ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม
ลักขณาทิจตุกะของรูปแต่ละรูป
รูปธรรม
๑๑ ประเภทเล็ก
รวมจำนวนรูปทั้งหมด ๒๘ รูปนั้น
แต่ละรูปมี วิเสสลักษณะ
คือ ลักขณาทิจตุกะ ดังต่อไปนี้
ประเภทที่
๑ มหาภูตรูป
มหาภูตรูปมี
๔ ได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช วาโย
เฉพาะมหาภูตรูป ๔ นี้ นิยม
เรียกกันว่า ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ
เตโชธาตุ วาโยธาตุ
๑. ปฐวี
คำว่า
ปฐวีธาตุ หรือ
ปถวีรูป เป็นรูปปรมัตถที่มีลักษณะแข็งหรืออ่อน
ซึ่งมีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
กกฺขฬ
ลกฺขณา
มีความแข็ง
เป็นลักษณะ
ปติฏฺฐาน
รสา
มีการทรงอยู่
เป็นกิจ
สมฺปฏิจฺฉน
ปจฺจุปฏฺฐานา มีการรับไว้
เป็นผล
อวเสสธาตุตฺตย
ปทฏฺฐานา มีธาตุทั้ง
๓ ที่เหลือ เป็นเหตุใกล้
ที่ว่า
ปฐวีธาตุ
มีความแข็งเป็นลักษณะนั้น
เพราะว่าถ้านำไปเปรียบกับธาตุ
อื่นแล้ว
ธาตุดินนี้มีสภาพแข็งกว่าธาตุอื่น
ในลักขณาทิจตุกะ จึงแสดงว่า
ปฐวีมี
ความแข็งเป็นลักษณะเท่านั้น
ไม่ได้กล่าวถึงความอ่อนด้วย
แท้จริงความอ่อนก็คือ
ความแข็งมีน้อยนั่นเอง
นอกจากปฐวีธาตุแล้วรูปอื่น ๆ
ไม่สามารถทำให้ความแข็ง
หรือความอ่อนปรากฏขึ้นแก่การสัมผัสถูกต้องได้
วัตถุใดมีปฐวีมากก็แข็งมาก
วัตถุ
ใดมีปฐวีธาตุน้อยก็แข็งน้อย
จึงรู้สึกว่าอ่อน
ปฐวีธาตุ
ธาตุดิน แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
ก. ลกฺขณปฐวี
หรือ ปรมตฺถปฐวี
คือ ปฐวีธาตุที่เป็นปรมัตถ
มีคำอธิบายว่า
ปฐวีธาตุเป็นธาตุปรมัตถชนิดหนึ่ง
ซึ่งมีลักษณะแข็งหรืออ่อน
เรียกว่าธาตุดิน และ
ธาตุดินในที่นี้หมายถึง
ธาตุดินที่เป็นปรมัตถ คือ
มีลักษณะแข็งหรืออ่อน ไม่ใช่ดิน
ที่เรามองเห็นอยู่นี้
ดินที่เรามองเห็นกันอยู่นี้เป็นดินโดยสมมติไม่ใช่ดินโดยปรมัตถ
ดินโดยปรมัตถที่เรียกกันว่าปฐวีธาตุนั้น
จะต้องหมายถึงลักษณะที่ปรากฏทางกาย
ปสาท เมื่อมีการกระทบเกิดขึ้น
ความแข็งหรืออ่อนนั่นแหละ
เรียกว่า ปฐวีธาตุ
เราได้กระทบกับปฐวีธาตุ
ปฐวีธาตุ
นี้มองเห็นไม่ได้แต่กระทบได้
การที่เรามองเห็นนั้นเป็นการเห็นธาตุ
ต่าง ๆ รวมกันเป็นปรมาณู และหลาย
ๆ
ปรมาณูรวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน
เป็นแท่ง เป็นชิ้น
และปรมาณูที่รวมกันนั้น ๆ
ก็ทึบแสง คือ แสงผ่านทะลุไป
ไม่ได้จึงปรากฏเห็นเป็นสีต่าง ๆ
เรียกสีต่าง ๆ ที่เห็นนั้นว่า รูปารมณ์ ถ้าปรมาณู
ที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มนั้น ๆ
แสงผ่านทะลุได้
ก็จะไม่ปรากฏเห็นเป็นสีต่าง ๆ
เราก็จะ ไม่สามารถมองเห็นได้
เพราะฉะนั้นปฐวีธาตุหรือปฐวีรูป
จึงมองไม่เห็นแต่กระทบได้
และปฐวีธาตุ หรือปฐวีรูปนี้
รู้ได้ด้วยกายปสาทเท่านั้น
รู้ด้วยปสาทอื่น ๆ ไม่ได้
การที่เรามองเห็น สิ่งต่าง ๆ
แล้วรู้ว่า สิ่งนั้นอ่อน
สิ่งนั้นแข็ง
เป็นการรู้โดยการคิดนึก
ไม่ใช่โดยความ รู้สึก
การรู้โดยการคิดนึกนั้น
เป็นการรู้โดยอาศัยอดีตเคยกระทำมาแล้ว เคยรู้มา
แล้วว่าแข็งหรืออ่อน
เท่ากับเอาความจำในอดีตมาตัดสินการเห็นในปัจจุบัน
ที่จริง แล้วความแข็ง
หรืออ่อนรู้ไม่ได้ด้วยการดู
แต่รู้ได้ด้วยการสัมผัสทางกาย
เรียกว่า โผฏฐัพพารมณ์
ดังนั้น
ปฐวีธาตุนี้จึงมีลักษณะแข็ง
ถ้าวัตถุสิ่งใดมีปฐวีธาตุมากเป็นประธาน
แล้ว
ก็จะปรากฏเป็นแข็งมาก เช่น เหล็ก
หิน ไม้ ตะกั่ว ทอง เป็นต้น
และถ้าวัตถุ
สิ่งหนึ่งสิ่งใดมีปฐวีธาตุเป็นส่วนน้อย
ความแข็งก็จะปรากฏน้อย
เมื่อสัมผัสก็จะรู้สึก ว่าอ่อน
เพราะความแข็งปรากฏน้อยจึงรู้สึกว่าอ่อน
ฉะนั้นธรรมชาติที่กระทบด้วยกายปสาทแล้ว
มีความรู้สึกว่า แข็งหรืออ่อน จัดเป็นปฐวีธาตุทั้งสิ้น
เพราะนอกจากปฐวีธาตุแล้ว
รูปอื่น ๆ ก็ไม่สามารถทำให้เกิด
ความรู้สึกแข็งหรืออ่อนได้
อนึ่งปฐวีธาตุนี้
เป็นที่ตั้งเป็นที่อาศัยของรูปอื่น
ๆ เหมือนแผ่นดินกับสิ่งอื่น ๆ
ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
ถ้าไม่มีแผ่นดินเสียแล้ว
สิ่งต่าง ๆ
ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
ก็ดำรงอยู่ไม่ได้
ปฐวีธาตุก็เช่นเดียวกัน
ถ้าไม่มีปฐวีธาตุเสียแล้ว
รูปร่างสัณฐาน สีสรรวรรณะ
เสียง กลิ่น รส สัมผัส
ก็ปรากฏขึ้นไม่ได้
ปฐวีธาตุ
อาศัยธาตุที่เหลืออีก ๓
เป็นปัจจัย คือ
๑.
มีอาโปธาตุเกาะกุม
๒.
มีเตโชธาตุตามรักษา
๓.
มีวาโยธาตุกระพือพัด
ข. สสฺมภารปฐวี
คือ สัมภาระของดิน
หรือสุตฺตันตปฐวี
หรือสัมภาระต่าง ๆ
ที่ประชุมกันอยู่รวมเรียกว่าดิน
กล่าวตามนัยแห่งพระสูตรแบ่งออกเป็น
๒ อย่าง คือ
(๑) อชฺฌตฺติกปฐวี
ธาตุดินภายใน
หมายถึงธาตุดินอันเป็นส่วนประกอบ
ของร่างกายของเราและสัตว์ทั้งหลาย
โดยเอาอาการ ๓๒
มาสงเคราะห์เป็นธาตุดิน ๒๐
ได้แก่
เกสา
- ผม
มํสํ
- เนื้อ
หทยํ -
หัวใจ อนฺตํ -
ไส้ใหญ่
โลมา
- ขน
นหารู
- เอ็น ยกนํ
- ตับ
อนฺตคุณํ
- ไส้น้อย
นขา
- เล็บ
อฏฺฐิ
- กระดูก กิโลมกํ
-พังผืด อุทฺริยํ-อาหารใหม่
ทนฺตา
- ฟัน อฏฺฐิมิญฺชํ
- เยื่อในกระดูก ปิหกํ-
ไต กรีสํ
- อาหารเก่า
ตโจ
- หนัง วกฺกํ
- ม้าม ปปฺผาสํ
- ปอด มตฺถลุงคํ-มันสมอง
(๒) พาหิรปฐวี
ธาตุดินภายนอก หมายถึง
ธาตุดินอันเป็นส่วนประกอบที่มี
อยู่ในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ
มีอยู่มากมายเหลือที่จะคณานับได้
ยกตัวอย่าง เช่น ก้อนดิน พื้นดิน
แผ่นดิน ก้อนหิน กรวด ทราย
โลหะต่าง ๆ แก้วแหวน เงินทอง
ตะกั่ว เป็นต้น
รวมไปถึงดินที่เป็นอารมณ์ของกสิณ
ก็เรียกว่า ปฐวีกสิณ
หรืออารมณปฐวี
ค. กสิณปฐวี
หรือ อารมฺมณปฐวี
คือ ดินที่เป็นนิมิตทั้งปวง
ได้แก่ ดินของ บริกรรมนิมิต
ดินของอุคคหนิมิต
ดินของปฏิภาคนิมิต
ง. ปกติปฐวี
หรือ สมฺมติปฐวี
คือ
ดินตามปกติที่สมมติเรียกกันว่าดิน ได้แก่
พื้นแผ่นดินตามธรรมดา
ที่ทำเรือกสวนไร่นา เป็นต้น
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ