ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม
๑๒.
คันธารมณ์
คันธารมณ์ หมายถึง
รูปที่กำลังเป็นอารมณ์ของ ฆานวิญญาณ ได้แก่ คันธรูปที่ปรากฏให้รู้ได้ว่าเป็นกลิ่น
คันธรูปจึงหมายถึงกลิ่นที่มีอยู่ทั่วไป
ส่วนคันธา รมณ์จึงหมายถึง
กลิ่นที่กำลังเป็นอารมณ์ของจิตที่ชื่อว่า ฆานวิญญาณ
คันธรูป
เป็นรูปที่ปรากฏเป็นกลิ่น
และกลิ่นนั้นยังไม่ได้เป็นอารมณ์ของจิตที่
ชื่อว่า ฆานวิญญาณ
จึงเรียกว่าคันธรูป
และการที่รู้ว่าเป็นกลิ่นอะไร
กลิ่นหอมหรือ เหม็นนั้น
ไม่ใช่รู้ทางฆานทวาร
และไม่ใช่รู้โดยฆานวิญญาณ
แต่เป็นการรู้โดยทาง มโนทวาร
และรู้ด้วยมโนวิญญาณ
เรียกว่าธัมมารมณ์
คืออารมณ์ที่รู้ได้ด้วยใจ
การรู้ ด้วยใจนี้
อาศัยบัญญัติอารมณ์ที่เคยสั่งสมมาในอดีตมาตัดสินอีกทีหนึ่ง
จึงรู้เป็นกลิ่น อะไร
กลิ่นเหม็นหรือหอม เป็นต้น
รูปใดแสดงที่อาศัยของตนให้ปรากฏ
รูปนั้นชื่อว่า คันธะ
คันธรูปนี้เป็นรูป
ที่แสดงถึงวัตถุสิ่งของที่คันธรูปอาศัยอยู่นั้นให้ปรากฏรู้ได้
ไม่ว่ารูปนั้นจะเป็นอะไร
จะมีกลิ่น
คือคันธรูปอยู่ด้วยเสมอไป คล้าย
ๆ กับว่า
คันธรูปนี้เป็นตัวแสดงให้รู้ว่า
กลิ่นนี้เป็นกลิ่นอะไร
ลอยมาจากที่ไหน
คันธารมณ์
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
ฆานปฏิหนน
ลกฺขณํ
มีการกระทบกับฆานปสาท
เป็นลักษณะ
ฆานวิญฺญาณสฺส
วิสยภาว รสํ มีการทำอารมณ์ให้ฆานวิญญาณ
เป็นกิจ
ตสฺเสว
โคจร ปจฺจุปฏฺฐานํ เป็นที่โคจรของฆานวิญญาณ
เป็นผล
จตุมหาภูต
ปทฏฺฐานํ
มีมหาภูตรูปทั้ง
๔ เป็นเหตุใกล้
คันธ
คือ กลิ่น หมายถึง น้ำมันระเหย
ที่กระทบกับฆานปสาทรูป และทำให้
เกิดฆานวิญญาณขึ้น
คันธะที่มาเป็นอารมณ์ให้แก่
ฆานวิญญาณจิตนี่แหละ ได้ชื่อว่า
คันธารมณ์
อนึ่งคำว่า
คันธะ นี้ยังจำแนกได้เป็น ๔
ประการเรียกสั้น ๆ ว่า คันธะ ๔ คือ
(๑) สีลคนฺธ ได้แก่
กลิ่นแห่งศีล
องค์ธรรมได้แก่
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
และสัมมาอาชีวะ
(๒) สมาธิคนฺธ
ได้แก่ กลิ่นแห่งสมาธิ
องค์ธรรมได้แก่ สัมมาวายามะ
สัมมา สติ
และสัมมาสมาธิ
(๓) ปญฺญาคนฺธ
ได้แก่ กลิ่นแห่งปัญญา
องค์ธรรมได้แก่ สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ
คันธะในที่นี้
ไม่ได้หมายถึงตัวกลิ่นที่หอมหรือเหม็นนั้น
แต่หมายถึงว่า เป็น
การฟุ้งไปทั่ว
กระจายไปทั่ว แผ่ทั่วไป
กลิ่นหอมหรือเหม็นนั้น
ตามปกติย่อมกระจายไปตามลม
และไปได้ในบริเวณ
แคบไม่กว้างไม่ไกลนัก
แต่การกระจาย การแผ่ไปของ สีล
สมาธิ ปัญญา
นั้นไปได้ทั้งตามลมและทวนลม
ทั้งแผ่ไปได้ทั่วไม่มีขอบเขตอันจำกัดเลย
(๔) อายตนคนฺธ
ได้แก่ กลิ่นแห่งอายตนะ คือ
การกระทบกันระหว่างกลิ่น
กับฆานปสาทและฆานวิญญาณ องค์ธรรมได้แก่ คันธารมณ์ คือ
สุคนฺธกลิ่น
= กลิ่นที่ดี
ทุคนฺธกลิ่น
= กลิ่นที่ไม่ดี
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ