ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม
อุตุชกลาป
๔
อุตุชกลาป
คือ
กลุ่มรูปที่เกิดจากอุตุ
มีอุตุเป็นสมุฏฐาน
การเกิดขึ้นของกลุ่ม
รูปที่เกิดจากอุตุนี้เรียกว่า
อุตุชกลาป และอุตุชกลาปนี้
เกิดได้ทั้งในสิ่งที่มีชีวิตและ
ไม่มีชีวิต
สำหรับที่เกิดในสัตว์ที่มีชีวิตนั้นมี
๔ กลาป คือ
๑. สุทธัฏฐกกลาป
มีอวินิพโภครูป ๘
รวม ๘
รูป
๒. สัททนวกกลาป
มีอวินิพโภครูป ๘ สัททรูป ๑
รวม ๙
รูป
๓. ลหุตาทิเอกาทสกกลาป
มีอวินิพโภครูป ๘ วิการรูป ๓ รวม
๑๑ รูป
๔. สัททลหุตาทิทวาทสกกลาป
มี อวินิพโภครูป ๘ สัททรูป ๑
และ วิการรูป ๓
รวม ๑๒
รูป
ความหมายของอุตุชกลาป
๑.
สุทธัฏฐกกลาป ได้แก่
ร่างกายของสัตว์ทั้งหลายนั้นเอง
เพราะอุตุชกลาป นั้น
เป็นกลาปที่เป็นพื้นรองรับกลาปอื่น
ๆ อีกที่หนึ่ง
ถ้าไม่มีอุตุชกลาปแล้ว กลาป อื่น
ๆ ก็ไม่สามารถปรากฏได้
และสุทธัฏฐกกลาปนี้เกิดมีได้ทั้งภายนอก
หมายถึง สิ่งที่ไม่มีชีวิต
และเกิดมีได้ทั้งภายใน
หมายถึงสิ่งที่มีชีวิตด้วย
และสุทธัฏฐกกลาปนี้
เกิดเมื่อเวลาที่ร่างกายของสัตว์ไม่เป็นปกติ เช่น ป่วย ไม่สบาย
อ่อนเพลีย เป็นต้น
สุทธัฏฐกกลาปที่เกิดมีได้ในสิ่งที่ไม่มีชีวิต
คือวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ทั้งหลาย
เช่น ภูเขา ต้นไม้ โต๊ะ เก้าอี้
เป็นต้น ย่อมมีสุทธัฏฐกกลาป
คืออวินิพโภครูป ๘ เท่านั้น
สุทธัฏฐกกลาป
หรือ อวินิพโภครูป ๘
ที่เกิดมีได้ในสิ่งที่มีชีวิต
ก็คือ รูปร่าง
กายตัวตนของสัตว์นี่เอง เพราะอุตุชกลาปนี้เป็นกลาปที่เป็นพื้นฐานในการรักษารูป
เหล่านั้นมิให้เน่าเปื่อยไป
ถ้าไม่มีอุตุชกลาปนี้แล้ว
กลาปอื่น ๆ เช่น กัมมชกลาป
เป็นต้น
ก็ไม่สามารถปรากฏตั้งอยู่ได้
สุทธัฏฐกกลาปภายใน
เกิดเมื่อเวลาที่ร่างกายของสัตว์นั้น
ๆ ไม่เป็นปกติ เช่น
ในเวลาที่ไม่สบาย อ่อนเพลีย
เป็นต้น
สุทธัฏฐกกลาปนี้
เมื่อมีวิการรูป ๓ เกิดร่วมด้วย
ก็เรียกว่า ลหุตาทิเอกาทสก กลาป
เกิดขึ้นเมื่อร่างกายของสัตว์เป็นปกติ
สบาย ไม่อ่อนเพลีย มีความเบา ความ
อ่อน ความควรเกิดขึ้น
๒.
สัททนวกกลาป เป็นรูปกลาปที่เกิดขึ้นจากอุตุ
เกิดมีได้ทั้งภายนอกและ ภายใน
คือ
เกิดมีได้ทั้งในสิ่งที่ไม่มีชีวิต
และในสิ่งที่มีชีวิต
ที่เกิดมีได้ในสิ่งที่ไม่มีชีวิต คือ เสียงลมพัด
ฟ้าร้อง เสียงน้ำไหล เสียงคลื่น
เสียงเรือ เสียงรถ เสียงฆ้อง กลอง
ระฆัง เป็นต้น
ที่เกิดมีได้ในสิ่งที่มีชีวิต
คือ เสียงกรน เสียงท้องลั่น
ท้องร้อง เสียงตบมือ ดีดนิ้ว
เป็นต้น ซึ่งเสียงต่าง ๆ เหล่านี้
ไม่ชัดเจนนัก
สัททนวกกลาปนี้
เมื่อมีวิการรูป ๓
เกิดร่วมอยู่ด้วย ก็เรียกว่า
สัททลหุตา ทิทวาทสกกลาป ได้แก่
เสียงต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว
แต่เป็นเสียงที่ปรากฏชัด
มีความแจ่มใส ชัดเจน นั่นเอง
๓.
ลหุตาทิเอกาทสกกลาป เป็นรูปกลาปที่เกิดจากอุตุ
เกิดมีได้เฉพาะ แต่ภายใน คือ
เกิดได้เฉพาะในสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น
จึงจะมีวิการรูป ๓
เกิดร่วมด้วยได้
แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตแล้ว
ไม่มีวิการรูป ๓ เกิดร่วมด้วย
ลหุตาทิเอกาทสกกลาป
เกิดเมื่อเวลาที่ร่างกายของสัตว์นั้นๆ
เป็นปกติ สบาย แข็งแรง
หรือจะพูดว่า
ถ้าเป็นปกติ สบาย แข็งแรง
ก็มีทั้งสุทธัฏฐกกลาป คือ อวินิพ
โภครูป ๘ และมีวิการรูป ๓
เกิดร่วมด้วยรวมเป็น ๑๑
รูปด้วยกัน ถ้าเวลาที่ร่างกาย
ไม่ปกติ คือ ไม่สบาย อ่อนเพลีย
ก็มีแต่เพียงสุทธัฏฐกกลาป คือ
อวินิพโภครูป ๘ เกิดขึ้นเท่านั้น
๔.
สัททลหุตาทิทวาทสกกลาป เป็นรูปกลาปที่เกิดจากอุตุ
เกิดมีได้แต่ เฉพาะภายใน
คือเกิดได้เฉพาะในสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น
เพราะสิ่งที่ไม่มีชีวิต
ไม่สามารถ จะมีวิการรูป ๓
เกิดร่วมด้วยได้เลยเป็นอันขาด
ที่เกิดมีได้แต่ในสิ่งที่มีชีวิตนั้น
ก็ได้แก่ เสียงต่าง ๆ คือ
เสียงกรน เสียงท้อง ลั่น ท้องร้อง
เสียงตบมือ ดีดนิ้ว ฯลฯ
ซึ่งเสียงต่าง ๆ เหล่านี้
จะปรากฏชัด มีความ แจ่มใสชัดเจน
ในร่างกายของสัตว์ทั้ง
๓ ส่วนนั้น อุตุชกลาปย่อมเกิดได้
สำหรับสุทธัฏฐก กลาป และ
ลหุตาทิเอกาทสกกลาปนั้น
เกิดประจำอยู่แล้ว
ส่วนสัททนวกกลาป
และสัททลหุตาทิทวาทสกกลาปนั้น
เกิดเป็นบางเวลา ไม่ใช่ประจำ
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ