ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

๙. กายปสาทรูป

       กายปสาทรูป หมายถึง ประสาทกาย มีสัณฐานคล้ายสำลีแผ่นบาง ๆ ชุบ น้ำมันจนชุ่ม ซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น ตั้งอยู่ทั่วไปในสรรพางค์กาย เว้นที่ปลายผม ปลายขน ที่เล็บ ที่ฟัน ที่กระดูก ที่หนังหนาด้าน ซึ่งประสาทตั้งอยู่ไม่ได้

       กายปสาทรูป เป็นรูปธรรมที่มีความสามารถในการรับโผฏฐัพพารมณ์ คือ  เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งกายวิญญาณ และเป็นทวาร อันเป็นทางให้เกิดกายทวารวิถีจิต

       กายปสาทรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

       โผฏฺฐพฺพาภิฆาตารหภูตปฺปสาท ลกฺขณํ    มีความใสของมหาภูตรูปที่                                                    กระทบโผฏฐัพพารมณ์ เป็นลักษณะ

       โผฏฺฐพฺเพสุ อาวิญฺฉน รสํ          มีการแสวงหาโผฏฐัพพารมณ์ เป็นกิจ

       กายวิญฺญาณสฺส อาธารภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการทรงอยู่ของกายวิญญาณ                                                             เป็นผล

       ผุสิตกามตานิทานกมฺมชภูต ปทฏฺฐานํ    มีมหาภูตรูปอันเกิดจากกรรม                                                       (โผฏฐัพพตัณหา) เป็นเหตุใกล้

กายปสาท คือประสาทกายของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือ

       ๑. สสมฺภารกาย ได้แก่ กายที่ประกอบด้วยสสัมภารธาตุต่าง ๆ อันเป็นที่เกิด ของกายปสาท หรือ เรียกว่ากายทั้งหมดที่เราเห็นนั่นเอง รูปที่ประชุมรวมส่วน    ต่าง ๆ มี ผม ขน เล็บ ฟัน เป็นต้น ที่น่าเกลียด และเป็นที่ประชุมแห่งอกุสลธรรม รูปนั้นชื่อว่า “กาย” ได้แก่ ร่างกายทั้งหมด

       ๒. ปสาทกาย ได้แก่ กายปสาทอันตั้งอยู่ทั่วสรรพางค์กาย ยกเว้นปลายผม ปลายขน ปลายเล็บ ปลายฟัน และหนังที่หนา ๆ

       สำหรับกายในที่นี้ หมายถึง ปสาทกายอย่างเดียว เพราะเป็นสภาพของ รูปปรมัตถ ที่เรียกว่ากายปสาทนั้นคือ ธรรมชาติที่เป็นรูปชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากกรรม มีความใสบริสุทธิ์เป็นเครื่องรับกระทบความเย็น ความร้อน ความอ่อน ความแข็ง และ ความเคร่งตึง ตั้งอยู่ทั่วสรรพางค์กาย มีหน้าที่ให้สำเร็จกิจ ๒ อย่าง คือ

       ก. เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณจิต

       ข. เป็นทวาร คือ ทางแห่งการรับรู้อารมณ์ของกายทวาร ในปัญจทวารวิถี

       อนึ่ง คำว่า กาย นี้ยังจำแนกเป็น ๔ ประการ เรียกกันสั้น ๆ ว่า กาย ๔ คือ

(๑)  ปสาทกาย ได้แก่ กายปสาทรูป

(๒)  รูปกาย ได้แก่ รูป ๒๗ (เว้นกายปสาทรูป)

(๓)  นามกาย ได้แก่ จิต เจตสิก

(๔)  บัญญัตติกาย ได้แก่ สมูหบัญญัติ มี หัตถิกาย (กองช้าง) อัสสกาย          (กองม้า) เป็นต้น

?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...