ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

๒. อาโป

       คำว่า อาโปธาตุ หรืออาโปรูป เป็นรูปปรมัตถที่รู้ได้ด้วยใจ ซึ่งมีลักษณะไหล หรือ เกาะกุม ซึ่งมีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

              ปคฺฆรณ ลกฺขณา          มีการไหล เป็นลักษณะ

              พฺยูหน รสา               ทำให้รูปที่เกิดร่วมด้วยมีความเจริญ เป็นกิจ

              สงฺคห ปจฺจุปฏฺฐานา   มีความเกาะกุมรูปที่เกิดร่วมกัน เป็นผล                                                 ปรากฏ

              อวเสสธาตุตฺตย ปทฏฺฐานา      มีธาตุทั้ง ๓ ที่เหลือ เป็นเหตุใกล้

       ธรรมชาติที่ทรงภาวะการเกาะกุมก็ดี การไหลก็ดี ที่มีอยู่ในร่างกายนั้น เรียก ว่า อาโปธาตุ

       อาโปธาตุนี้ มีจำนวนพอประมาณในวัตถุใด ก็ทำหน้าที่เกาะกุมอย่างเหนียว แน่น วัตถุนั้นจึงแข็ง ถ้าวัตถุใดมีอาโปธาตุมากก็เกาะกุมไม่เหนียวแน่น จึงทำให้ วัตถุนั้นอ่อนลงและเหลวมากขึ้น หากว่าในวัตถุใดมีอาโปธาตุเป็นจำนวนมากแล้ว การเกาะกุมก็น้อยลง ทำให้วัตถุนั้นเหลวมากจนถึงกับไหลไปได้

       เมื่ออาโปธาตุถูกความร้อน ปัคฆรณลักษณะ หรือทรวภาวะ ปรากฏ คือ ทำให้ไหล แต่ถ้าอาโปธาตุถูกความเย็น อาพันธนลักษณะ ปรากฏ คือทำให้เกาะกุม เช่น เหล็กหรือขี้ผึ้งถูกความร้อนก็เหลวจนไหลได้ เมื่อเย็นแล้วกลับแข็งตัวตามเดิม หรือน้ำแข็ง ถ้าถูกความร้อนก็ละลายและไหล เมื่อให้ถูกเย็นจัด ก็จะจับกันเป็นก้อน น้ำแข็งอีก

       อาโปธาตุ ธาตุน้ำ แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ

       ก. ลกฺขณอาโป หรือ ปรมตฺถอาโป ได้แก่ ลักษณะไหลและเกาะกุม อันมี อยู่ทั้งในสิ่งที่มีวิญญาณและในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ ซึ่งมี ๒ ลักษณะ คือ

       (๑) ปคฺฆรณ ลกฺขณ หรือ ทรวภาว มีลักษณะ หรือสภาพที่ไหล

       (๒) อาพนฺธน ลกฺขณ มีลักษณะเกาะกุม

       ปรมัตถอาโป เป็นอาโปธาตุชนิดหนึ่ง เรียกว่า ธาตุน้ำ และธาตุน้ำในที่นี้  หมายถึงธาตุน้ำที่เป็นปรมัตถ ซึ่งมีลักษณะไหล หรือเกาะกุม ไม่ใช่น้ำที่มองเห็นหรือ ใช้ดื่มกันอยู่นี้ น้ำที่ใช้ดื่มใช้สอยกันอยู่นี้ เป็นน้ำโดยสมมติ เป็นสสัมภารอาโป หรือสมมติอาโป น้ำโดยปรมัตถที่เรียกว่าธาตุน้ำนั้น จะต้องหมายถึงลักษณะที่ ปรากฏรู้ได้ด้วยใจเท่านั้น ไม่สามารถรู้ได้ด้วยตา หรือสัมผัสได้ด้วยกายปสาท เพียงรู้ ได้ด้วยใจเท่านั้น

       ธรรมชาติที่รักษาสหชาติรูปได้อย่างมั่นคง ไม่ให้กระจัดกระจายไป ธรรมชาติ นั้นชื่อว่า อาโป หรืออีกนัยหนึ่งกล่าวว่า

       ธรรมชาติที่แผ่ซึมซาบทั่วไปในรูปที่เกิดร่วมกับตน แล้วตั้งอยู่กับรูปเหล่านั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อาโป

       อาโปธาตุนี้ มองเห็นไม่ได้ สัมผัสด้วยกายไม่ได้ ส่วนน้ำที่เรามองเห็นกัน ใช้กันอยู่นี้ เป็นการเห็นธาตุต่าง ๆ รวมกันอยู่ในลักษณะอ่อนหรือเหลว เพราะมี ปฐวีธาตุน้อย มีอาโปธาตุมาก ไม่ได้เห็นอาโปธาตุโดยส่วนเดียว ความปรากฏเป็น ลักษณะอ่อนเหลวของน้ำที่เราใช้ดื่มกันอยู่นี้ เนื่องด้วยอาโปธาตุนั้น

            มีปฐวีธาตุ เป็นที่ตั้ง

            มีเตโชธาตุ ตามรักษา

            มีวาโยธาตุ กระพือพัด

       เมื่อใดที่อาโปธาตุมาก มีปฐวีธาตุน้อย ปรมาณูต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่นี้จะไหล ไปได้ ที่เราพูดกันว่าน้ำไหล ๆ นั้น แท้จริงเป็นการไหลของปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และ วาโยธาตุ ส่วนอาโปธาตุนั้นทำหน้าที่เกาะกุมธาตุทั้ง ๓ เพราะปฐวีธาตุปรากฏน้อย จึงปรากฏอ่อนเหลว และไหลไปได้ ธรรมชาติที่เกาะกุมธาตุทั้ง ๓ แล้วไหลไปได้ นั่นเอง ที่เป็นอาโปธาตุ

       อาโปธาตุนั้นมีอยู่ทั่วไปในวัตถุต่าง ๆ ที่แข็งและเหลวทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต

       ข. สสมฺภารอาโป ได้แก่ สสัมภาระธาตุต่าง ๆ ที่ประชุมรวมกันอยู่สมมติ เรียกว่า “น้ำ” หรือธาตุน้ำ ตามนัยแห่งพระสูตร แบ่งออกเป็น ๒ อย่างดังนี้

       (๑) อชฺฌตฺติกอาโป ธาตุน้ำภายใน ได้แก่ ธาตุน้ำที่เป็นส่วนประกอบภายใน ร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย โดยยกเอาอาการ ๓๒ ที่มีลักษณะเหลว สงเคราะห์เป็น ธาตุน้ำ มี ๑๒ คือ

              ปิตฺตํ - น้ำดี          เสมฺหํ - น้ำเสมหะ

              ปุพฺโพ - น้ำหนอง            โลหิตํ - น้ำเลือด

              เสโท - น้ำเหงื่อ             เมโท - น้ำมันข้น

              อสฺสุ - น้ำตา         วสา - น้ำมันเหลว

              เขโฬ - น้ำลาย               สิงฺฆาณิกา - น้ำมูก

              ลสิกา - ไขข้อ               มุตฺตํ - น้ำมูตร

       (๒) พาหิรอาโป ธาตุน้ำภายนอก หมายถึง ธาตุน้ำอันเป็นส่วนประกอบที่มี อยู่ในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ เช่นน้ำจากผลไม้ น้ำจากเปลือกไม้ น้ำจากลำต้นไม้ น้ำจาก ดอกไม้ เป็นต้น

       ค. กสิณอาโป หรือ อารมฺมณอาโป ได้แก่น้ำที่นำมาใช้เป็นอารมณ์ในการ เพ่งกสิณ

       ง. ปกติอาโป หรือ สมฺมติอาโป ได้แก่ น้ำที่สมมติเรียกกันว่า “น้ำ” ได้แก่ น้ำที่ใช้ดื่ม ใช้อาบ น้ำในคลอง น้ำในแม่น้ำ เป็นต้น

       ทั้งหมดนี้รวมเรียกว่า สสัมภารอาโป สำหรับปรมัตถอาโปธาตุนั้นเป็นรูปธาตุ ทำหน้าที่สมาน เกาะกุมรูปทั้งหลายอันเกิดร่วมกับตน ทำให้รูปต่าง ๆ รวมกันอยู่ได้ ไม่ให้กระจัดกระจายไป


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...