึ่งมีลักษณะร้อนหรือเย็น มีลักขณาทิจตุกะ
ดังนี้
อุณฺหตฺต
ลกฺขณา
มีความอบอุ่น
เป็นลักษณะ
ปริปาจน
รสา
ทำให้รูปเกิดร่วม
สุกงอม เป็นกิจ
มทฺทวานุปฺปาทน
ปจฺจุปฏฺฐานา ทำให้รูปที่เกิดร่วมด้วย
ให้อ่อนนิ่ม
เป็นผลปรากฏ
อวเสสธาตุตฺตย
ปทฏฺฐานา มีธาตุทั้ง
๓ ที่เหลือ เป็นเหตุใกล้
ธรรมชาติที่ทรงภาวะการสุกงอมก็ดีความอบอุ่นก็ดีที่มีในกายนั้นเรียก
เตโชธาตุ
ที่ว่า
เตโชธาตุ มีความร้อน (อุณฺห)
เป็นลักษณะนั้น
หมายถึงความเย็น(สีต) ด้วย
เพราะที่ว่าเย็นก็คือความร้อนมีน้อยนั่นเอง
เช่น ใช้คำว่า อุณฺหเตโช
หมายถึง
ความร้อนและใช้คำว่า สีหเตโช
หมายถึงความเย็น
ซึ่งมีคำว่า เตโช
อยู่ด้วยทั้งคู่
เตโชธาตุ
ธาตุไฟ แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
ก. ลกฺขณเตโช
หรือ ปรมตฺถเตโช
ได้แก่
ลักษณะของธาตุไฟที่มีสภาวะยืน
ให้พิสูจน์ด้วยการสัมผัสถูกต้องได้
มี ๒ ลักษณะ คือ
(๑) อุณหเตโช
มีลักษณะร้อน
(๒) สีหเตโช
มีลักษณะเย็น คือร้อนน้อย
ปรมัตถเตโช
เป็นเตโชธาตุชนิดหนึ่งเรียกว่าธาตุไฟและธาตุไฟในที่นี้
หมายถึง ธาตุไฟที่เป็นปรมัตถ
ซึ่งมีลักษณะร้อนหรือเย็น
ไม่ใช่ไฟที่มองเห็น
หรือใช้หุงต้มกัน อยู่ขณะนี้
และไฟที่เรามองเห็นกันอยู่นี้
เป็นไฟโดยสมมติ
ไม่ใช่ไฟโดยปรมัตถ ธาตุไฟโดยปรมัตถนั้น
ต้องหมายถึงลักษณะที่ปรากฏทางกายปสาท
เมื่อมีการ กระทบกันเกิดขึ้น
ความร้อนหรือเย็นนั่นแหละ
คือธาตุไฟ
เตโชธาตุนี้มองเห็นไม่ได้แต่กระทบได้
การที่เรามองเห็นได้นั้น
เป็นการเห็น ธาตุต่าง ๆ
ที่รวมกันเป็นปรมาณู
แล้วปรากฏเป็นความวิโรจน์ด้วยอำนาจของ
เตโชธาตุ
จึงปรากฏเห็นเป็นเปลวไฟลุกขึ้นมา
เปลวไฟที่เห็นนั้นไม่ใช่ธาตุไฟ แต่
เป็นรูปารมณ์หรือวรรณะรูป
คือรูปที่เห็นเป็นสีนั่นเอง
ดังนั้นความปรากฏของเตโชธาตุ
จึงหมายถึงไออุ่น
หรือไอเย็นที่สามารถรู้ได้
ด้วยปสาทกาย
และเตโชธาตุนี้มีหน้าที่เผา
ทำให้วัตถุต่าง ๆ สุก
และทำให้ละเอียด นุ่มนวล
อาหารต่าง ๆ
จะสุกได้นั้นต้องอาศัยความร้อน
หรือไออุ่นบางอย่างก็อาศัย
ไอเย็น คือ
ธรรมชาติใดที่ทำให้สุก
ธรรมชาตินั้นเรียกว่า เตโช
การเกิดขึ้นของเตโชธาตุ
อาศัยธาตุทั้ง ๓ ที่เหลือ
เป็นปัจจัย คือ
๑.
มีปฐวีธาตุ เป็นที่ตั้ง
๒.
มีอาโปธาตุ เกาะกุม
๓.
มีวาโยธาตุ กระพือพัด
ข. สสมฺภารเตโช
คือ
สัมภาระของไฟ แบ่งออกเป็น ๒ จำพวก
คือ
(๑)
อชฺฌตฺติกเตโช
ธาตุไฟภายใน
หมายถึงธาตุไฟอันเป็นส่วนประกอบ
ที่มีอยู่ในร่างกายที่มีวิญญาณ
มีอยู่ ๔ คือ
อุสมาเตโช
ไฟที่ทำให้ร่างกายอบอุ่นพอสบาย
เป็นอุณหเตโช มีเป็น ประจำ
และมีอยู่ทั่วร่างกาย
ปาจกเตโช
ไฟที่ย่อยอาหาร (ที่เราเรียกว่า
ไฟธาตุ) เป็นอุณหเตโช มีเป็นประจำ
และมีอยู่ที่ลิ้นจนถึงทวารหนัก
ชิรณเตโช
ไฟที่บ่มให้ร่างกายทรุดโทรมเหี่ยวแห้ง
เป็นทั้ง อุณหเตโช และสีตเตโช
มีเป็นประจำ
และมีอยู่ทั่วร่างกาย
สนฺตาปนเตโช
ไฟที่ทำให้ร้อนเป็นไข้ได้ป่วย
เป็นอุณหเตโช มีจรมา
เป็นครั้งคราว (อาคันตุกะ)
(๒) พาหิรเตโช
ธาตุไฟภายนอก
หมายถึงธาตุไฟอันเป็นส่วนประกอบที่มี
อยู่ในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ
มีอยู่มากมาย เช่น ไฟฟืน
ไฟเผาหญ้า ไฟแก๊ส ฯลฯ เป็นต้น
ค.
กสิณเตโช หรือ อารมฺมณเตโช
คือ ไฟที่เป็นนิมิตทั้งปวง
มีในบริกรรม นิมิต อุคคหนิมิต
และ ปฏิภาคนิมิต
ง.
ปกติเตโช หรือ สมฺมติเตโช
คือไฟตามธรรมดาที่ใช้ในการหุงต้มเป็นต้น
อนึ่ง
เตโชนี้แม้จะเป็นรูปธาตุที่ต้องอาศัยความสัมพันธ์ของธาตุอื่น
ๆ ก็ตาม
แต่ว่ามีประสิทธิภาพเหนือธาตุอื่น
ๆ
ตรงที่ว่าสัตว์ทั้งหลายอายุจะยืนหรือไม่
ก็ เพราะเตโชธาตุนี่แหละ เช่น
อุสมาเตโชให้ความอบอุ่นไม่พอ
ปาจกเตโชไม่พอย่อย อาหาร
เพียงเท่านี้
สัตว์ทั้งหลายก็จะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้แล้ว
อัชฌัตติกเตโช
คือเตโชธาตุภายใน
อีกนัยหนึ่งแสดงว่ามี ๕
อย่างดังจะแสดง โดยย่อ ต่อไปนี้
เตโชธาตุ กิจ ลักษณะ
ฐาน
๑.
อุสมาเตโช อบอุ่น
อุณหะ ทั่วกาย
๒.
ปาจกเตโช ย่อยอาหาร อุณหะ จากลิ้นถึงทวารหนัก
๓.
ชิรณเตโช บ่ม
อุณหะและสีตะ ทั่วกาย
๔.
สนฺตาปนเตโช ร้อน
อุณหะ อาคันตุกะ
๕.
ทาหนเตโช กระวนกระวาย อุณหะและสีตะ อาคันตุกะ
เป็นการแสดงเตโชธาตุที่ทำให้ร้อนเป็นไข้ได้ป่วยให้ละเอียดออกไปว่า
เป็นไข้
ได้ป่วยชนิดที่ร้อนอย่างเดียวนั้นประเภทหนึ่ง
และเป็นชนิดที่สะบัดร้อนสะบัดหนาว
จนถึงกับกระวนกระวายอีกประเภทหนึ่งเท่านั้นเอง
เตโชธาตุทั้ง
๕ นี้
มีประจำอยู่ในร่างกายที่มีวิญญาณก็มี
เป็นเตโชธาตุที่จะมา ก็มี เช่น
อุสมาเตโช และปาจกเตโช
เป็นธาตุไฟที่มีอยู่ประจำในร่างกายที่มีวิญญาณ
ส่วนสันตาปนเตโช ทาหนเตโช
ไม่มีอยู่ประจำ
เป็นอาคันตุกะจรมา ที่ปรากฏว่า
ร้อนจัดหรือกระวนกระวาย
ก็เพราะอุสมาเตโช
เกิดมีอาการผิดปกติด้วยอำนาจกรรม
บ้าง จิตบ้าง อุตุบ้าง
และอาหารบ้าง เป็นปัจจัยให้เกิดวิปริตผิดปกติไป
เช่น คนที่เป็นไข้
มีอาการตัวร้อนกว่าคนที่ไม่เป็นไข้
บางคนเป็นไข้มีความร้อนสูงมาก
ถึงกับเพ้อคลั่ง
ทั้งนี้ก็เนื่องมาจาก อุสมาเตโช
แปรสภาพเป็นสันตาปนเตโช นั่นเอง
จึงมีอาการตัวร้อนจัด
และสันตาปนเตโชแปรสภาพเป็นทาหนเตโช
จึงมีอาการร้อน จัดจนเพ้อคลั่ง
บางคนร้อนจัดจนร้องครวญคราง
ร้องให้คนช่วย
แต่ตัวผู้ร้องก็ไม่รู้
ปรอทวัดก็ไม่ขึ้น
แต่มีอาการร้องว่าร้อนจนคลุ้มคลั่ง
ทั้งนี้ก็เพราะร้อนด้วยอำนาจ
กรรมนั่นเอง
ส่วนความแก่ชราของคนและสัตว์ทั้งหลายที่ปรากฏนั้น
ก็เพราะอุสมา
เตโชที่มีอยู่ประจำในร่างกายคนและสัตว์นั่นเอง
เปลี่ยนสภาพเป็นชิรณเตโช เผาให้
ปรากฏอาการทรุดโทรม แก่ชรา
ผมหงอก ฟันหัก ตาฟาง
เนื้อหนังเหี่ยวย่น เป็นต้น
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ