ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม
๘.
ชิวหาปสาทรูป
ชิวหาปสาทรูป
หมายถึง ประสาทลิ้น
ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางลิ้นอันมีสัณฐาน
เหมือนปลายกลีบดอกบัว
เรียงรายซ้อนกันเป็นชั้น ๆ
เป็นรูปธรรมที่มีความสามารถ
ในการรับรสารมณ์
เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งชิวหาวิญญาณ
และเป็นทวารอันเป็น
ทางให้เกิดชิวหาทวารวิถีจิต
ชิวหาปสาท
คือ ประสาทลิ้นของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย แบ่งออกเป็น ๒
ส่วน คือ
๑. สสมฺภารชิวหา
ได้แก่ ลิ้น ซึ่งประกอบด้วยสสัมภารธาตุต่าง
ๆ อัน เป็นที่เกิดของชิวหาปสาท
คือ
ลิ้นทั้งหมดที่เราเห็นนั่นเอง
๒. ปสาทชิวหา
ได้แก่ ชิวหาปสาท
ซึ่งมีสัณฐานคล้ายกลีบดอกบัว
ตั้งอยู่ โดยรอบบริเวณปลายลิ้น
สำหรับชิวหาปสาทในที่นี้
มุ่งหมายเอาชิวหาปสาทที่เป็นสภาพของรูปปรมัตถ
ที่เรียกว่าชิวหาปสาท ก็คือ
ธรรมชาติที่เป็นรูปชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากกรรม
มีความใส บริสุทธิ์
เป็นเครื่องรับรสต่าง ๆ
ตั้งอยู่โดยรอบบริเวณลิ้น
มีสัณฐานคล้ายกลีบบัว
มีหน้าที่ให้สำเร็จกิจ ๒ อย่าง
คือ
ก.
เป็นที่อาศัยเกิดของชิวหาวิญญาณจิต
ข.
เป็นทวาร
คือทางแห่งการรับรู้อารมณ์ของชิวหาทวารจิตในปัญจทวารวิถี
ชิวหาปสาทรูป
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
รสาภิฆาตารหภูตปฺปสาท
ลกฺขณํ มีความใสของมหาภูตรูปที่กระทบ
รสารมณ์
เป็นลักษณะ
รเสสุ
อาวิญฺฉน รสํ
มีการแสวงหารสารมณ์
เป็นกิจ
ชิวหาวิญฺญาณสฺส
อาธารภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการทรงอยู่ของชิวหาวิญญาณ
เป็นผล
สายิตุกามตานิทานกมฺมชภูต
ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปอันเกิดจากกรรม
(รสตัณหา)
เป็นเหตุใกล้
ชิวหาเป็นรูปที่มีสภาพคล้ายกับเรียกรส
ซึ่งเป็นเหตุให้อายุยืน
รูปนั้นชื่อว่า ชิวหา
ทั้งนี้เพราะธรรมชาติของชิวหาปสาทนี้
ย่อมน้อมอยู่ในรสต่าง ๆ
ซึ่งเป็นที่
พอใจของชิวหาวิญญาณให้มาสู่ตน
รวมความแล้วก็คือ
ชิวหาปสาทเป็นรูปที่เกิด
จากกรรม
มีความใสบริสุทธิ์เป็นเครื่องรับรสต่าง
ๆ นั่นเอง
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ