ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม
จิตตสมุฏฐาน
จิตที่เป็นสมุฏฐานให้เกิดรูป
เรียกว่า จิตตสมุฏฐาน
จิตที่เป็นปัจจัยให้เกิดรูปนี้
ได้แก่ จิต ๗๕ ดวง เว้น
ก. ทวิปัญจวิญญาน
๑๐ เพราะเป็นจิตที่มีกำลังอ่อน
จึงไม่สามารถทำให้
จิตตชรูปเกิดขึ้นได้
ทวิปัญจวิญญาณเป็นจิตที่ได้องค์
(คือ เหตุ ฌาน มัคค) ไม่ สมประกอบ
จึงไม่สามารถทำให้จิตตชรูปเกิดได้
ทวิปัญจวิญญาณ
๑๐ ไม่มีองค์แห่งเหตุ
หมายความว่าทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐
นี้ ไม่มีสัมปยุตตเหตุ
คือไม่มีเหตุ ๖
ประกอบอยู่ด้วยเลย
แม้แต่เหตุเดียว
ทวิปัญจวิญญาณ
๑๐ ไม่มีองค์แห่งฌาน หมายความว่า
ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ นี้
ไม่มีแม้แต่วิตก
ซึ่งเป็นองค์ของฌานองค์แรก
ทวิปัญจวิญญาณ
๑๐ ไม่มีองค์แห่งมัคค
หมายความว่า ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐
นี้
ไม่เป็นทางนำไปสู่ทุคคติหรือสุคคติได้
เพราะไม่มีแม้แต่สังกัปปะ คือ
วิตก อันเป็นองค์แห่งมัคค
ด้วยเหตุดังกล่าวนี้
ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐
จึงไม่สามารถทำให้จิตตชรูปเกิดได้
คือมีกำลังอ่อนไม่พอที่จะเป็นจิตตสมุฏฐานิกรูป
หรือไม่พอให้เกิดจิตตชรูปได้
ข. อรูปาวจรวิบากจิต
๔
อันเป็นผลของอรูปาวจรกุสลซึ่งเจริญรูปวิราค
ภาวนา คือ ปรารถนาจะไม่ให้มีรูป
เพราะสำคัญว่ารูปนี้แหละเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ด้วย
อำนาจแห่งการเจริญรูปวิราคภาวนา
จึงได้รับผลเป็นอรูปาวจรวิบากจิต
ไปปฏิสนธิ ในอรูปภูมิ
อันเป็นภูมิที่ไม่มีรูปใด ๆ เลย
รวมทั้งไม่มีจิตตชรูปด้วย
ดังนั้นอรูปาวจร วิบากจิต ๔
จึงไม่เป็นสมุฏฐานให้เกิดรูป
ค. ปฏิสนธิจิตของสัตว์ทั้งปวง
ก็ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดจิตตชรูป
เพราะเป็นจิต
ที่เพิ่งเกิดเป็นขณะแรกในภพในชาตินั้น
ๆ เพิ่งตั้งตัว
ยังมีกำลังอ่อนอยู่ ไม่สามารถ
ทำให้จิตตชรูปเกิดได้
ง. จุติจิตของพระอรหันต์
ก็ไม่เป็นสมุฏฐานให้เกิดรูป
เพราะจิตนี้ไม่เป็น
ปัจจัยให้เกิดปฏิสนธิจิตอีกเลย
เป็นจิตที่ปราศจากกิเลสแล้ว
เมื่อทำหน้าที่จุติ จึงไม่
ทำให้จิตตชรูปเกิดได้อีกต่อไป
เพราะไม่ต้องการมีจิตอีกต่อไปแล้ว
รูปที่เกิดจากจิตก็
ย่อมมีไม่ได้
จิต
๗๕ ดวง ที่ทำให้เกิดจิตตชรูปนั้น
ก็ทำให้รูปเกิดได้เฉพาะอุปาทขณะของ
จิตนั้น ๆ เท่านั้น
เพราะอุปาทขณะของจิต
เป็นขณะที่จิตมีกำลังแรงมาก
ส่วนฐีติ
ขณะของจิตและภังคขณะของจิตนั้น
กำลังตก กำลังอ่อนเสียแล้ว
ไม่มีกำลังพอที่จะ
ทำให้จิตตชรูปเกิดขึ้นได้
จิตตชรูป
๑๕ คือ
รูปที่เกิดจากจิต มี ๑๕ คือ
วิญญัตติรูป ๒ (กายวิญญัตติรูป
วจีวิญญัตติรูป)
สัททรูป ๑
วิการรูป
๓ (ลหุตารูป
มุทุตารูป กัมมัญญตารูป)
ปริจเฉทรูป
๑
อวินิพโภครูป
๘ (มหาภูตรูป ๔, วัณณะรูป
๑, คันธะรูป
๑,
รสะรูป ๑, โอชารูป
๑)
รวมเป็น
๑๕ รูป ที่เกิดจากจิต และทั้ง ๑๕
รูปนั้น มี วิญญัตติรูป ๒
เท่านั้นที่เกิดจากจิตโดยสมุฏฐานเดียว
รูปที่เกิดจากจิต
ซึ่งเรียกว่าจิตตชรูปนั้น
มีทั้งหมด ๑๕ ดังกล่าวแล้ว จิตที่
ทำให้เกิดรูปได้ทั้ง ๑๕ นั้น
ได้แก่ จิต ๗๕ ส่วนจิตอะไร
ทำให้เกิดรูปอะไรได้บ้าง
มีรายละเอียดดังนี้
๑.
จิตที่ทำให้เกิดจิตตรูปสามัญ
(คือจิตตชรูปที่เป็นไปอย่างธรรมดาตามปกติ
เช่น การหายใจเข้าหายใจออก
หัวใจเต้น หน้าแดง หน้าซีด
เป็นต้น ซึ่งเกิดรูป
เพียงอวินิพโภครูป ๘ เท่านั้น)
เกิดขึ้นได้นั้น ได้แก่ จิต ทั้ง
๗๕ ดวง คือ
อกุสลจิต
๑๒ (โลภะ ๘ โทสะ ๒ โมหะ
๒)
อเหตุกจิต
๘ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ
๑๐)
กามโสภณจิต
๒๔ (มหากุสล ๘
มหาวิบาก ๘ มหากิริยา ๘)
มหัคคตจิต
๒๓ (เว้นอรูปาวจรวิบาก
๔)
โลกุตตรจิต
๘
๒.
จิตที่ทำให้อิริยาบถใหญ่ทั้ง ๔
ตั้งมั่น ได้แก่ การยืน เดิน นั่ง
นอน ได้เป็นปกติ และนานได้ มีจิต
๕๘ คือ
มโนทวาราวัชชนจิต
๑
กามชวนจิต
๒๙
(อกุสล ๑๒ มหากุสล ๘ มหากิริยา ๘
หสิตุปปาทะ
๑)
อภิญญาจิต
๒ (ของปุถุชน
๑ อริยบุคคล ๑)
อัปปนาชวนจิต
๒๖ (จิตที่ได้ฌานแล้ว)
๓.
จิตที่ทำให้เคลื่อนไหว
อิริยาบถน้อย และ
การพูดการอ่านหนังสือ ร้องเพลง
การคู้ การเหยียด การก้ม การเงย
การเหลียวซ้ายแลขวา การก้าวหน้า
การถอยหลัง การกระพริบตา
การอ้าปาก การเคี้ยว การกินอาหาร
ฯลฯ
จิตที่ทำให้รูปเคลื่อนไหวอิริยาบถน้อย
เป็นไปดังกล่าวแล้วมีจิต ๓๒ ดวง
คือ
มโนทวาราวัชชนจิต
๑
กามชวนจิต
๒๙
อภิญญาจิต ๒
๔.
จิตที่ทำให้การร้องไห้เกิดขึ้น
ได้แก่ การร้องไห้ เสียใจ
เศร้าโศก รำพึง รำพัน
จิตที่ทำให้รูปดังกล่าวเกิดขึ้นได้ก็คือ
โทสมูลจิต ๒
๕.
จิตที่ทำให้เกิดการยิ้ม
การหัวเราะเกิดขึ้น ได้แก่ จิต ๑๓
ดวง คือ
โสมนัสโลภมูล
๔
โสมนัสหสิตุปปาทะ
๑ (เกิดในพระอรหันต์เท่านั้น)
โสมนัสมหากุสล
๔
โสมนัสมหากิริยา
๔ (เกิดในพระอรหันต์เท่านั้น)
ปุถุชน
ยิ้มและหัวเราะ ด้วยจิต ๘ ดวง คือ
โสมนัส
โลภมูล
๔
โสมนัส
มหากุสล
๔
พระเสกขบุคคล
๓ ยิ้มและหัวเราะ ด้วยจิต ๖ ดวง
คือ
โสมนัส
โลภมูล ทิฏฐิคตวิปปยุตต ๒
โสมนัส
มหากุสล
๔
พระอเสกขบุคคล
ยิ้มแย้ม ด้วยจิต ๕ ดวง คือ
โสมนัส
หสิตุปปาทะ ๑
โสมนัส
มหากิริยา ๔
การยิ้มของพระอรหันต์นั้น
ถ้าอารมณ์เป็น อโนฬาริก
คือ เป็นอารมณ์ที่
ละเอียด
อันบุคคลธรรมดาไม่สามารถรู้ได้
ขณะนั้นยิ้มแย้มด้วย หสิตุปปาทะ
ถ้าอารมณ์เป็น
โอฬาริก
คือ เป็นอารมณ์ที่หยาบ
หมายความว่า เป็นอารมณ์
ธรรมดาที่บุคคลทั่วไปก็สามารถรู้ได้นั้น
ขณะนั้นยิ้มแย้มด้วย
โสมนัสมหากิริยา
พระอรหันต์เพียงแต่ยิ้มแย้ม
ไม่ถึงกับหัวเราะ พระอานาคามี
พระสกทาคามี และ พระโสดาบัน
แม้แต่จะหัวเราะก็พอประมาณ
ไม่ถึงกับตัวโยกโคลง ส่วนปุถุชน
นั้นปล่อยเต็มที่ จนงอหาย
และถึงตายก็มี
จิตตชรูป
คือ รูปที่เกิดจากจิตโดยแน่นอน
(เอกันตะ) นั้นมี ๒ รูป คือ
วิญญัตติรูป ๒ ได้แก่ กายวิญญัตติ
และวจีวิญญัตติ หมายความว่า
การเคลื่อนไหว
ทางร่างกายและการพูดจากันนั้น
ย่อมมีอยู่ในสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น
เพราะการเคลื่อน ไหวร่างกาย
และการพูดนั้น
เกิดจากจิตโดยสมุฏฐานเดียว
จิตตชรูป
คือ รูปที่เกิดจากจิต
โดยไม่แน่นอน (อะเนกันตะ) นั้นมี
๑๓ คือ
สัททรูป
๑ (รูปเสียง)
วิการรูป
๓ (ลหุตารูป, มุทุตารูป, กัมมัญญตารูป)
ปริจเฉทรูป
๑
อวินิพโภครูป
๘ (มหาภูตรูป ๔, วัณณรูป
๑, คันธรูป
๑,
รสรูป ๑, โอชา ๑)
ในตัวคนเราและสัตว์ทั้งหลายนั้น
มีกัมมชรูป ๑๘ เป็นที่ตั้ง
เป็นฐานมี จิตตชรูป คือ
รูปที่เกิดจากจิตเป็นพลังงานของจิตให้ปรากฏเป็นรูปเคลื่อนไหว
รูป เปลี่ยนไปอยู่ในท่าต่าง ๆ
เช่น รูปอยู่ในท่านั่ง นอน ยืน
ก้าวไป เหลียวซ้าย แลขวา
การเหยียด การคู้ ฯลฯ ต่าง ๆ
เหล่านี้เกิดจากจิต
เป็นไปตามความต้องการของจิต
จึงเรียกว่ากายวิญญัตติ ถ้าเป็นการพูด
การกล่าวทางวาจา ก็เรียกว่าวจีวิญญัตติ ทั้งกายวิญญัตติ
และวจีวิญญัตติ
ก็เป็นรูปที่เกิดจากจิต
เป็นพลังงานของจิต เมื่อจิต
ต้องการนั่ง รูปนั่งก็เกิด เมื่อจิตต้องการเฉย
ๆ รูปเฉย ๆ ก็เกิด เมื่อจิตต้องการให้
รูปเหยียด รูปเหยียดก็เกิด
รวมความแล้ว
การเคลื่อนไหวของรูปเกิดจากจิต
จึงเรียกว่า จิตตชรูป
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ