ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

๕. จักขุปสาทรูป

       จักขุปสาท คือ ดวงตาของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายนั่นเอง เรียกว่า มังสจักขุ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ได้แก่

       ๑. สสมฺภารจกฺขุ คือ ส่วนต่าง ๆ ที่ประชุมกันอยู่ทั้งหมดเรียกว่า “ดวงตา” ซึ่งมีทั้งตาขาวและตาดำ มีก้อนเนื้อเป็นฐานรองรับปสาทจักขุไว้

       ๒. ปสาทจักขุ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “จักขุปสาท” คือ ความใสของมหา ภูตรูปอันเกิดจากกรรม ที่ตั้งอยู่บนกลางตาดำ

       ดวงตาทั้งหมดไม่ชื่อว่า จักขุปสาท ที่เรียกว่าจักขุปสาทนั้นก็คือ ธรรมชาติ ที่เป็นรูปชนิดหนึ่ง เกิดจากกรรม มีความใสดุจเงากระจก เป็นเครื่องรับรูปารมณ์ ตั้งอยู่ระหว่างตาดำมีหลักฐานแสดงไว้ชัดว่า เป็นเยื่อบางๆ ซับซ้อนกันอยู่ถึง ๗ ชั้น ประดุจปุยนุ่นที่ชุ่มด้วยน้ำมันงาชุ่มอยู่ทั้ง ๗ ชั้น โตประมาณเท่าศีรษะของเหา มี หน้าที่ให้สำเร็จกิจ ๒ อย่าง คือ

(๑) เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณจิต ๒

(๒)  เป็นทวาร   คือ ทางแห่งการรับรู้อารมณ์ของจักขุทวารวิถีจิตในปัญจ          ทวารวิถี

       จักขุปสาทรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

       รูปาภิฆาตารหภูตปฺปสาท ลกฺขณํ      มีความใสของมหาภูตรูปที่กระทบ                                                    รูปารมณ์ เป็นลักษณะ

       รูเปสุ อาวิญฺฉน รสํ                     มีการชักดึงมาซึ่งรูปารมณ์ เป็นกิจ

       จกฺขุวิญฺญาณสฺส อาธารภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ    มีการรองรับซึ่งจักขุวิญญาณ                                                              เป็นผล

       ทฏฺฐกามตานิทานกมฺมชภูต   ปทฏฺฐานํ             มีมหาภูตรูปอันเกิดจาก                              กรรม(รูปตัณหา) มีความใคร่ที่จะเห็นรูปารมณ์ เป็นเหตุใกล้

       อนึ่ง คำว่า จักขุ ยังจำแนกเป็น ๒ ประการคือ ปัญญาจักขุ และ มังสจักขุ

       ปัญญาจักขุ เป็นการรู้ด้วยปัญญา เป็นการรู้ทางใจ ไม่ใช่เห็นด้วยนัยน์ตา มีอยู่ ๕ ชนิด คือ

       (๑) พุทฺธจกฺขุ เป็นจักขุญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้แก่

       ญาณที่รู้ในอัชฌาสัยของสัตว์โลก เรียกว่า อาสยานุสยญาณ

       ญาณที่สามารถรู้อินทรียของสัตว์ทั้งหลายว่ายิ่ง หรือหย่อนเพียงใด เรียกว่า อินทริยปโรปริยัตติญาณ ญาณดังกล่าวแล้วองค์ธรรมได้แก่ มหากิริยาญาณสัมปยุตต จิต ๔

       (๒) สมนฺตจกฺขุ เป็นจักขุญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ  สัพพัญญุตญาณ ญาณที่สามารถรอบรู้สิ้นปวงสังขตธรรมและอสังขตธรรม องค์ ธรรมได้แก่  มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิตดวงที่ ๑

       (๓) ญาณจักขุ คือ อรหัตตมัคคญาณ ญาณของพระอรหันต์ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในอรหัตตมัคคจิต

       (๔) ธมฺมจกฺขุ คือ ญาณของพระอริยทั้ง ๓ มีพระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในมัคคจิตเบื้องต่ำ ๓

       (๕) ทิพฺพจกฺขุ คือ ญาณที่รู้ด้วยตาทิพย์ คือ อภิญญา องค์ธรรมได้แก่     อภิญญาจิต ๒

       (๖) ส่วน มังสจักขุ นั้นคือ การเห็นด้วยนัยน์ตาเนื้อ ไม่ใช่รู้ด้วยปัญญา ได้แก่ จักขุของมนุษย์ และสัตว์ทั้งหลาย องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาท

       ปัญญาจักขุ ๕ มังสจักขุ ๑ รวมเป็น ๖ จึงเรียกกันสั้น ๆ ว่า จักขุ ๖ เมื่อเอ่ยว่า จักขุ ๖ ก็หมายถึง ปัญญาจักขุ ๕ มังสจักขุ ๑ นี่แหละ

?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...