ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม
๑๙.
ปริจเฉทรูป
ปริจเฉทรูป
เป็นช่องว่างระหว่างรูปต่อรูป
ระหว่างกลาปกับกลาป มีได้ทั้งใน
สิ่งที่มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณ
ถ้าไม่มีปริจเฉทรูปแล้ว
จำนวนรูปกลาปก็มีไม่ได้
ที่สุดของรูปก็มีไม่ได้ เขต
แดนของรูปก็มีไม่ได้
เพราะรูปเหล่านั้นจะติดกันเป็นพืดไปหมด
ไม่มีรูปร่างสัณฐาน
และก็นับจำนวนไม่ได้ด้วย
ปริจเฉทรูป
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
รูปปริจฺเฉท
ลกฺขณํ
มีการคั่นไว้ซึ่งรูปกลาป
เป็นลักษณะ
รูปปริยนฺตปฺปกาสน
รสํ มีการแสดงส่วนของรูป
เป็นกิจ
รูปมาริยาท
ปจฺจุปฏฺฐานํ
มีการจำแนกซึ่งรูป
เป็นผล
ปริจฺฉินฺนรูป
ปทฏฺฐานํ
มีรูปที่คั่นไว้
เป็นเหตุใกล้
ปริจเฉทรูปนี้
มีอีกชื่อหนึ่งว่า อากาสรูป
อากาสนี้ยังจำแนกได้เป็น
๕ คือ
(๑) อชฺฏากาส
ได้แก่ ที่ว่างในท้องฟ้าทั่วไป
(๒) กสิณุคฺฆาฏิมากาส
ได้แก่ อากาศที่เพิกแล้วจากกสิณ
อากาศที่เนื่องมา จากกสิณ
(๓) วิวรากาส
อากาศในช่องโปร่ง เช่น ช่องหู
ช่องจมูก ขวด โอ่ง ไห
(๔) สุสิรากาส
อากาศในโพรงทึบ เช่น
ในปล้องไม้ไผ่ ในเห็ดเผาะ
(๕) ปริจฺเฉทากาส
อากาศที่คั่นระหว่างรูปกลาปต่อรูปกลาป
คือ ปริจเฉท รูป
หรืออากาศรูปนี่แหละ
อีกนัยหนึ่งแสดงว่าอากาศมีเพียง
๔ เท่านั้น คือ
รวมวิวรากาสกับสุสิรากาส
เข้าเป็นหนึ่ง เรียกว่า ปริจฺฉินฺนากาส
คือ อากาศในช่องว่าง
ไม่แยกเป็นทึบ หรือไม่ทึบ
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ